เปิดใจนักสื่อสารด้านความยั่งยืนกับเรื่องความหลากหลายในทุกมิติของชีวิต
หมวดหมู่ : ไลฟ์สไตล์-บันเทิง, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 5 มิ.ย. 2567, 11:54 น. อ่าน : 322เปิดใจนักสื่อสารด้านความยั่งยืนกับเรื่องความหลากหลายในทุกมิติของชีวิต
จากเด็กที่เติบโตในสองวัฒนธรรม
สู่ผู้ริเริ่มส่งเสียงให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศในองค์กร
กรุงเทพฯ -
เพราะความหลากหลายคือพลังของโลกยุคใหม่ รายงานล่าสุดของ McKinsey
ระบุว่าแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง ความหลากหลาย
ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม (DEI) มีความสำคัญมากยิ่งกว่าที่ผ่านมา
โดยความหลากหลายของผู้นำมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญต่อเป้าหมายการเติบโต
ผลกระทบต่อสังคม และความพึงพอใจของพนักงาน
และด้วยบรรยากาศของ
Pride
Month ปีนี้ นับเป็นโอกาสดีสำหรับการชวน Gregoire Glachant ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารด้านความยั่งยืน
ในสายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ของทรู คอร์ปอเรชั่น
ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้มีความหลากหลายในชีวิตแทบทุกมิติมาบอกเล่าเรื่องราวของเขา
ตั้งแต่การเป็น “Third Culture Kid” ที่เติบโตจากสองวัฒนธรรม
การทำงานในสังคมและแวดวงที่แตกต่าง ไปจนถึงการปักหมุดหมายมาใช้ชีวิตในประเทศไทย
และการแสดงออกถึงสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ
ต่อไปนี้คือเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต
การมองโลก และการกล้าเป็นตัวของตัวเองที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้จริง
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในวัยเด็กสู่การทำงานเป็นนักพัฒนาวิดีโอเกม
“ผมเกิดในฝรั่งเศส
แต่ครอบครัวย้ายไปที่สหรัฐอเมริกาตอนผมอายุ 6 ขวบ
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตผมอย่างมากเกิดขึ้นในวัยนั้นคือ คอมพิวเตอร์ IBM
PCjr ที่พ่อซื้อให้ในวันคริสต์มาส ถือว่าเป็นแรกๆ ของ Personal
PC ที่ใช้กันทั่วไปในบ้าน
ซึ่งจุดประกายให้ผมได้พัฒนาวิดีโอเกมที่ชื่อว่า ‘Hardline’ ตั้งแต่อายุ
14 ปี เกมนี้ผลิตและวางขายทั่วโลกโดยบริษัท Virgin Interactive
Entertainment”
“เมื่อได้ทำงานสายนี้
ผมจึงเลือกเรียนต่อด้านดิจิทัลมีเดีย ซึ่งถือเป็นสาขาใหม่มากในยุค 90
หลังจากเรียนจบก็ทำงานในวงการวิดีโอเกม
พร้อมไปกับรับงานเสริมถ่ายทำและตัดต่อวิดีโอให้กับดีไซเนอร์รุ่นใหม่ในวงการแฟชั่น
จนกระทั่งอายุ 26 ปีก็ตัดสินใจว่าต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตอีกครั้ง
เพราะอยากเป็นนักเขียน แล้วก็มีความคิดแปลกๆ
ที่ว่าต้องไปให้ไกลที่สุดจากบ้านเกิดถึงจะมีเรื่องราวที่เล่าได้
และการอยู่ในฝรั่งเศสก็ไม่สามารถเติมเต็มสิ่งที่ผมอยากทำ”
การเป็น Third
Culture Kid สู่การเป็น Global Citizen
“การที่ใช้ชีวิตวัยเด็กและวัยรุ่นในต่างวัฒนธรรมทำให้ผมกลายเป็นคนแบบที่เรียกกันว่า
‘Third
Culture Kid’ หมายความว่าเมื่ออยู่ในสหรัฐฯ
ผมก็รู้สึกไม่เข้ากับที่นั่นเพราะผมเป็นคนฝรั่งเศส แต่พอกลับมาฝรั่งเศส
ผมก็เข้ากับที่นี่ไม่ได้อีก เพราะผมคล้ายวัยรุ่นอเมริกันไปแล้ว
เหตุผลที่เรียกกันว่า Third Culture ก็เพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใดได้อย่างเต็มที่
กลายเป็นรู้สึกว่าตัวเองไม่มีถิ่นที่เรียกว่า ‘บ้าน’ ที่แท้จริง”
“แต่ข้อดีของประสบการณ์ชีวิตแบบนี้คือ คุณจะมีความยืดหยุ่นมากและเปิดรับต่อวัฒนธรรมอื่นๆ ดังนั้นจึงทำให้ผมไม่ตกใจหรือหวาดกลัวความแตกต่างทางวัฒนธรรม และสามารถปรับตัวได้ดีไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม”
เชื่อในความแตกต่างหลากหลาย
และไม่เหมารวม
“การย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ
จึงไม่ได้ทำให้ผมต้องปรับตัวอะไรมากเท่ากับการเปลี่ยนสายงาน
จากงานแรกในไทยที่ทำอยู่ 10 ปีที่ Asia City Media Group ในตำแหน่ง Editor-in-Chief ของนิตยสารภาษาอังกฤษรายสัปดาห์ชื่อว่า
BK มาสู่โลกของคอร์ปอเรทที่ dtac ซึ่งมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมากและได้ทำงานร่วมกับคนไทยเป็นส่วนใหญ่”
“ผมเชื่อในความหลากหลาย
ดังนั้นจึงไม่เหมารวมว่าคนไทยเป็นอย่างไร เพราะจริงๆ
แล้วคนไทยก็มีลักษณะที่แตกต่างหลากหลายสุดขั้ว
แต่ถ้าในแง่ของวัฒนธรรมไทยที่เป็นแบบรวมกลุ่ม (Collectivism) นับเป็นหนึ่งในความแตกต่างสำคัญกับวัฒนธรรมตะวันตกที่เน้นในเรื่องของปัจเจกบุคคล
(Individualism) ทำให้วิธีการทำงานก็แตกต่างกันมาก
คุณเห็นตัวอย่างจากกิจกรรมที่เราจัดกันในทีม เช่น นัดกันใส่เสื้อผ้าสีเดียวกัน”
“ดังนั้นเคล็ดลับในการทำงานร่วมกับผู้คนที่มาจากวัฒนธรรมอื่น
หนึ่งคือ ไม่ยึดติดกับว่าพวกเขามาจากวัฒนธรรมใด คำถามที่แท้จริงคือ
อะไรทำให้คนคนนี้มีแรงจูงใจ อะไรทำให้เขาหมดไฟ อะไรทำให้เขารู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ
เพราะทุกคนก็ไม่เหมือนกัน คุณควรมีความยืดหยุ่นในลักษณะนี้สองคือ ต้องมี EQ
สูง ที่สามารถเข้าใจว่ามีคนหลากหลายแบบ
ยิ่งเป็นผู้จัดการทีมก็จำเป็นต้องอ่านคนได้”
การเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงได้ต้องผ่านการฝึกซ้อมให้คุ้นเคย
“การเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงเหมือนเป็นการฝึกซ้อมที่ต้องทำให้คุ้นเคย ผมเคยกลัวที่ต้องพูดเรื่องตัวเอง ไม่ง่ายเลยที่จะพูดว่า ‘my husband’ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ จึงคอยหาวิธีหลีกเลี่ยงไปใช้คำอื่นหรือไม่พูดถึงได้เสมอ แต่การเป็นตัวเองที่ดีที่สุดคือ ต้องรู้ตัวเวลาที่กำลังปิดกั้นหรือซ่อนสิ่งที่คุณเป็นเอาไว้ และให้ทำตรงข้ามกันไปเลย เช่น เมื่อมีคนถามว่า ‘ซัมเมอร์นี้จะทำอะไร’ แทนที่จะเลี่ยงไม่พูด ก็แค่ตอบไปว่า ‘ผมจะไปเซี่ยงไฮ้กับสามี’ แล้วคุณจะรู้ว่า ไม่ได้มีใครสนใจเราขนาดนั้นหรอก หรือถ้าใครมีปัญหา คุณก็อาจจะเปลี่ยนแปลงมันได้เช่นกัน”
การส่งเสริมให้องค์กรมีความหลากหลาย
พนักงานต้องกล้าพูดกล้าบอก และบริษัทก็ต้องรับฟัง
“บริษัทต้องเต็มใจรับฟังเมื่อพนักงานส่งเสียงบอก
ส่วนพนักงานก็ต้องกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น ถ้าพนักงานไม่พูดออกมา
บริษัทก็จะไม่รู้ว่าจะทำอะไร ที่สำคัญคือบริษัทต้องไม่มองพวกเขาเป็นศัตรูหรือปัญหา
แต่มองพวกเขาเป็นคนที่มาช่วย มาให้ไอเดียในการปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น”
“ผมเองเป็นคนริเริ่มเรื่องสิทธิเท่าเทียมสำหรับ
LGBTQ
ที่ dtac โดยไปที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลแล้วบอกว่า
ในอเมริกาและหลายประเทศ รวมถึงบริษัทใหญ่ๆ
ก็ให้สิทธิเท่าเทียมก่อนที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมประกาศใช้
ทำไมเราไม่ทำแบบนั้นบ้าง เช่น
เรามีประกันสุขภาพแต่ไม่สามารถซื้อให้กับคู่รักเพศเดียวกันในราคาที่คู่สมรสต่างเพศซื้อได้
ซึ่งฝ่ายบุคคลก็เข้าไปคุยกับบริษัทประกันแล้วสุดท้ายก็สามารถทำได้
หรือบางเรื่องที่เป็นกฎของบริษัทก็เปลี่ยนได้ง่ายกว่า เช่น คุณจะได้วันหยุด 3
วันถ้าแต่งงานกับคู่สมรสเพศเดียวกัน”
การเห็นคุณค่าและความสำคัญในความแตกต่าง
สะท้อนถึงการเปิดกว้างขององค์กร
“การเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรเป็นเรื่องยาก
สิ่งที่บริษัททำได้คือการริเริ่มโครงการใหญ่ๆ เพื่อส่งสารที่มีพลังจากระดับบนสุด
นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เกิดเดือนแห่งความภาคภูมิใจสำหรับ LGBTQ
ถ้าแสดงให้เห็นว่าเห็นกลุ่มชนกลุ่มน้อยนี้มีความสำคัญและพิจารณาถึงความแตกต่างและสิทธิของพวกเขา
ก็เท่ากับแสดงให้เห็นว่าองค์กรเปิดกว้างให้กับทุกคน
โดยที่พนักงานไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเข้ากับองค์กร
และสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างแท้จริง และได้การยอมรับ
นี่เป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรทำได้”
เพราะความหลากหลายคือพลังของโลกยุคใหม่
“ผมคิดว่าการที่ยอมรับความแตกต่าง
โอบรับความหลากหลาย
ด้านหนึ่งคือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทำให้ผู้คนมีความสุขและใช้ชีวิตที่ได้เป็นตัวของตัวเอง
อีกด้านคือ วิธีดำเนินธุรกิจดิจิทัลในปี 2024
ที่ธุรกิจต้องเน้นความคล่องตัวมากขึ้น ทำงานเร็วขึ้น รับฟังและมีความเห็นอกเห็นใจต่อลูกค้ามากขึ้น
ซึ่งจะทำให้ธุรกิจในยุคนี้ประสบความสำเร็จได้”
Lessons Learned ในการทำงานท่ามกลางความหลากหลาย
- Have High EQ: เข้าใจว่าผู้คนมีความหลากหลาย ต้องอ่านอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนได้
และปรับวิธีการสื่อสารได้
- Be Flexible: ไม่ยึดติดว่าพวกเขาเป็นคนชาติไหน มาจากวัฒนธรรมใด
แต่มีความเข้าอกเข้าใจในการทำงานร่วมกัน
- Be Brave to Speak Up: กล้าพูดกล้าบอก กล้าแสดงความคิดเห็น
เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทรู คอร์ปอเรชั่น เชื่อว่าความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเพศ วัย อายุ เชื้อชาติ ความสนใจ ไลฟ์สไตล์ โดยในเดือนแห่งความภาคภูมิใจในความหลากหลาย (Pride Month) ทรู แสดงจุดยืนในการสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียม จากการผสานความแตกต่าง โอบรับความหลากหลายของทุกคนในทุกมิติ และกล้าแสดงความเป็นตัวเอง ผ่านแคมเปญ #BringYourBest เพราะที่ทำงานคือพื้นที่ให้เราได้เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด พร้อมนำเสนอเรื่องเล่าของคนทรู ที่สะท้อนความแตกต่างหลากหลายและเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพและความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง
อ่านบน True
Blog :
https://true.th/blog/bringyourbest-gregoire/.