‘เดือนเต็ม’ วิศวกรขุดเจาะหญิงสุดแกร่งของเชฟรอน ฉีกกรอบความคิดสู่ความท้าทายในอาชีพสาขา STEM
หมวดหมู่ : ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 18 พ.ค. 2565, 15:17 น. อ่าน : 868 กรุงเทพฯ -
จากข้อมูลขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
สำนักงานภาคพื้นเอเชีย (USAID) แสดงให้เห็นว่า
ผู้หญิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีข้อจำกัดในการเลือกอาชีพของพวกเธอโดยเฉพาะในสาขา STEM (วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม โอกาสทางการศึกษาน้อยกว่าเด็กชาย
ขาดการแนะแนวและให้ความรู้ด้านวิชาชีพและผู้หญิงต้นแบบให้ยึดถือและเดินรอยตาม
รวมทั้งขาดความร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวในระดับภูมิภาค
เชฟรอน
ในฐานะหนึ่งในบริษัทพลังงานระดับโลกที่เชื่อในความสามารถและศักยภาพของผู้หญิง
อีกทั้งสนับสนุนให้ผู้หญิงรับหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อนองค์กรในตำแหน่งสำคัญมาโดยตลอด
วันนี้เราจึงจะพาคุณมารู้จัก คุณมูน “เดือนเต็ม วรเดชวิเศษไกร”
ผู้หญิงคนแรกในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการขุดเจาะหลุม (Wells
Manager) ของ บริษัท เชฟรอนเอเชียเซ้าท์ จำกัด และเป็นตัวแทนวิศวกรหญิงในประเทศไทยที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมพูดคุยในงาน USAID
E4SEA ภายใต้หัวข้อ Girls and STEM for
a Sustainable Energy Sector in Southeast Asia ตอกย้ำศักยภาพและความเป็นผู้นำของผู้หญิงในอาชีพสาขา
‘STEM’ ได้อย่างเด่นชัด
ด้วยการสนับสนุนของครอบครัว
แม้คุณพ่อหรือคุณแม่จะไม่เคยทำงานสาย STEM มาก่อน
แต่พวกเขาก็ไม่เคยปิดกั้นหรือมีความเชื่อในค่านิยมแบบเดิมๆ ที่ว่า
เด็กผู้ชายมีจุดแข็งด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากกว่า ในขณะที่เด็กผู้หญิงมีจุดแข็งด้านการใช้ภาษา
ซึ่งค่านิยมเหล่านี้อาจจะส่งผลให้เด็กผู้หญิงให้ความสนใจในการเรียนรู้ด้าน STEM
น้อยลงได้ ยิ่งไปกว่านั้น คุณครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เธอเล่าว่า
“สมัยประถมศึกษาไม่ได้ชอบวิชาคณิตศาสตร์เป็นพิเศษ
แต่พอย้ายมาเรียนชั้นมัธยมศึกษาได้เจอคุณครูที่ทำให้วิชาเลขเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายและเรียบง่าย
จึงเกิดเป็นความชื่นชอบในวิชานี้ จากที่ไม่ได้โดดเด่นด้านคณิตศาสตร์
ก็ทำได้ดีขึ้น”
นอกจากนี้
เธอยังมีพี่สาว ผู้ทำงานในอาชีพสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็น Role
Model หรือ ต้นแบบที่มีส่วนสำคัญในการสร้างประสบการณ์จริงและสร้างแรงบันดาลใจ โดยพาคุณมูนไปพบเจอประสบการณ์ที่ดีและน่าตื่นเต้นต่างๆ เช่น
การเยี่ยมชมเครื่องจักรในโรงงานกระดาษ “เรายืนอยู่หน้าเครื่องพวกนั้น
แล้วจินตนาการว่าตัวเองสามารถซ่อมเครื่องพวกนี้ แก้ปัญหาให้มันทำงานได้แบบสดๆ
ทันเวลาตอนนั้นเลย สำหรับเรามันน่าตื่นเต้นมาก
เป็นเรื่องสำคัญที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งได้มีโอกาสได้เห็นสิ่งต่างๆ
และจับต้องความฝันได้แบบเป็นรูปธรรม ทำให้เห็นว่าเรารู้ว่าเราอยากทำอะไรในชีวิต
ในอนาคตของเรา” คุณมูน กล่าวในงาน USAID E4SEA
จนกระทั่งความฝันเป็นจริง
เธอได้เข้าทำงานกับทางบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และเติบโตในสายนี้
จนได้รับการโปรโมทเป็นหนึ่งในผู้บริหารของ บริษัท เชฟรอนเอเชียเซ้าท์ จำกัด
ซึ่งที่เชฟรอน มีวัฒนธรรมองค์กรที่ให้คุณค่าด้านความหลากหลายภายในองค์กร (Diversity
and Inclusion) พร้อมทั้งสร้างโอกาสในการทำงานในแวดวงพลังงานให้กับผู้หญิงผ่านระบบขั้นตอนการทำงานและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดความพร้อมและความสบายใจ
แม้เพื่อนร่วมงานส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย แต่ก็ไม่เป็นปัญหา
ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนความเห็นและทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี
ทำให้งานดำเนินอย่างราบรื่นและเกิดเป็นผลสำเร็จร่วมกัน
“ถึงแม้วันนี้เราไม่ได้ทำงานในโรงงาน แต่เราได้ทำงานกับทางเชฟรอน เป็นงานที่เน้นการลงพื้นที่ เรายังเป็นคนเดิมที่มีความสุขกับการทำให้เครื่องจักรทำงาน เราอยาก ตัดสินใจ ช่วยแก้ปัญหาในหน้างาน และทำให้งานเดินต่อไปได้ สิ่งเหล่านี้เป็นจริงได้เพราะการสนับสนุนผู้หญิงให้มีโอกาสเข้าถึงงานในสาย STEM นั่นเอง”
ทั้งหมดนี้
จะเห็นได้ว่า ‘ผู้หญิง’ ก็สามารถเข้ามามีบทบาท เติบโต
และประสบความสำเร็จในอาชีพสาขา ‘STEM’ ได้
เพียงส่งเสริมให้มีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เชื่อมั่นในศักยภาพ
พัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
สั่งสมประสบการณ์ที่ได้รับพร้อมก้าวข้ามขีดจำกัดมุ่งสู่ความท้าทายในความสามารถ
และกล้าที่จะแสดงออกอย่างมั่นใจให้โลกรับรู้ว่า ‘ผู้หญิงก็ทำได้’.