เครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พัฒนา จชต.
หมวดหมู่ : สงขลา, ทั่วไป,
โฟสเมื่อ : 26 ส.ค. 2566, 17:00 น. อ่าน : 461สงขลา-เครือข่ายภาคประชาสังคม ระดมความคิด แผนพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ใช้พื้นที่ตำบล สร้างพื้นที่กลาง เป็นโมเดลต้นแบบความยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดขายแดนภาคใต้
เมื่อวันที่ 26 ส.ค.66 เวลา 13.30 น. ที่ โรงแรมหาดแก้ว รีสอร์ท อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เครือข่ายภาคประชาสังคม ประกอบด้วย ตัวแทนสภาองค์กรชุมชน ตัวแทนสภาเกษตร เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กว่า 50 คน ร่วมถอดบทเรียนและระดมความคิดแนวทางการขับเคลื่อนงาน เชิงปฏิบัติการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมพบปะและให้ข้อเสนอแนะแนวทางฯ
นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายต่อคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหาด้านโภชนาการต่ำของเด็กตั้งแต่อายุ 0 - 7 ขวบ ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องเพราะต้องการแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทุกช่วงวัย ซึ่งโครงการที่ทุกคนได้นำเสนอมานั้นศอ.บต. จะรับไว้พิจารณาแต่จะต้องมีการออกแบบเพิ่มให้สมบูรณ์สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมไม่ซ้ำซ้อน เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาให้ตรงตามเป้าหมายและเกิดความยั่งยืนต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้รองเลขาธิการ ศอ.บต. ได้เปิดเผยถึงแผนขับเคลื่อนกรอบการพัฒนาความมั่นคงทางอาหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2567-2570 ที่จะมีการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกร เพื่อพัฒนาธุรกิจเกษตร พัฒนาศักยภาพการผลิต และเกษตรเชิงพาณิชย์ เป็นต้น
อีกทั้งการขับเคลื่อนในระยะต่อไป ของศอ.บต. ภายใต้หลักการและเจตนารมณ์ของการมีส่วนตั้งแต่ 1 ตุลาคม2566 นี้ หน่วยจะให้ความสำคัญกับพลังของประชาชนและประชาสังคมมาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่มีสัมฤทธิ์ผลสูงสุดอาทิ โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมตั้งแต่เรื่องของการกำหนดประเด็นการพัฒนาการพิจารณาข้อเสนอโครงการร่วมกันการลดขั้นตอนการปฏิบัติในการสนับสนุนโครงการการวางระบบระเบียบว่าด้วยเรื่องของการเงินภาคประชาชนซึ่งทั้งหมดเป็นข้อเสนอแนวทางใหม่ ที่จะต้องคิดและทำร่วมกัน เพื่อเป็นการลดระเบียบกฎหมายข้อปฏิบัติของรัฐที่ทำให้การทำงานของประชาชนไม่ได้รับความสะดวก
นอกจากนี้ภายใต้โครงการตำบลมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนผ่านสภาสันติสุขระดับตำบลซึ่งมีตัวแทนขององค์กรภาคประชาสังคมตามที่เสนอบรรจุไว้เป็นกรณีพิเศษแล้วในระยะต่อไปก็จะให้ภาคประชาสังคมร่วมกับภาคประชาชนเป็นแกนหลักในการพัฒนาแผนที่มีเป้าหมายการพัฒนา 3 ส่วนประกอบด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตการพัฒนาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาเศรษฐกิจรายได้ของประชาชนที่มีความเข้มแข็งยังยืนและต่อเนื่อง
ดังนั้นในระยะ 2 อาทิตย์ต่อจากนี้ขอให้ทุกกลุ่มได้นำแผนพัฒนาตำบลไปปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ของตัวเองและนำกลับเข้ามาเพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์แล้วจะทำเป็นแผนพัฒนาในภาพรวมที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนขององค์กรนักทุกภาคส่วนทั้งในระดับส่วนกลางส่วนภูมิภาคส่วนจังหวัดและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่และประชาชนเป็นตัวตั้ง
ภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนาใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการก้าวข้ามความขัดแย้งไปสู่เรื่องความมั่นคงทางอาหารการ ผลักดันให้เกิดระเบียงเศรษฐกิจอาหารฮาลาลที่เป็นความต้องการของประชาชนทั้งในส่วนของการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตแล้วไม่มีมาตรฐานรองรับไม่สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในภายนอกได้ รวมถึง การขาดที่ปรึกษาในทุกๆด้านกรอบแผนใหม่จะนำปัญหาบทเรียนทั้งหมดมาเรียงร้อยแล้วคิดแก้โจทย์ให้เบ็ดเสร็จในทุกขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การมีสินค้าที่เป็นความคิดในเรื่องของประชาชนและ เป็นอาหารฮาลาชุดแรกของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะไปสู่อาหารฮาลาลโลกให้กับพี่น้องมุสลิม กว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลกให้ได้
ทั้งหมดนี้เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่จะต้องไปดำเนินการร่วมกันโดยเฉพาะในส่วนของการลดความเหลื่อมล้ำโดยที่ประชุมแห่งนี้ได้มีข้อเสนอให้มีการพัฒนาแบบครบ ทุกมิติ ซึ่งจำเป็นจะต้องไปจัดทำข้อมูลโครงการให้พร้อมเพื่อเตรียมการสำหรับการเสนอ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะมีการประชุมภายหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเป็นการเรียบร้อยในโอกาสแรกโดยโครงการดังกล่าวเชื่อมั่นว่าเป็นโครงการที่สอดคล้องกับข้อเสนอความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง และจะนำไปสู่ ความร่วมมือ การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ด้านผู้แทนจากชุมชน 3 จชต. กล่าวด้วยว่า เป้าหมายของเราในการแก้ไขปัญหาคือการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น แก้ไขปัญหาความยากจน รวมถึงลดความเหลื่อมล้ำของพื้นที่เหล่านี้นับเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันขับเคลื่อนกลไกร่วมกัน ด้วยวิธีการวิเคราะห์โอกาส สถานการณ์ ความเหมาะให้สอดรับกับวิถีชีวิต ศาสนา วัฒนธรรม โดยหยิบยกต้นทุนในพื้นที่สร้างโอกาสให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ที่มีพื้นที่ตำบลเป็นฐานปฏิบัติการในการ่วมกันสร้างพลัง สร้างพื้นที่กลางของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและเป็นพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน.