กลุ่มแอร์เอเชีย เปลี่ยนชื่อเป็น “แคปปิตอล เอ” (Capital A)

หมวดหมู่ : ไลฟ์สไตล์-บันเทิง, ทั่วไป, ท่องเที่ยว, กรุงเทพฯ,

อ่าน : 1,026
กลุ่มแอร์เอเชีย เบอร์ฮาด แคปปิตอล เอ Capital A
กลุ่มแอร์เอเชีย เปลี่ยนชื่อเป็น “แคปปิตอล เอ” (Capital A)

               กรุงเทพฯ วันที่ 28 มกราคม 2565 - กลุ่มแอร์เอเชีย เบอร์ฮาด (มาเลเซีย) ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น แคปปิตอล เอ เบอร์ฮาด (Capital A)

    การเปลี่ยนชื่อครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นเเละการวางกลยุทธ์ในธุรกิจใหม่ของกลุ่มบริษัท ในฐานะบริษัทโฮลดิ้งด้านการลงทุนที่ประกอบไปด้วยกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายพร้อมทำงานอย่างสอดประสานกัน โดยถือเป็นการเปลี่ยนภาพจำใหม่ของแบรนด์แอร์เอเชีย ให้เป็นมากกว่าสายการบินอย่างรวดเร็ว

    นายโทนี่ เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มแคปปิตอล เอ กล่าวว่า นี่ไม่ใช่แค่การเปิดตัวโลโก้ใหม่เท่านั้น แต่เป็นก้าวสำคัญสู่ยุคใหม่ของพวกเรา เพื่อประกาศว่าเราไม่ใช่แค่สายการบินอีกต่อไป

    “สายการบินถือเป็นธุรกิจสำคัญที่สนับสนุนแบรนด์แอร์เอเชียอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี ผมมีความตั้งใจที่หนักแน่นมานานแล้วก่อนเกิดการระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ที่จะใช้ประโยชน์จากประสบการณ์และฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งที่เราได้สร้างขึ้นมาตลอด 20 ปี มาผสานกับเทคโนโลยีชั้นนำใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย นอกเหนือจากการจำหน่ายตั๋วเครื่องบินเท่านั้น ซึ่งการระบาดใหญ่ครั้งนี้ถือเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้เราพัฒนากลยุทธ์และเเนวคิดนี้ให้สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว” นายโทนี่ กล่าว

    แบรนด์ของเราไม่เคยหยุดนิ่ง โดยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมและความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กลยุทธ์เบื้องหลังการเปลี่ยนชื่อคือการผลักดันเอกลักษณ์องค์กรใหม่ที่สะท้อนถึงธุรกิจหลักของกลุ่มในวันนี้ และการดำเนินการในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากสายการบินไปสู่กลุ่มบริการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์รูปแบบดิจิทัลแบบครบวงจร เราเชื่อว่าแบรนด์ใหม่จะช่วยเพิ่มความสามารถทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ของเรา และเพิ่มความสำเร็จของกลุ่มบริษัทได้ในระยะยาว

    สำหรับ แคปปิตัล เอ เป็นบริษัทด้านการลงทุนที่มีพอร์ตธุรกิจมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้จะมุ่งเน้นไปที่การมอบสินค้าและบริการที่คุ้มค่าและดีที่สุดด้วยการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งซึ่งสร้างขึ้นมานานกว่าสองทศวรรษ อีกทัังเรายังมียังมีแบรนด์แอร์เอเชีย ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำและแข็งแกร่งของเอเชีย มีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับผู้คนเป็นอันดับแรก และคำมั่นสัญญาที่จะคงไว้ซึ่งความมุ่งมั่นในการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการให้กับทุกคน เช่นเดียวกับสิ่งที่สายการบินทำตั้งแต่วันแรก หน่วยธุรกิจต่างๆ ก็จะนำเสนอกลยุทธ์เดียวกันคือทุกสิ่งที่ทำต้องดีที่สุด นั่นคือทำให้การเดินทางและการบริการในชีวิตประจำวันมีราคาไม่แพง เข้าถึงได้ และครอบคลุมสำหรับทุกคน

    “ขณะนี้ เรากำลังนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายครอบคลุม มากกว่าแบรนด์อื่นๆ ในอาเซียน และด้วยการเข้าถึงผู้คนกว่า 700 ล้านคนในภูมิภาคนี้ ผมมองเห็นโอกาสการเติบโตอย่างไม่น่าเชื่อสำหรับแบรนด์ของเราในอุตสาหกรรมต่างๆ ในตลาดหลักทั้งหมดของเรา” นานโทนี่ กล่าว

    สำหรับ airasia Super App มีผลิตภัณฑ์และบริการ 16 รายการ ซึ่งไม่เพียงแต่มอบข้อเสนอเที่ยวบินและการเดินทางที่คุ้มค่าที่สุดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความต้องการในชีวิตประจำวันด้วย ตั้งแต่อาหาร การค้าปลีก และอีคอมเมิร์ซ ไปจนถึงบริการขนส่งในวันเดียวกัน บริการเรียกรถ และต่างๆ อีกมากมาย เราเป็นหนึ่งในสามตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA) ชั้นนำของอาเซียนแล้ว และซูเปอร์แอพของเรากำลังอยู่ในเส้นทางที่จะกลายเป็นแอพไลฟ์สไตล์ชั้นนำในภูมิภาคในไม่ช้า

    ธุรกิจในพอร์ตโฟลิโอทั้งหมดของเรากำลังก้าวไปสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมแวดวงเฉพาะด้านนั้นๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึง BigPay แผนกวิศวกรรมอากาศยาน Asia Digital Engineering (ADE) และบริษัทร่วมทุนด้านโลจิสติกส์ Teleport

    ปัจจุบันมีผู้เยี่ยมชม airasia Super App มากกว่า 50 ล้านคนในแต่ละเดือน ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นยูนิคอร์นแห่งเทคโนโลยีภายในเวลาไม่ถึงสองปี ขณะที่BigPay ธุรกิจด้านฟินเทคได้รับการอัดฉีดเงินจำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐจากกลุ่มบริษัท SK ในเกาหลีใต้ และโดยรวมได้ระดมทุนไปแล้วกว่า 2.5 พันล้านริงกิตผ่านกลยุทธ์การระดมทุน จากการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของลูกค้าและนักลงทุน ขณะนี้ได้ตั้งเป้าหมายริเริ่มการระดมทุนเพิ่มเติมสำหรับ airasia Super App, Teleport และ ADE ซึ่งจะประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้งเร็วๆ นี้

    สำหรับส่วนที่เกี่ยวข้องกับสายการบิน นายโทนี่ กล่าวว่า “ถึงแม้ว่า แคปปิตัล เอ จะเป็นชื่อบริษัทโฮลดิ้งใหม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือชื่อแบรนด์แอร์เอเชียสำหรับสายการบินของเรา ซึ่งจะยังคงเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุดในเอเชียและเป็นแพลตฟอร์มที่พร้อมสำหรับการเติบโตของผลิตภัณฑ์และบริการอื่นๆ ทั้งหมด ในการใช้ประโยชน์พึ่งพากันและกัน

    “แม้ว่าสองปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่ยากลำบากและส่งผลให้ธุรกิจการบินเชิงพาณิชย์ แต่ผมยังมีความหวังและพร้อมสร้างโอกาสการกลับมาของปีต่อๆ ไปด้วยความมั่นใจที่มากขึ้น ปัจจุบันเที่ยวบินภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวในตลาดหลักแล้ว แม้ว่าเที่ยวบินระหว่างประเทศจะกลับมาอย่างล่าช้าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 จากการเเพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน แต่ผมเชื่อทุกอย่างระเริ่มดีขึ้นเร็วๆ นี้ สอดคล้องกับที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระดับโลกหลายคนคาดการณ์ไว้ ควบคู่ไปกับแผนการกระจายฉีดวัคซีนที่รวดเร็วไปจนถึงการฉีดวัคซีนกระตุ้น ขณะที่คนทั่วโลกสามารถปรับตัวเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับโควิด ผมหวังว่าพรมแดนจะเปิดขึ้นใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไปตลอดปี 2565 และเราจะเห็นการกลับมาให้บริการตามปกติสำหรับเส้นทางระหว่างประเทศได้ภายในกลางถึงไตรมาสที่สามปีนี้” นายโทนี่ กล่าว

    นอกจากนี้ เราได้ปรับเปลี่ยนตัวเอง และมีแผนการดำเนินการ 5 ปีที่เป็นรูปธรรม ซึ่งสัดส่วนรายได้ที่ไม่ได้มาจากสายการบิน จะเพิ่มมาอยู่ที่ร้อยละ 50 จากรายได้รวมของกลุ่มภายในปี 2569 และเมื่อสายการบินกลับมาให้บริการใกล้เคียงกับก่อนโควิด-19 ในอนาคตอันใกล้ เราจะสามารถสร้างรายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ทั้งหมดอย่างเต็มที่ พร้อมก้าวสู่ยุคใหม่ควบคู่กันไป

    ภายในปี 2569 แคปปิตอล เอ ตั้งเป้าที่จะบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้ :

    - กลุ่มสายการบินที่เชื่อมต่อและให้บริการผู้คนกว่า 1 พันล้านคนในอาเซียน

    - แผนกวิศวกรรม (ADE) กลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบริการบำรุงรักษา ซ่อมแซม หรือเป็น MRO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    - airasia Super App ก้าวเป็นสุดยอดแอปในอาเซียน

    - ผู้ใช้งาน BigPay 10 ล้านคนต่อเดือน

    - ส่วนแบ่งตลาด 10% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับ Teleport ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซ

    - มีผู้ลงทะเบียน 5 ล้านสำหรับกลุ่มผู้ให้ความรู้ AirAsia Academy

    - ยอดสั่งซื้อของชำ (grocery) ของแอร์เอเชียกว่า 21 ล้านรายการต่อเดือน

    ชื่อบริษัทโฮลดิ้งแห่งใหม่คือ แคปปิตัล เอ มีผลทันทีหลังจากการจดทะเบียนชื่อโดยคณะกรรมการบริษัทแห่งมาเลเซียที่ประกาศเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2565 และได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการวานนี้ (วันที่ 27 มกราคม 2565)

    การเปลี่ยนชื่อจาก แอร์เอเชีย เบอร์ฮาด เป็น แคปปิตัล เอ จะไม่มีผลใดๆ ต่อการดำเนินงานของบริษัทที่กำลังดำเนินการอยู่ ทั้งนี้ชื่อหุ้นแอร์เอเชียบนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศมาเลเซีย Bursa Malaysia Securities Berhad จะเปลี่ยนแปลงโดยมีผลทันทีเพื่อสะท้อนชื่อบริษัทใหม่.





อ่านข่าวที่เกี่ยงข้อง :


แอร์เอเชียเดินหน้าปรับโครงสร้างองค์กรต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างรวดเร็ว
แอร์เอเชียเดินหน้าปรับโครงสร้างองค์กรต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างรวดเร็ว

airasia Super App ตั้งเป้าเป็นสุดยอดแอปอาเซียน ภายในปี 2569
airasia Super App ตั้งเป้าเป็นสุดยอดแอปอาเซียน ภายในปี 2569

บริษัทโฮลดิ้งกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย ประกาศเเต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท
บริษัทโฮลดิ้งกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย ประกาศเเต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท

airasia Super App และ Google Cloud จับมือสร้างกลยุทธ์ส่งเสริมความสะดวกทางดิจิทัล
airasia Super App และ Google Cloud จับมือสร้างกลยุทธ์ส่งเสริมความสะดวกทางดิจิทัล

แอร์เอเชีย สยายปีกตั้งสายการบินราคาประหยัด ก่อตั้ง “แอร์เอเชีย กัมพูชา”
แอร์เอเชีย สยายปีกตั้งสายการบินราคาประหยัด ก่อตั้ง “แอร์เอเชีย กัมพูชา”

แคปปิตอล เอ เปิดตัว ‘Ask Bo’ ระบบ AI และแชตถามตอบอัตโนมัติแบบใหม่ แทนที่ AVA
แคปปิตอล เอ เปิดตัว ‘Ask Bo’ ระบบ AI และแชตถามตอบอัตโนมัติแบบใหม่ แทนที่ AVA

Capital A ต่อสัญญา โทนี่ เฟอร์นานเดส 5 ปี บริหารงานต่อเนื่อง
Capital A ต่อสัญญา โทนี่ เฟอร์นานเดส 5 ปี บริหารงานต่อเนื่อง

เริ่มต้นสู่หน้าประวัติศาสตร์ใหม่ Capital A - แอร์เอเชีย กรุ๊ป ลงนามข้อตกลงการซื้อ-ขายแบบมีเงื่อนไข
เริ่มต้นสู่หน้าประวัติศาสตร์ใหม่ Capital A - แอร์เอเชีย กรุ๊ป ลงนามข้อตกลงการซื้อ-ขายแบบมีเงื่อนไข

Capital A แถลงผลประกอบการทางการเงิน ไตรมาสที่ 3 ปี 2024
Capital A แถลงผลประกอบการทางการเงิน ไตรมาสที่ 3 ปี 2024