สงขลามุ่งพัฒนาท่องเที่ยวท้องถิ่นอย่างยั่งยืน คาร์บอนเป็นศูนย์
หมวดหมู่ : สงขลา, ทั่วไป,
โฟสเมื่อ : 3 ก.พ. 2566, 16:00 น. อ่าน : 487สงขลา-เปิดงานการแสดงนิทรรศการและการประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Carbon Neutral Tourism) “พัฒนาท่องเที่ยวท้องถิ่นให้อย่างยั่งยืน บนฐานคิดการท่องเที่ยว คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์”
เมื่อสายวันที่ 3 ก.พ.66 นายกองเอก พุทธ กฤชคงพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดงานการแสดงนิทรรศการและการประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Carbon Neutral Tourism) “พัฒนาท่องเที่ยวท้องถิ่นให้อย่างยั่งยืน บนฐานคิดการท่องเที่ยว คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ที่โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมี ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ประธานคณะอนุกรรมการแผนงาน กลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริการและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ผศ.ดร. จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง หัวหน้าโครงการ การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศจากองค์ความรู้สู่นโยบายเพื่อการปฏิบัติ นายเฉลิมพันธ์ ยินเจริญผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยคณาจารย์ วิทยากร คณะผู้จัดงานเข้าร่วม
ผศ.ดร.จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง หัวหน้าโครงการฯ กล่าวรายงานว่า ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย จำเป็นต้องเป็นการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับการพัฒนาในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโลกที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ลดผลกระทบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากกิจกรรมต่างๆ ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ด้วยการหาแนวทางขับเคลื่อนการลดการปล่อยคาร์บอนได-ออกไซด์ให้น้อยที่สุด จนถึงการผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
งานการแสดงนิทรรศการและการประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและทักษะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนแผนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย และยังเป็นการจัดนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างบูรณาการเพื่อการท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอน ในปี 2564 และ ปี 2565 ร่วมกัน
นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการพัฒนางานและความคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว รวมถึงสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ชุมชนท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจต่อการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต โดยภายในงานมีการจัดบูธแสดงผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชกัฎสงขลา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.)
ภายในงานยังมีบูธจากวิสากิจชุมชน และของดีของชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 13 บูธ ดังนี้ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านโหนด – บ้านเปียน, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งชันโรงบ้านเกาะแลหนัง ฟาร์ม (Singless Bee), วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บ้านตาแปด, วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวทางธรรมชาติและเชิงเกษตรตำบลบาโหย, Libong Upcycling Project เกาะลิบง อำนอกันตัง จังหวัดตรัง, วิสาหกิจชุมชนศูนย์สมุนไพรบ้านนก, วิสาหกิจชุมชนตาลโตนด โหนด นา เล, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา, กระจูดราตรี, วิสาหกิจชุมชนบ้านแหลมยาง, วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรทะเลสาบสงขลา, DOLLA Cafe : ดอลล่า คาเฟ่ (คาเฟ่รักษ์โลก) จ.กระบี่ และวิสาหกิจชุมชนน้ำพริกแม่ปลื้ม.