รองอธิบดีอัยการฯ ยกคดี”บาส” เตือนสติ -แนะวิธีแก้ปัญหา ป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องสะเทือนใจ
หมวดหมู่ : ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 16 ต.ค. 2564, 09:14 น. อ่าน : 839กรุงเทพฯ-รองอธิบดี สนง.อัยการคดีศาลแขวง ยกตัวอย่างคดี”บาส” เป็นเรื่องเตือนสติ และแนะนำแนวทางป้องกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมแนะวิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์เช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องสะเทือนใจและเสียอนาคต
นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีสำนักงานนอัยการคดีศาลแขวง ให้แง่คิดและคำแนะนำเกี่ยวกับคดีของ “บาส” ที่กำลังเป็นข่าวในขณะนี้ เพื่อเตือนสติทุกคน
”บาส…ทุกข์แสนสาหัสเพราะโดนคดี แนะวิธีที่บาส ไม่ต้องตกเป็นผู้ต้องหา? วิธีรอดจากเหตุการณ์เช่นนี้..! ถ้าย้อนเวลาไปได้
กรณี 6 วัยรุ่นเจ้าถิ่นยกพวกล้อมบ้านคู่กรณี ขว้างปาสิ่งของเข้าบ้านจนทำให้ นายณัฐวุฒิ พึ่งฤกษ์ดี หรือบาส อายุ 21 ปี ซึ่งอยู่กับแฟนสาวแค่สองคนทนไม่ไหว คว้ามีดสปาร์ตาและมีดปลายแหลมวิ่งออกไปไล่แทงกันจนมีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย เหตุเกิดเมื่อช่วงเย็นวันที่ 12 ต.ค.64 กระทั่งนายบาสเจอ 3 ข้อหาร้ายแรงคือ พยายามฆ่า ฆ่าคนตาย และพกพาอาวุธ เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวผู้ต้องหาไปยื่นฝากขังที่ศาลอาญาธนบุรี
ต่อนี้ไป บาส คงได้ต่อสู้คดีในศาลว่ากันด้วยข้อเท็จจริง อีกยาวนาน คงต้องนั่งทนทุกข์ไปอีกหลายปี ผลคดีจะเป็นอย่างไรว่ากันด้วยกระบวนการยุติธรรมต่อไป คล้ายคดีลุงวิศวะ
วิธียุติความรุนแรงกับ เหตุการณ์เช่นนี้ ฝากไว้ให้คิด ทำได้ไม่ยาก
1.มีสติ โทรแจ้งตำรวจ จะเป็นการแสดงเจตนาว่าไม่ต้องการมีเรื่อง ไม่ต้องการวิวาทด้วยกับคู่กรณี..โดยเฉพาะอยู่ในรั้วบ้าน คู่กรณีไม่สามารถเข้ามาทำร้ายได้ถ้าไม่ปีนรั้วบ้านข้ามรั้วเข้ามา เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกา ถ้าคนร้ายปีนรั้วเข้ามาทำร้าย ใช้สิทธิ์ป้องกันตนเองได้ การใช้อาวุธมีดวิ่งออกไปต่อสู้กับคนร้าย ก็ต้องไปต่อสู้ทางคดีว่าร่วมวิวาท หรือไม่ ? อันจะเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถอ้างได้ว่าป้องกันตน เพราะการป้องกันตนต้องทำเพื่อป้องกันภยันตราย ไม่ใช่การสมัครใจเข้าร่วมวิวาทแล้วอ้างป้องกันตน ไม่ได้
2.ยกโทรศัพท์มือถือขึ้นถ่าย วิดีโอไว้เป็นหลักฐาน ว่าถูกด่า ถูกขว้างปา กลุ่มคนที่มาหน้าบ้าน คุกคาม ข่มขู่ ทำอะไรอย่างไร เพื่อมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต่อไป
คดีบาส ที่กำลังจะเกิด คล้ายคดีลุงวิศวะ ที่ศาลตัดสินไปแล้ว กว่าจะจบสิ้น ทุกข์ใจ ทั้งเจ้าตัวและครอบครัว ต่อสู้คดีในศาลอีกยาวนาน ด้วยอารมณ์ชั่ววูปกัน จึงควรใช้สติ ขึ้นโรงพักขึ้นศาล เราควรจะเป็นผู้เสียหายไม่ใช่ผู้ต้องหา ความทุกข์ระยะยาวตกอยู่กับฝ่ายผู้ต้องหา ผู้เสียหายถึงทุกข์ก็แค่ระยะสั้น
ระงับเหตุร้ายด้วย สติ ยั้งคิด ยั้งทำ แจ้งตำรวจ ใช้กฎหมายแก้ปัญหา ไม่ใช้อารมณ์ เพื่อรอดเพื่อผ่านจากเหตุการณ์ร้าย และต้องทนทุกข์ ต่อสู้คดีหลายปี แพ้คดีอาจติดคุก
เรียนรู้จักข่าว เพื่อเป็นทักษะในการแก้ปัญหาชีวิต”.