ซีพีเอฟ ได้รับเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (THSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
หมวดหมู่ : เศรษฐกิจ, ทั่วไป, กรุงเทพฯ, ภาพข่าวสังคม,
โฟสเมื่อ : 16 ธ.ค. 2563, 08:00 น. อ่าน : 1,392 ดร.ภากร ปีตธวัชชัย
กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) มอบโล่เกียรติคุณ
สำหรับบริษัทที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน หรือ Thailand Sustainability
Investment (THSI) ประจำปี 2563 ในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro
& Food Industry) แก่
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส
ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โดยซีพีเอฟได้รับคัดเลือกจาก SET ให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน
ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ภายในงาน SET AWARDS 2020 ณ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถนนรัชดาภิเษก
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์
รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า การได้เป็นหนึ่งในหุ้นยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ของซีพีเอฟ
ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
และการบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทนที่ดีทางเศรษฐกิจและการเติบโตต่อเนื่อง นอกจากนี้
รายชื่อหุ้นยั่งยืนยังถูกใช้เพื่อเป็นเกณฑ์คำนวณดัชนี SETTHSI
เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนพิจาณาลงทุนตามแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืน
ที่นำปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อม, สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG)
มาประกอบการตัดสินใจ
ซีพีเอฟ
กำหนดกลยุทธ์ความยั่งยืนระยะยาวในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน 3
เสาหลัก ประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่
ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable
Development Goals : SDGs) โดยในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ซีพีเอฟ
ได้ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมในหลายรูปแบบ เช่น การส่งมอบอาหารปลอดภัย
ให้ประชาชนในประเทศไทยและประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุนอีก 16 ประเทศทั่วโลก ขณะเดียวกันยังได้ยกระดับมาตรการป้องกันโรคในระดับสูงสุด
เพื่อดูแลสุขภาพพนักงานทุกคนให้ปลอดภัยจากโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง
ทำให้สามารถส่งมอบอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคทั่วโลกได้อย่างต่อเนื่อง
ในปีนี้มีบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนทั้งสิ้น 124 บริษัท เป็นบริษัทจดทะเบียนใน SET 114 บจ. และ mai 10 บจ. ซึ่งมาจากการเข้าร่วมตอบแบบประเมินความยั่งยืน ประกอบด้วยข้อคำถาม 19 หมวดครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ (รวมบรรษัทภิบาล) สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นวัดผลในด้านกระบวนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ประกอบด้วย การกำหนดนโยบาย การตั้งเป้าหมาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การวัดผลลัพธ์จากการดำเนินการ และการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท ซึ่งบริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนจะต้องมีคะแนนผ่านร้อยละ 50 ในทุกมิติ และผ่านเกณฑ์คุณสมบัติที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด.