ชาวสทิงพระจัดพิธี “ทำขวัญข้าว” ถวายพระแม่โพสพ เป็นกำลังใจเกษตรกร
หมวดหมู่ : สงขลา, ทั่วไป,
โฟสเมื่อ : 29 ส.ค. 2566, 13:30 น. อ่าน : 358สงขลา-ชาวอำเภอสทิงพระ จัดพิธี “ทำขวัญข้าว” หรือ ประเพณีทำหยามนา (ถวายแด่พระแม่โพสพ)เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจให้แก่เกษตรกร
เมื่อวันที่ 29 ส.ค.66 เวลา 10.30 น.นาย นัยฤทธิ์ จำเล ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นประธานเปิดพิธี “ทำขวัญข้าว” หรือ ประเพณี”ทำหยามนา” (ถวายแด่พระแม่โพสพ) ที่แปลงนาข้าว ม.1 ต.คลองรี อ.สทิงพระ จ.สงขลา โดยมี นายนราศักดิ์ ชุมแก้ว เกษตรอำเภอสทิงพระ ดร.วิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. นายสายัณห์ สวัสดิ์ยานนท์ นายก อบต.แดนสงวน นายประนอม คงสม ประธานขบวนการชุมชนสงขลา นายวิโรจน์ เอี่ยมสุวรรณ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดทั้งภาคใต้ ร่วมพิธี
สำหรับประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาแต่สมัยบรรพบุรุษของชาวนาไทย ที่นับวันจะจางหายไป จัดขึ้นโดยสภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา และเครือข่าย มุ่งเน้นให้เยาวชนได้เรียนรู้และสืบสานประเพณีไทยอันดีงามสื่อข่าวรายงานว่านายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นประธานเปิดพิธี “ทำขวัญข้าว”หรือ ประเพณี”ทำหยามนา” (ถวายแด่พระแม่โพสพ) ที่แปลงนาข้าว ม. 1 ต.คลองรี อ.สทิงพระ จ.สงขลา น ตามที่สภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา และเครือข่าย จัดขึ้น เห็นว่าประเพณีการ ทำขวัญข้าว หรือประเพณี หยามนา (ถวายแด่พระแม่โพสพ' ) นั้นเป็นภูมิปัญญาและพิธีกรรมที่ได้รับการสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนานของชาวสทิงซึ่งจัดเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมาแต่สมัยบรรพบุรุษ ประเพณีทำขวัญข้าว มีมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ซึ่งเป็นการประกอบพิธีกรรมเฉพาะภายในครอบครัวโดยมีผู้เฒ่าผู้แก่ในตระกูลเป็นผู้ทำพิธี และจากตำราที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
ปัจจุบันระบบการทำนาได้เปลี่ยนแปลงไป จากการทำนาเพื่อยังชีพ มาเป็นการทำนาเชิงพาณิชย์ มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตข้าวมากขึ้น ทำให้ประเพณีทำขวัญาวนั้นเริ่มหายไปจากปัจจุบัน ดังนั้นสภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา และเครือข่าย เห็นว่าภูมิปัญญานี้น่าจะมีการอนุรักษ์เอาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และสืบทอดเป็นมรดกของชาวสงขลาและชาวอำเภอสทิงพระสืบต่อไป จึงได้ร่วมกันจัดงานประเพณีทำขวัญข้าว หรือหยามนา ขึ้นในวันนี้ โดยมีกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ภายในจังหวัดสงขลาและประธานสภาเกษตรกรจังหวัดทั้งภาคใต้ ร่วมพิธี ร่วมทั้งประชาชนมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจให้แก่เกษตรกรได้ตระหนักในคุณค่ารักและหวงแหนวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นมรดกอันทรงมีคุณค่าต่อไป.