ซีพีเอฟ หนุน ศูนย์ FLEC สงขลา ผนึกความร่วมมือยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติในภาคประมง
หมวดหมู่ : ภาพข่าวสังคม, สงขลา, ทั่วไป,
โฟสเมื่อ : 3 พ.ค. 2567, 14:49 น. อ่าน : 367 สงขลา - ในวันแรงงานแห่งชาติ (National
Labor Day) ตรงกับวันที่
1
พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันที่ต้องการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ “แรงงาน” รวมถึง
แรงงานข้ามชาติ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย
สิ่งสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติให้ได้รับตามหลักสิทธิมนุษยชน
เพื่อสนับสนุนให้สังคมไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในระดับสากล
ด้านดูแลแรงงานและการจัดการปัญหาการค้ามนุษย์
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ
ซีพีเอฟ ในฐานะผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร
ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปกว่า 50 ประเทศทั่วโลก
มีนโยบายให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
โดยเฉพาะแรงงานได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และเป็นธรรม
ส่งเสริมและสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออก การเจรจาต่อรอง
และการได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
รวมทั้งให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางเพื่อต่อต้าน และยุติการค้ามนุษย์
แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก
ตลอดจนมุ่งขจัดการเลือกปฏิบัติและต่อต้านการคุกคามในทุกรูปแบบ
ซีพีเอฟ ยังได้ผนึกพลังกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ
เอกชน และประชาสังคม ร่วมดูแลแรงงานข้ามชาติบนเรือประมง ผ่านการจัดตั้ง
“ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา” หรือ ศูนย์ FLEC
(FLEC: Fishermen Life Enhancement Center) ตั้งแต่ปี 2559 ร่วมกับ 6 องค์กร ได้แก่ องค์กรสะพานปลา
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา
(บ้านสุขสันต์) บริษัท จี.อี.พี.พี. สะอาด (เก็บสะอาด) และ บริษัท พีทีที โกลบอล
เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
เพื่อปกป้องไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์
และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัวในทุกมิติ ทั้งด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สุขภาพ
การศึกษาของบุตรหลาน
ศูนย์ FLEC มีสำนักงานอยู่ในบริเวณท่าเทียบเรือประมงสงขลา
2 (ท่าสะอ้าน)
อ.เมือง จ.สงขลา
เพื่อให้บริการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบนเรือประมง
ท่าเทียบเรือสงขลา และครอบครัว
เป็นที่ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือแรงงานสามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆ
ตามหลักสิทธิมนุษยชน มีห้องปฐมพยาบาลให้แรงงานที่มีเวลาค่อนข้างน้อยได้มีทางเลือกในการตรวจรักษา
รวมถึงคัดกรองโรคเบื้องต้น
ห้องเรียนสำหรับลูกหลานของแรงงานได้มีความรู้อ่านออกเขียนได้
และสามารถเข้าเรียนในระบบการศึกษาของไทย
ตลอดจนจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ทักษะชีวิตและฝึกอาชีพเสริมให้แรงงานและครอบครัวเพื่อลดค่าใช้จ่ายครอบครัว
และส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง
รวมทั้งจัดกิจกรรมเก็บขยะแลกของใช้ในครัวเรือนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของแรงงานข้ามชาติในการดูแลสิ่งแวดล้อมทางทะเล
เป็นต้น
ตลอดระยะเวลา 8 ปีในการดำเนินงานของศูนย์ FLEC ได้มีส่วนช่วยแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในจังหวัดสงขลาได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม ตลอดจนเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงสิทธิต่างๆ
ทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษาของเด็ก เป็นต้น
ช่วยให้แรงงานและครอบครัวสามารถทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยด้วยความมั่นใจ
ช่วยลดความเสี่ยงด้านการค้ามนุษย์
ตลอดจนตกเป็นเหยื่อของการใช้แรงงานผิดกฎหมายในทุกรูปแบบ
นอกจากนี้ ศูนย์ FLEC
ได้มีบทบาทสำคัญช่วยส่งเสริมให้แรงงานบนเรือประมงได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
และได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว
นอกจากมีห้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ศูนย์แล้ว เจ้าหน้าที่ของศูนย์ FLEC
ยังลงพื้นที่ทำกิจกรรมเชิงรุกบนเรือประมงอย่างต่อเนื่อง
เพื่อช่วยให้แรงงานข้ามชาติที่ทำงานบนเรือประมงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องชีวอนามัยและความปลอดภัยจากการทำงานบนเรือประมง
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมทั้งสนับสนุนกล่องยาสามัญประจำเรือ
อำนวยความสะดวกแก่แรงงานข้ามชาติที่มีปัญหาการสื่อสารได้ใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นขณะทำงานอยู่กลางทะเล
รวมทั้งมีการอบรมอาสาสมัครคนประจำเรือ
เป็นแกนนำของกลุ่มแรงงานข้ามชาติสามารถช่วยปฐมพยาบาลและให้คำแนะนำการทำงานที่ปลอดภัยให้กับเพื่อนที่ทำงานอยู่บนเรือ
ศูนย์ FLEC เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการบูรณาการของซีพีเอฟ กับหน่วยงานรัฐ ประชาสังคม และองค์กรเอกชน เพื่อช่วยกันยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีแก่แรงงานข้ามชาติและครอบครัว ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อความเข้มแข็งของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนเป็นอีกแนวทางที่ช่วยขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงได้อย่างยั่งยืน.