นักวิจัย ม.อ.สร้างชื่อ คิดค้น แผ่นหนุนสะโพกจากยางธรรมชาติ
หมวดหมู่ : สงขลา, ภาคใต้,
โฟสเมื่อ : 27 มิ.ย. 2563, 15:17 น. อ่าน : 1,215สงขลา- อาจารย์นักวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างชื่อเสียงอีกจากผลงานวิจัย คิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์ หนุนสะโพกจากยางธรรมชาติ ประกอบด้วยแผ่นหนุนสะโพก และชุดหนุนสะโพกทำด้วยผ้ายืด ช่วยผู้สูงอายุที่เป็นกระดูกพรุนได้ดี ยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว
นักวิจัยที่สร้างชื่อเสียงจากผลงานวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.)ครั้งนี้ ได้แก้ รศ.ดร.วิริยะ ทองเรือง, รศ.ดร.เจริญยุทธ เดชาวายุกุล และ รศ.ดร.นพ.วราห์ ยืนยงวิวัฒน์ โดยการสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) คิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์หนุนสะโพกจากยางธรรมชาติ ประกอบด้วย แผ่นหนุนสะโพก และชุดหนุนสะโพกทำด้วยผ้ายืด ออกแบบเป็นเข็มขัดรัดสามารถลดแรงกระแทกต่ำกว่ามาตรฐานกำหนดได้ถึง ร้อยละ 37 มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อสะดวกต่อทุกสถานที่ในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถถอดและปรับ ได้ตามต้องการ ผลงานได้รับมาตรฐาน มอก.2958-2562 และได้รับอนุสิทธิบัตรการออกแบบ และ กระบวนการผลิต (หมายเลข 1703000630 และ 1703000631 )
ทั้งนี้จากปัญหาที่พบบ่อยกับผู้สูงอายุ คือกระดูกสะโพกหักอันเนื่องจากหกล้มหรือเกิดการกระแทกโดนเฉพาะในผู้สูงอายุที่เป็นกระดูกพรุน โดยร้อยละ 90 ของกระดูกสะโพกหักมาจากการหกล้ม ถ้ามีแรงกระแทก ไปยังบริเวณกระดูกสะโพก ทำให้เกิดการเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน เสี่ยงต่อการเป็นปวด ทุกข์ทรมาน เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต และไม่สามารถลุกยืน.หรือเดินได้ ประเทศไทย มีประชากรที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ประมาณ 15 ล้านคน คาดว่าเป็นโรคกระดูกพรุนในส่วนกระดูกสะโพก ประมาณ 1.7 ล้านคน เป็นประชากรหญิงประมาณ 1 ล้านและประชากรชายประมาณ 7 แสนคน และคาดการณ์ว่ามีจำนวน ผู้ที่มีกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุนของโลกมีจำนวน 4.5 ล้านในปี พ.ศ.2593
รศ.ดร.วิริยะ ทองเรือง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าโครงการแผ่นหนุนสะโพกจากยาพารา กล่าวว่า ปัจจุบันมีวิธีป้องกันก่อนที่จะเกิดหกล้มคือการใช้ยาเพื่อเสริมกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งมักจะมีผลข้างเคียงคือการเบื่ออาหารหรือการแพ้ยา กับวิธีไม่ใช้ยา คือใช้อุปกรณ์ป้องกันการกระแทกของสะโพกซึ่งมีราคาถูกกว่าการรักษาหรือผ่าตัด ก่อนที่จะเกิดการหกล้มเพื่อไม่ให้กระดูกสะโพกหัก ซึ่งจะช่วยป้องกันผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนจากกระดูกหัก หรือแตกจากการหกล้มได้ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย
นอกจากผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องกระดูกพรุนและกระดูกบางแล้ว ผู้ป่วยกระดูกหักที่เคลื่อนไหว ไม่ได้ก็มีจำนวนมากที่เสี่ยงกับภาวะแผลกดทับด้วยคณะผู้วิจัยจึงพัฒนาแผ่นยางกันกระแทกนี้ขึ้นจากยางธรรมชาติเพื่อช่วยเรื่องความปลอดภัย ให้ผู้สูงอายุและยังเป็นการนำเอา ยางพารามาทำให้เกิดเป็นมูลค่าทางการตลาดที่สูงขึ้น โดยความร่วมมือกันทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ ในระยะต่อไป ทีมผู้วิจัยจะพัฒนาในส่วน smart hip หรือ แผ่นหนุนสะโพกอัจฉริยะ เมื่อผู้สูงอายุที่สวมแผ่นหนุนสะโพกอัจฉริยะ เกิดหกล้ม ระบบจะส่งสัญญาน ไปยังผู้ดูแลหรือลูกหลาน ที่ไม่ได้อยู่ใกล้ผู้สูงวัยตลอดเวลา ให้สามารถช่วยเหลือ ได้ทันท่วงที่ และเป็นการพัฒนางานวิจัยต่อเนื่อง ในระดับที่ตอบโจทย์มากขึ้น
รศ.ดร.นพ.วราห์ ยืนยงวิวัฒน์ ภาควิชาออโธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า เห็นได้ชัดว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมีมากขึ้น ถ้าเราป้องกันได้ เชื้อว่า งบประมาณค่าใช้จ่ายของตัวผู้ป่วยเอง และภาพรวมผู้ป่วยเอง และภาพรวมของประเทศที่มีต่อการรักษา จะได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
ด้าน รศ.ดร.นพ.บุญสิน ตั้งตระกูลวนิช ภาควิชาออโธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า การหกล้ม คนไข้ไม่สามารถรู้ได้จะเกิดตอนเข้าห้องน้ำ ตอนลุกจากเตียง เนื่องจากการทรงตัวก็จะไม่ค่อยดี จะล้มได้ง่าย เราไม่สามารถป้องกันไม่ให้ล้มได้ แต่สามารถป้องกันให้ล้มแล้วกระดูกไม่หักได้ด้วยแล้วกระดูกได้ด้วยอุปกรณ์หนุนสะโพก.