ชวนคิดก่อนคลิก! ทรู ไขคำตอบ 5 ข้อสงสัยบนโลกโซเชียล
หมวดหมู่ : ไลฟ์สไตล์-บันเทิง, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 26 ธ.ค. 2567, 18:46 น. อ่าน : 128True CyberSafe คืออะไร ป้องกันอย่างไร ดีแค่ไหน ปกป้องใคร ทำเพื่ออะไร
กรุงเทพฯ - ภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้กลายเป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน ตัวเลขความเสียหายที่สะสม 4 เดือนที่ผ่านมา (ก.ค-ต.ค.2567) มีมูลค่ามากกว่า 65,715 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละกว่า 80 ล้านบาท เป็นสัญญาณเตือนที่ไม่อาจมองข้าม
ทรู ย้ำบทบาทผู้นำด้านดิจิทัล ร่วมรับผิดชอบสังคมในยุคดิจิทัล ลงทุนพัฒนา True CyberSafe ระบบที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องลูกค้าทรูทุกคน ให้บริการทันทีไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ไม่ต้องสมัคร ลูกค้ามือถือทรู ดีแทค และทรูออนไลน์ จะรู้สึกดี และมั่นใจยิ่งขึ้นไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มากับลิงก์แปลกปลอม
พร้อมไขทุกข้อสงสัยกับ 5 คำถามยอดนิยมบนโซเชียลเกี่ยวกับ True CyberSafe
คำถาม 1 : ใครบ้างมีสิทธิ์ใช้งานTrue CyberSafe?
คำตอบ 1 : ขอแค่ใช้เครือข่ายทรูหรือดีแทคหรือต่อ WiFi ทรูออนไลน์ก็ใช้ได้เลยทันที ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องลงทะเบียน ไม่ต้องโหลดแอป
คำถาม 2 : บริการนี้ สามารถปกป้อง ไวรัส หรือมัลแวร์ เมื่อใช้งานผ่านแอปพลิเคชันได้หรือไม่
คำตอบ 2 : บริการ True CyberSafe ปกป้องภัย ไซเบอร์จากมิจฉาชีพออนไลน์ ยังไม่สามารถป้องกันภัย ไซเบอร์จากไวรัส มัลแวร์ หรือภัย คุกคามอื่นๆ เมื่อใช้งาน ผ่านแอปพลิเคชันได้โดยตรง หากแอปนั้น นำผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์ บริการ True CyberSafe จะสามารถป้องกันภัยคุกคามที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ได้
คำถาม 3 : รูปแบบการป้องกันของ True CyberSafe เป็นอย่างไร?
คำตอบ 3 : รูปแบบการป้องกัน คือ ปกป้องการเข้าถึง ลิงก์/URL อันตราย จาก SMS หรือบราวเซอร์ ของลูกค้ามือถือทรู ดีแทค หรือเมื่อมีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตรายบนเว็บบราวเซอร์ของลูกค้าทรูออนไลน์
- หากเป็น ลิงก์แปลกปลอม ตามรายชื่อ Black list ที่ได้รับจากตำรวจและภาครัฐ จะบล็อกทันที
- และหากเป็น ลิงก์แปลกปลอม ที่คาดว่าสุ่มเสี่ยงเป็นมิจฉาชีพ ซึ่งเป็นลิงก์ที่ได้รับแจ้งเตือนจากลูกค้าและพันธมิตรในและต่างประเทศ (แต่ยังไม่มีการยืนยันเป็นหมายจากตำรวจ) ซึ่งล่าสุดรวบรวมไว้เบื้องต้น ประมาณ 120,000 ลิงก์ ระบบ AI จะตรวจสอบและแจ้งเตือนลูกค้า “โปรดระวัง อาจเป็นเว็บไซต์อันตราย” เพื่อช่วยปกป้องเตือนภัยลูกค้า ซึ่งหากลูกค้ายืนยันจะเข้าสู่เว็บไซต์ จะต้องคลิกยืนยัน และรอ 60 วินาที เพื่อคลิกยืนยันที่จะเข้าอีกครั้ง
คำถาม 4 : หากมีความจำเป็นต้องเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ถูก แจ้งเตือน ลูกค้าจะต้องทำอย่างไร
คำตอบ 4 : ลูกค้าสามารถ คลิกปุ่ม เพื่อเลือกเข้าใช้งานเว็บไซต์นั้นได้ โดยลูกค้าต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ลูกค้าควรหลีกเลี่ยง การเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ถูกแจ้งเตือนจะดีที่สุด
คำถาม 5 : ทําไมยังได้รับ SMS และทำไมยังได้รับสายจาก มิจฉาชีพอยู่?
คำตอบ 5 : True CyberSafe ในเฟสแรกนี้ จะเป็นการปกป้องลิงก์แปลกปลอม แต่ในอนาคตอันใกล้ จะมีบริการป้องกันเพิ่มเติมคือ
1. แจ้งเตือน SMS AI Filter ที่อาจเป็นมิจฉาชีพ โดยใช้ AI ในการประมวลพฤติกรรมของมิจฉาชีพ
2. แจ้งเตือนสายเรียกเข้า Call AI Filter ที่อาจเป็นมิจฉาชีพ โดยความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและพันธมิตรเอกชน คาดว่าจะเปิดให้บริการอย่างเต็มระบบทุกรูปแบบประมาณเดือนมีนาคม 2568
รายละเอียดเพิ่มเติม “True CyberSafe” ได้ https://www.true.th/services/true-cyber-safe