กิจการซีพีเอฟ ในศรีลังกา มอบถุงยังชีพแก่ชาวบ้านวากาไลร สู้ภัยเศรษฐกิจ
หมวดหมู่ : ภาพข่าวสังคม, ต่างประเทศ-ทั่วไป,
โฟสเมื่อ : 8 ก.ค. 2565, 21:20 น. อ่าน : 1,168 ศรีลังกา -
นายวิชิต คงเขียว กรรมการผู้จัดการ Lotus Aquaculture Lanka
(Private) Ltd. นำคณะผู้บริหาร พร้อมด้วยภาครัฐและเอกชน
ร่วมมอบถุงยังชีพข้าวสารอาหารแห้ง มูลค่ารวม 900,000 รูปีศรีลังกา
ในโครงการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางในชุมชนวัทตาวัน
(Vattavan Village) ที่อาศัยอยู่รอบฟาร์มกุ้งของบริษัทฯ
จำนวน 200 ครอบครัว
ซึ่งเป็นประชาชนผู้มีรายได้น้อยจากการสำรวจของสำนักเลขาธิการกองวากาไลร
ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศศรีลังกา
โดยมีหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมกิจกรรม อาทิ ผู้บริหารบริษัท Vakarai Ocean
Aqua Cluster เลขาธิการกองข้าราชการ
เจ้าหน้าที่บริหารองค์การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งชาติ
และเจ้าหน้าที่หมู่บ้าน ณ บ้านพักเจ้าหน้าที่หมู่บ้านวัทตาวัน อำเภอวากาไลร
เขตชายฝั่งตะวันออก ประเทศศรีลังกา
“Lotus
Aquaculture Lanka เป็นกิจการในต่างประเทศ ของ บริษัท
เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจโรงเพาะฟักลูกกุ้ง
ฟาร์มกุ้ง และอาหารกุ้งในศรีลังกา บริษัทได้สนับสนุนให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ
แก่ประชาชนในชุมชนวัทตาวัน ที่เป็นพื้นที่ตั้งของสถานประกอบการ
โดยให้ความสำคัญกับสวัสดิการของพนักงานมาโดยตลอด
เมื่อชาวบ้านวัทตาวันประสบความเดือดร้อน
เผชิญความยากลำบากจากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน เราในฐานะสมาชิกของชุมชน
จึงริเริ่มโครงการเพื่อช่วยเหลือชาวชุมชนในเบื้องต้นอย่างทันท่วงที
โดยระดมทีมงานจิตอาสาจัดหาชุดบรรเทาทุกข์ ประกอบด้วยข้าวสารอาหารแห้งนำมาแจกจ่าย
เพื่อช่วยลดค่าครองชีพประชาชนแก่ชาวบ้านวัทตาวัน
ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ยากและร่วมกันฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” นายวิชิต กล่าว
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเป็นมิตรกับชุมชน โดยถ่ายทอดแนวทางดำเนินงานสู่บุคลากรทั่วโลก มุ่งส่งเสริมและปลูกฝังพนักงานทุกคนร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ สู่สังคม ดูแลชุมชน สานประโยชน์สร้างคุณค่า พัฒนา และตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ “หลักปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน” ที่ทุกคนยึดมั่น ประกอบด้วย ประโยชน์ต่อประเทศที่เข้าไปลงทุน ประโยชน์ต่อประชาชนของประเทศนั้น และประโยชน์ต่อบริษัท โดยเฉพาะในพื้นที่ประกอบกิจการของซีพีเอฟทั่วโลก ซึ่งมีทั้งโรงงานและฟาร์มที่ชาวซีพีเอฟสามารถใช้ขีดความสามารถของตนเอง ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้นควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน.