ดีเบทสวนยางยั่งยืน เสนอเงื่อนไขเข้าร่วมรัฐบาล

หมวดหมู่ : การเมือง,

อ่าน : 650
ดีเบทสวนยางยั่งยืน เสนอเงื่อนไขเข้าร่วมรัฐบาล

นครศรีธรรมราช-สมัชชาสวนยางยั่งยืนเสนอพรรคการเมือง นำนโยบายยางพารา มากำหนดเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขการร่วมรัฐบาล ในเวทีดีเบทที่อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช


นายบุญส่ง นับทอง ประธานกรรมการเครือข่ายภาคีสมัชชาสวนยางยั่งยืน กล่าวถึงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะด้านยุทธศาสตร์ยางพาราอย่างยั่งยืน  วันที่ 2 พฤษภาคม2566 พร้อมจัดเวทีดีเบมนฟโยบายยางพารา ตัวแทนผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคการเมืองต่าง ๆ  ที่ห้องประชุมศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืน อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางจากภาคเหนือ อีสานตะวันออก ตะวันตก และภาคใต้ พร้อมนักวิชาการ เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายองคกรพัฒนาเอกชน พร้อมกรรมการ รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)  และเจ้าหน้าที่ กยท. ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วม


ทั้งยังเปิดให้เครือข่ายทั่วประเทศ ร่วมประชุมผ่านระบบ zoom ตลอดจนการถ่ายทอดสดในช่องทางต่าง ๆ โดยเครือข่ายตัองการให้เกิดนโยบายการทำสวนยางอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับกฎหายของ EU หรือTrade War ที่จะมีผลบังคับใชในอีก 17-18 เดือน ข้างหน้า ซึ่งหลายฝ่ายได้รับทราบกันแล้ว และจะนำไปสู่การแก้ไข


นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว เรื่องสำคัญคือ การแก้ปัญหาราคายางพาราที่ยั่งยืน ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศ และการส่งเสริมสวนยางยั่งยืนที่ป็นรูปธรรม


“เราต้องการให้รัฐบาลต่อไปกำหนดนโยบายเร่งด่วนที่บรรจุในแผนระยะสั้น 3 เดือนในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยางพารา และวันนี้ได้ข้อให้ตัวแทนพรรคการเมืองที่มาร่วมดีเบทรับเป็นเงื่อนไขในการร่วมรัฐบาล รวมถึงมีข้อตกลงกับสมัชชาเครือข่ายที่มีตัวแทนจากพี่น้องทั่วประเทศ” นายบุญส่ง  กล่าว


ทั้งนี้ เวทีดีเบทครั้งนี้ มีตัวแทนจากพรรคไทยสมาร์ฟ, พลังประชารัฐ, ประชาธิปัตย์,ภูมิใจทย และก้าวไกล ตอบรับมาร่วม จากที่เครือข่ายฯ ติดต่อเชิญไป 12 พรรคการเมือง


ขณะเดียวกัน นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าฯ กยท. ซึ่งมาบรรยายและร่วมสัมมนาด้วย ได้เชิญชวนนายสินธพ อินทรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พร้อมเครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) ร่วมขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืนในพื้นที่ตำบลท่าข้าม ให้เป็นต้นแบบ ให้กับสวนยางพาราในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย โดยจะนัดพบปะพูดคุยกันถึงแนวทางการดำเนินการก่อนกลางเดือนพฤษภาคมนี้.