กรุงศรี รุดหน้าสร้างตลาดการเงินเพื่อความยั่งยืน พร้อมส่งมอบบริการด้านวาณิชธนกิจที่ครบทุกมิติ
หมวดหมู่ : เศรษฐกิจ, ไลฟ์สไตล์-บันเทิง, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 6 มี.ค. 2567, 15:40 น. อ่าน : 463กรุงเทพฯ - กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เผยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของกลุ่มงานลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจปี 2567 ชูธง ESG Finance มุ่งสร้างโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ตลาดการเงินเพื่อความยั่งยืน พร้อมเพิ่มศักยภาพการให้บริการด้านวาณิชธนกิจที่ครบวงจร ตอกย้ำความสำเร็จในการให้บริการสินเชื่อโครงการ การซื้อขาย ควบรวมกิจการ และการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนทั้งในและต่างประเทศ ด้วยความมุ่งมั่นในการเป็นพันธมิตรที่ลูกค้าธุรกิจไว้วางใจ เพื่อก้าวสู่การเติบโตที่ยั่งยืนไปด้วยกัน
นายประกอบ
เพียรเจริญ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
“กรุงศรีประสบความสำเร็จในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมธุรกิจให้กับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจอย่างต่อเนื่อง
โดยในปีที่ผ่านมา มียอดสินเชื่อเติบโต คิดเป็นอัตราประมาณ 2.6%
เมื่อเทียบกับปีก่อน
และยังคงให้การสนับสนุนสินเชื่อและการระดมทุนที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
อาทิ การให้การสนับสนุนสินเชื่อ
และการเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายพันธบัตรและหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนและเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่หลายองค์กรสำคัญอย่างต่อเนื่อง
ทั้งยังให้การช่วยเหลือในการปรับตัวผ่านการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายความยั่งยืน
เพื่อเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
โดยอีกหนึ่งบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน
คือการได้มีส่วนร่วมกำหนดมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Thailand
Taxonomy) ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย และอีก 13
เครือข่ายองค์กร
เพื่อใช้อ้างอิงสำหรับการเข้าถึงบริการทางการเงินที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม”
ปิดดีลใหญ่
หนุนธุรกิจโตได้ โตไกล อย่างยั่งยืน
สำหรับปีที่ผ่านมา
กรุงศรี
ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้กลุ่มลูกค้าธุรกิจประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืนผ่านดีลสำคัญมากมาย
อาทิ
- การเป็นผู้จัดการเงินกู้ร่วมและผู้ประสานงานด้านดัชนีความยั่งยืน
สนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked
Loan: SLL) ให้กับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำนวน 11,500 ล้านบาท
- การเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านสินเชื่อสีเขียว
(Green Loan) และเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแต่เพียงผู้เดียว
ให้กับบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (SCGP) จำนวน
3,000 ล้านบาท
- การให้การสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว
(Green Loan) แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จำนวน
500 ล้านบาท
- การเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนและเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้กับหลายองค์กรสำคัญ
ได้แก่
- พันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(Green Bond) โดย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจำนวน
3,500 ล้านบาท
- หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(Green Bond) ของ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์
จำกัด (มหาชน) จำนวน 8,000 ล้านบาท
- หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(Green Bond) ของ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) จำนวน 7,000 ล้านบาท
- หุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน
(Sustainability Debenture) โดย บริษัท
ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 6,500 ล้านบาท
- หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(Green Bond) ของ บริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,000
ล้านบาท
- หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(Green Bond) ของ บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์
พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 500 ล้านบาท
ทั้งนี้ ทางกรุงศรี
ได้ระดมทุนด้วยการออก ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green
Bond) และ ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเล (Blue
Bond) เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล จำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากความเชี่ยวชาญและความสำเร็จทางธุรกิจในด้าน
ESG
กรุงศรียังได้ให้บริการที่ปรึกษาในดีลสำคัญอีกมากมาย อาทิ
- การสนับสนุนการทำธุรกรรม
Index Transition ให้กับลูกค้าตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เปลี่ยนผ่าน
Index ของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจาก Thai Baht Interest
Rate Fixing (THBFIX) เป็น Thai Overnight Repurchase Rate
(THOR)
- ความร่วมมือกับ
MUFG ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ Structured Trade Finance เพื่อบริษัทในกลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค
และกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
- การนำเสนอบริการด้านดิจิทัล
อาทิ บริการ Direct Debit API, Payment API, One Payment Application, Cash
Link, Corporate CHQ และ Credit Product Program เพื่อช่วยยกระดับการบริหารจัดการ
และช่วยอำนวยความสะดวกด้านการชำระเงินให้กับลูกค้า
รุดหน้าสร้างโซลูชันเพื่อธุรกิจ
ยกระดับบริการที่ปรึกษา ตอบโจทย์การแข่งขันให้ธุรกิจแบบครบวงจร
ด้วยการเติบโตของความต้องการด้านเงินทุน
แนวโน้มการขยายธุรกิจสู่เวทีระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
และแนวคิดการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ดังนั้น
การดำเนินงานของกลุ่มงานลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจในปี 2567
จึงมุ่งให้ความสำคัญกับ การสร้างโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ตลาดการเงินเพื่อความยั่งยืน
พร้อมกันกับ การเพิ่มศักยภาพการให้บริการด้านวาณิชธนกิจ
เพื่อช่วยยกระดับการแข่งขันให้กับธุรกิจไทยแบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น
ประกอบไปด้วยแผนการดำเนินงานดังนี้
1.มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อส่งเสริมลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านสู่เส้นทางการเงินเพื่อความยั่งยืน
โดยฝ่าย ESG Finance (ESG Finance Department or EFD) เดินหน้าให้ความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินเพื่อความยั่งยืน (ESG Finance) รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาเพื่อช่วยวางแผนในช่วงการเปลี่ยนผ่าน
โดยจะปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับเครือข่าย MUFG พร้อมเดินหน้าจัดระเบียบพอร์ตสินเชื่อของธนาคารตามมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Thailand Taxonomy) นอกจากนี้
จะยังคงสานต่อกิจกรรมการให้ความรู้ผ่านเวทีสัมมนาต่างๆ โดยจะจัดงานสัมมนาครั้งใหญ่
Krungsri-MUFG ESG Symposium 2024
เพื่อช่วยส่งเสริมระบบนิเวศด้านความยั่งยืนให้กับประเทศไทย
2.เพิ่มศักยภาพการบริการด้านวาณิชธนกิจ
โดยมุ่งเน้นการให้บริการด้านการให้คำปรึกษาและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
ผ่านการร่วมมือกับทุกหน่วยงานของกรุงศรี กรุ๊ป เครือข่ายระดับโลกของ MUFG และเครือข่ายธนาคารพันธมิตรในภูมิภาคอาเซียน
เพื่อสนับสนุนการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ครบถ้วนและตรงตามความต้องการ
ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การระดมทุนจากการกู้ยืม การระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ (Debt
Capital Markets) การทำสินเชื่อโครงการ (Project
Finance/Structure Finance) ในหลายๆ อุตสาหกรรมทั้งพลังงานหมุนเวียน
ศูนย์ข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน การซื้อขายและควบรวมกิจการ (Mergers and
Acquisitions) การระดมทุนผ่านตลาดตราสารทุน (Equity Capital
Markets) โดยในปีที่ผ่านมามี การเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก
(IPO) ให้กับหลายบริษัท เช่น บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น
โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (SAV) ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์
โดยประกอบธุรกิจให้บริการบริหารจัดการควบคุมการจราจรทางอากาศของประเทศกัมพูชาภายใต้สัมปทานแต่เพียงผู้เดียว
และขณะนี้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไอเน็ต (INETREIT) ในการเพิ่มการลงทุนในทรัพย์สินประเภทศูนย์ข้อมูล ให้บริการการเสนอขายหุ้น IPO กับองค์กรในอีกหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมบริการและอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง นอกจากนั้นกรุงศรียังให้ บริการที่ปรึกษาในการซื้อและควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions) โดยเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการร่วมทุนในโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยรวมกับพันธมิตรซึ่งเป็นนักลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความยั่งยืน
“เรายังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรที่ลูกค้าไว้วางใจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
ภายใต้รากฐานของการบริการที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และด้วยองค์ความรู้
ทีมงานมืออาชีพ และความแข็งแกร่งด้านเครือข่ายของกรุงศรี กรุ๊ป และ MUFG
เรามั่นใจว่าจะสามารถนำเสนอโซลูชันที่ครบวงจรและเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรมครอบคลุมตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ที่สำคัญจะยังคงสานต่อการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนตามโมเดล
ESG โดยเฉพาะในช่วงเวลาปรับตัว
เพื่อนำพาลูกค้าก้าวสู่การเติบโตที่ยั่งยืนไปพร้อมกันกับเรา
โดยในปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตด้านสินเชื่อที่ 4-6%” นายประกอบ กล่าวปิดท้าย.