ตรังลงนามเดินหน้า “SMAT Help Call Center” ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

หมวดหมู่ : ตรัง, ทั่วไป,

อ่าน : 654
เทศบาลตำบลโคกหล่อ จ.ตรัง โทรคมนาคม โครงการ SMAT Help Call Center
ตรังลงนามเดินหน้า “SMAT Help Call Center” ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

ตรัง-เทศบาลตำบลโคกหล่อ จ.ตรัง จับมือ โทรคมนาคม(เอ็นที) ลงนาม “โครงการ SMAT Help Call Center” ขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอัจฉริยะของ จ.ตรัง


      ผู้สื่อข่าวรายวานว่า เมื่อตอนสายวันที่ 22 ก.พ.2565 นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เป็นประธานและร่วมเป็นสักขีพยานลงนาม “โครงการ SMART Help Call Center” โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดำเนินการภายใต้นโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของจังหวัดตรัง “เมืองศรีตรัง” (Sri-trang City) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ ชั้น 3 อ.เมืองตรัง โดยมีนายธนกฤต ภูมิมาตร นายกเทศมนตรีตำบลโคกหล่อนายอภิรดี  อาษาพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มขายและปฏิบัติการลูกค้าภาคใต้ นายสิทธิพงศ์  อินทกาญจน์โทรศัพท์จังหวัดตรัง ร่วมลงนาม 


      โครงการดังกล่าว เทศบาลตำบลโคกหล่อ ได้รับการพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะผ่านการคัดเลือก ด้านที่ 3 การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) โครงการ Smart Help Call Center มีวัตถุ ประสงค์เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยการนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการขับเคลื่อน ด้วยระบบดูแลสุขภาพอัจฉริยะ ที่สามารถเชื่อมโยงการสื่อสาร อุปกรณ์ต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชั่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในการจัดทำฐานข้อมูลด้านผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงชราที่อยู่ตามลำพังและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการรับส่งผู้ป่วยได้รวดเร็ว แม่นยำ และสามารถส่งข้อมูลผู้ป่วยให้แพทย์หรือส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะวิกฤตอย่างทันท่วงที ซึ่งสอดคล้องกับที่จังหวัดตรังได้รับมอบตราสัญลักษณ์รับรองการเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะโครงการแผนพัฒนาเมืองศรีตรัง (Sri-trang City) จังหวัดตรัง


      สำหรับ โครงการ SMART Help Call Center เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารเทศบาลตำบลโคกหล่อ ภายใต้ สโลแกน “ยึดมั่นคุณธรรม นำความก้าวหน้า หัวใจคือประชาชน” Khoklor City ภายใต้กลยุทธ์Smart Health care : ระบบการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาเมืองในด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และสนับสนุนการเป็นเมืองที่มุ่งเน้นให้บริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับเขตพื้นที่รับผิดชอบและให้บริการสนามบินนานาชาติในอนาคต โดยเฉพาะการให้บริการและการส่งเสริมด้านสุขภาพให้ประชาชนได้มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ


       ทั้งนี้ยังมีการพัฒนาเพื่อส่งเสริมต่อยอดระบบปฏิบัติ Smart Help Call Center ดังกล่าวฯ ให้มีความสามารถในการใช้งานในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น การรับเหตุร้องเรียนเรียนฉุกเฉิน อุบัติภัย  ไฟไหม้ เป็นต้น และด้านความปลอดภัยของประชาชนด้วยการเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม การส่งเสริมให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการดำรงชีวิตแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนต่อไป


      ทางเทศบาลตำบลโคกหล่อ จึงได้ร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ กับบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติจำกัด (มหาชน) โดยมีความประสงค์เช่าระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน Smart Help Call Center เพื่อใช้เป็นช่องทางในการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินแสดงผลอัตโนมัติเป็นระบบ Call Center ทั้งด้านการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ เหตุเดือดร้อนรำคาญ ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่มีการบกพร่องทางร่างกาย ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ที่มีความเสี่ยงที่อาจจะได้รับอุบัติเหตุจากโรคประจำตัว และประชาชนทั่วไป 


      นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา  กล่าวว่า เราได้รับตราสัญลักษณ์ของเมือง Smart City หรือว่าศรีตรังสมาร์ทซิตี้ ซึ่งได้มีการมอบนโยบายให้กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการที่จะนำเรื่องของ Smart มาใช้ เรื่องของการบริหารทั้งในส่วนของราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วันนี้เทศบาลตำบลโคกหล่อ ได้ร่วมมือกับเอ็มทีหรือบริษัทโทรคมนาคม ออกรูปแบบเรื่องการทำ Smart Health Center เป็นตัวที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลโคกหล่อ โดยการออกเป็นแบบ Bigbang ที่จะสามารถดูแลกลุ่มคนเปราะบางกลุ่มคนผู้สูงอายุ ในการดูแลเชิงสุขภาพ 


      ทางเทศบาลตำบลโคกหล่อ แนะนำเรื่องฐานข้อมูลของพี่น้องประชาชนที่มีกลุ่มเปราะบางและผู้สูงอายุมาใช้เป็นฐานข้อมูล ซึ่งในข้อมูลนั้นสามารถจะทำเป็นริสแบนด์ให้กับผู้สูงอายุที่อยู่ที่บ้านได้  ถ้ากรณีผู้สูงอายุเจ็บป่วยเขาสามารถกดปุ่มเพื่อขอความช่วยเหลือจากทางเทศบาล และเทศบาลก็จะมีฐานข้อมูลของผู้สูงอายุอยู่ อาจจะเป็นเรื่องของโรคประจำตัว หรือการที่รับประทานยาเป็นประจำก็จะสามารถดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลโคกหล่อได้อย่างทันท่วงที เป็นการช่วยแบบอัจฉริยะ ตัวนี้สามารถดัดแปลง ในการแจ้งเรื่องอัคคีภัยแจ้งเหตุเตือนภัยอะไรต่างๆ 


      “เทศบาลตำบลโคกหล่อ โดยท่านนายกฯและทีมของ เทศบาลตำบลโคกหล่อ นับว่า เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ ในการที่จะนำเรื่องเทคโนโลยี เรื่อง AI มาช่วยการพัฒนาเมือง ตอนนี้โครงการนี้ทาง เทศบาลตำบลโคกหล่อได้จับมือกับMT บริษัทโทรคมนาคม เช่าอุปกรณ์และสัญญาณ ซึ่งมีการทดสอบระบบแล้ว จะทำได้ทันที หลังจากได้ลงนาม MOU ในวันนี้ ตกลงร่วมกันก็จะสามารถ ทำระบบนี้ได้เลย”นายขจรศักดิ์กล่าว


      นายขจรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ตอนนี้มีหลาย อปท.ได้เริ่มทำระบบนี้แล้ว นำเรื่องของ AI เรื่องของระบบที่จัดเก็บฐานข้อมูลของพี่น้องประชาชนในพื้นที่วางไว้ที่ตัวเทศบาลที่จะช่วยเหลือเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นด้านของสาธารณสุข เรื่องของคุณภาพชีวิต เรื่องการแจ้งเหตุเตือนภัยตอนนี้มีเทศบาลเทศบาล 1 ทำรูปแบบเหมือนกับเทศบาลตำบลโคกหล่ออยู่อีกหลายท้องที่ ต้องถือว่าพวกเราจะเป็นต้นแบบหนึ่ง ที่จะให้ท้องถิ่นอื่นได้ทำตามรูปแบบนี้


      อันนี้ถือเป็นนโยบายจังหวัดอยู่แล้วว่า จังหวัดตรังเองเป็นจังหวัดที่ได้รับการสัญลักษณ์ของเมือง smart city หรือ Sritrang city ตราสัญลักษณ์มีอายุ 2 ปี สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการที่เป็นสมาร์ทซิตี้มีดีเยอะแยะมากมาย ซึ่งสามารถของบประมาณจากกองทุนดิจิทัล กระทรวงดิจิตทัลได้ เป็นวาระจังหวัด


      นายขจรศักดิ์ เผยด้วยว่าได้มีการพูดคุยกับทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และเชื่อมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตตรัง ในการที่จะจับมือร่วมกันในการจัดทำเทคโนโลยีนี้ ซึ่งจังหวัดภูเก็ตได้เป็นจังหวัดนำร่องในการทำเรื่องนี้แล้ว ทางตรังจะนำเรื่องของการฐานข้อมูลของนักท่องเที่ยวที่จะมาท่องเที่ยวในจังหวัดตรังและจะลงเรือไปที่เกาะ ตรงนี้ก็จะเป็นฐานข้อมุลของนักท่องเที่ยวที่จะเก็บประวัติ ไม่ว่าจะเป็นอายุ เรื่องของฐานข้อมูล เรื่องของสุขภาพ อาจจะมีข้อมูลประกันภัยอยู่ด้วย หรืออาจจะมีฐานข้อมูลอื่น ๆ ทีมีความจำเป็นเพื่อจะสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว เมื่อนักท่องเที่ยวลงเรือจะมีความมั่นใจว่ามีระบบรักษาความปลอดภัย มีระบบติดตามตัวของนักท่องเที่ยวอยุ่ ซึ่งตรงนี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุจะมีการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หรือถ้าเกิดป่วยกะทันหันในกลางทะเลก็จะมีแพทย์หรือพยาบาลที่สามารถรู้ข้อมูลเมื่อขึ้นมาจากฝั่ง ที่จะช่วยเหลือในเรื่องของการรักษาได้ทันที


      ขณะนี้จังหวัดตรังมีศักยภาพในเรื่องของการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นด้านทะเลของธรรมขาติหลายแห่ง ซึ่งได้มอบนโยบายให้กับนายอำเภอและส่วนราชการให้ไปดูเรื่องของพื้นที่ที่มีจุดเด่นของการพัฒนา และขณะนี้มีหลายพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถพัฒนาให้เป็นมาตรฐานได้  และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ เช่น บ่อน้ำร้อน ที่อำเภอกันตังตรงนี้เราสามารถที่จะพัฒนาให้ทันสมัย มีระบบของอุณหภูมิ เรื่องของการปรับเปลี่ยนรูปแบบของบ่อ เรื่องของการนวดแผนไทย นวด สปาเข้าไปในการปรับปรุง และหลายพื้นที่ที่นำเทคโนโลยี เรื่องของ AI เข้าไปใช้ และเรื่องการพัฒนาจังหวัดตรังจะต้องมีการพัฒนาในเรื่องแหล่งท่องเที่ยว ควบคู่กับคุณภาพและมาตรฐานของคนด้วย สร้างความเข้าใจเรื่องของมัคคุเทศก์และเป็นเรื่องของความเป็นมืออาชีพ


      ส่วนจัตุรัสเมืองตรัง ที่ปรึกษาได้ออกแบบในเฟสที่ 1 และ 2 เสร็จแล้ว ในงบประมาณที่ขอจากกรมโยธาธิการจำนวน 50 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2565-2567 ซึ่งจะได้รับงบต่อเนื่อง โดยในปี 2565 ได้รับงประมาณ 10 ล้านบาท ตอนนี้ออกแบบเสร็จแล้วอยู่ในระหว่างหาผู้รับจ้างในการดำเนินงาน ส่วนเฟสที่ 2 จังหวัดได้ตั้งงบประมาณเรื่องของการสนับสนุนจำนวน 18 ล้านบาท เพื่อจะให้เฟส 1 และเฟส 2 เดินคู่กันไป คิดว่าภายใน 2 ปีหรืออย่างช้าภายใน 3 ปีจัตุรัสเมืองตรัง หรือลานกิจกรรมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของคนเมืองตรังด้านการท่องเที่ยวก็จะได้เห็นเป็นผลสัมฤทธิ์ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ หรือแลนด์มาร์คใหม่ของจังหวัดตรัง


      ด้านนายธนกฤต ภูมิมาตร นายกฯเทศมนตรีตำบลโคกหล่อ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการตามนโยบายเราต้องมีการสำรวจกลุ่มผู้อายุก่อน และตั้งงบประมาณ ได้ทำเรื่องจัดซื้อจัดจ้างเช่าอุปกรณ์ จะทำให้เร็วที่สุดประมาณช่วงกลางปีนี้.




อ่านข่าวที่เกี่ยงข้อง :