มทร.ศรีวิชัย พัฒนาปลิงทะเลกาหมาด สู่ผลิตภัณฑ์อาหาร-เครื่องสำอาง
หมวดหมู่ : ตรัง, ทั่วไป, การศึกษา,
โฟสเมื่อ : 25 เม.ย. 2565, 14:19 น. อ่าน : 900 ตรัง - มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านพัฒนาปลิงทะเลกาหมาด
สู่ผลิตภัณฑ์อาหาร-เครื่องสำอาง
ปลิงทะเลกาหมาด
เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวลักษณะทรงกระบอกกลมคล้ายไส้กรอก
ลำตัวอ่อนนุ่มยืดหด ตัวได้ ปลายทั้งสองข้างเป็นช่องเปิดปาก และทวาร
ผิวหนังส่วนนอกยืดหยุ่นได้ดี ภายใต้ผิวหนังมีตุ่มเม็ดหินปูน กระจายอยู่ทั่วไป
มีหนามลักษณะคล้ายต้นไม้ล้อมรอบ ปลิงทะเลกาหมาดยังมีคุณสมบัติที่ดีหลายอย่างในการเป็นยารักษาโรค
ซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ชาวบ้านนิยมนำมาเป็นยาบำรุงกำลัง
บำรุงกระดูก รักษาแผล โดยวิธีการนำมาต้มและดองในน้ำผึ้งป่า
แต่วิธีการเหล่านี้ยังขาดงานวิจัยออกมารองรับ
ทำให้ รศ.ดร.ชุตินุช
สุจริต อาจารย์ประจำภาควิชาอุตสาหกรรมอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ได้สนใจทำการศึกษาวิจัยเรื่อง
“การนำภูมิปัญญาของปลิงทะเลกาหมาด เพื่อก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร
และเครื่องสำอาง” เพื่อนำภูมิปัญญาของปลิงกาหมาด มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
ด้านอาหารและเครื่องสำอาง สามารถส่งเสริมให้ชุมชนนำไปต่อยอดด้านธุรกิจ
จึงมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงาม ส่งเสริมการตลาดเผยแพร่สรรพคุณต่าง ๆ
ของปลิงกาหมาด ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งการดำเนินงานด้านการวิจัย
ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประจำปี 2563
รศ.ดร.ชุตินุช
กล่าวว่า ปลิงทะเลกาหมาด มีคุณสมบัติที่ดีหลายอย่างในการเป็นยารักษาโรค
มีโปรตีนประมาณร้อยละ 10-12 ไขมันร้อยละ 0.002-0.04
และเนื้อปลิงทะเลยังมีสารมิวโคโปรตีนที่ทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ปกติ
และยังมีระบบป้องกันตัวเมื่อเจอศัตรู โดยปล่อยเมือกเหนียวสีขาว หรือ
แบ่งเซลล์อวัยวะภายใน เช่น ลำไส้ และทางเดินอาหารออกมา
ซึ่งสารดังกล่าวนั้นมีกลไกออกฤทธิ์ทางชีวภาพ มีชื่อว่า สารโฮโลท๊อกซิน (Holotoxin)
มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อรา และทำให้การขยายเซลล์ของมะเร็งช้าลง
ซึ่งชาวบ้านนิยมนำมาเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงกระดูก และรักษาแผล
ทางทีมนักวิจัยจึงมีแนวคิดในการทำงานวิจัยชิ้นนี้
เพื่อนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญานำมาศึกษาเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์อาหาร
และเครื่องสำอาง
สำหรับการจับปลิงทะเลกาหมาด
ควรจับในเวลากลางคืน ช่วงข้างขึ้น หรือ ข้างแรม 15 ค่ำ ถนัดจากนั้นไปอีก 1-4 วัน
ต้องจับในน้ำลึก พบอยู่ใน 3-5 เมตร ในระดับน้ำปกติ สามารถหาได้สะดวก
เนื่องจากปลิงทะเลกาหมาดออกหากินในเวลากลางคืน โดยในการจับปลิงพบบริเวณแนวปะการัง
จะมีจุดสังเกตได้ง่าย ตาปลิงจะมีสีแดง คือตาของปลิงทะเลกาหมาดในตอนกลางคืน
โดยชาวประมงสามารถที่จะจับได้อย่างสะดวก แต่หากจับในเวลากลางวัน ต้องดูทิศทางน้ำ
ซึ่งในช่วงน้้ำลง สามารถที่จะหาปลิงได้ตามที่ต้องการ
ส่วนการทำความสะอาดปลิงนั้นสามารถล้างด้วยน้ำเค็ม
และนำลำไส้ปลิงทะเลออก เพื่อป้องกันการละลายตัวของปลิง
เพราะหากได้น้ำจืดปลิงจะทำการลอกคราบและละลายเป็นเมือก
หลังจากนั้นล้างด้วยน้้ำทะเล เพื่อทำความสะอาด ทิ้งให้สะเด็ดน้ำหลังจากนั้น
นำสารส้มมาทำความสะอาด
โดยการถูเพื่อให้ผิวหนังปลิงเรียบและช่วยในเรื่องกลิ่นเฉพาะตัวของปลิงลงลด
หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำที่สะอาดได้ เพื่อที่จะเตรียมในการที่จะแปรรูปอื่นๆ ต่อไป
จึงมั่นใจได้ว่ากระบวนการทั้งหมด
จะสร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคในการรับประทานได้
รศ.ดร.ชุตินุช
กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ได้นำปลิงทะเลกาหมาด มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร
และเครื่องสำอาง ประกอบด้วย ยำปลิงกาหมาด แกงคั่ว น้ำมันปลิงกาหมาด
ปลิงดองในน้ำผึ้ง ปลิงดองในเหล้าและสมุนไพร และปลิงแห้งใส่แคปซูล
นอกจากนี้ได้มีการการนำน้ำมันปลิงทะเลกาหมาดเป็นฐานในการพัฒนาสูตรเซรั่ม
เพื่อผิวพรรณที่ดีและน่าสนใจในการพัฒนาต่อยอด โดยได้นำมาพัฒนาต่อ 3 สูตร คือ
สูตรที่ 1 น้ำมันมะพร้าวที่เคียวปลิงทะเลกาหมาด สูตรที่ 2
น้ำมันมะพร้าวที่เคียวปลิงทะเลกาหมาด ผสมมันเทียนดำ และสูตรที่ 3
น้ำมันมะพร้าวที่เคียวปลิงทะเลกาหมาด ผสม สมุนไพรต่างๆ โดยจากการทดลองพบว่า
สูตรที่ 2 ได้รับการยอมรับและมีคุณสมบัติในการบำรุงผิวพรรณ
เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง
เนื่องจากเมืองของปลิงทะเลกาหมาดช่วยในการรักษาบาดแผลได้ดี
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปลิงทะเลกาหมาดพร้อมบรรจุภัณฑ์ ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาสูตรต่างๆ ให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยในอนาคตจะมีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดอย่างแน่นอน.