นิสิตเก่าจุฬาฯร่วมโครงการ “กระบี่สีขาว”ติดตามผู้บำบัดยาเสพติดทุกวัน

หมวดหมู่ : กระบี่, ทั่วไป,

อ่าน : 432
นิสิตเก่าจุฬาฯ เร่งบำบัดผู้ติดยา โครงการ “กระบี่สีขาว”
นิสิตเก่าจุฬาฯร่วมโครงการ “กระบี่สีขาว”ติดตามผู้บำบัดยาเสพติดทุกวัน

กระบี่-นิสิตเก่าจุฬาฯ ผนึกกำลังร่วมกับ จ.กระบี่ เร่งบำบัดผู้ติดยา แก้ปัญหาสังคม จัดทำโครงการ “กระบี่สีขาว” ติดตามการบำบัดรักษาทุกวัน เพื่อให้เลิกยาเสพติดได้สำเร็จ


นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผวจ.กระบี่ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่กระจายของยาเสพติดในพื้นที่ ส่งผลให้มีผู้เสพเพิ่มมากขึ้น และบางส่วนกลายเป็นปัญหา ทั้งการคุ้มคล้่ง ไล่ทำร้ายประชาชน คนในครอบครัว ซึ่งการนำกลุ่มผู้เสพเข้ากระบวนการบำบัด จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการ จ.กระบี่ จึงร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.กระบี่ ซึ่งมี นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ เป็นนายกสมาคมฯ จัดทำโครงการ "กระบี่สีขาว" ขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อร่วมกับหน่วยงานภาครัฐบำบัดผู้ติดยาเสพติด โดยเข้าไปในพื้นที่ และจัดกลุ่มผู้ป่วยมารับการรักษาครั้งละประมาณ 30 คน ทั้งนี้ สมาคมนิสิตเก่าฯ ถือเป็นอีกองค์กรที่มีบุคลากรสำคัญรวมกันอยู่ ทั้งที่เป็นแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา และจิตอาสาด้านต่างๆ ซึ่งบุคลากรของสมาคมฯ จะเข้าร่วมกับภาครัฐ ดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


โครงการกระบี่สีขาว จะเริ่มนำร่อง 3 ชุดแรก ทำการรักษาทุกวันจันทร์ พุธ พฤหัสบดี ชุดละ 30 คน รวม 90 คนในแต่ละชุดจะติดตามผลการรักษาทุก 7 วัน โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 ครั้ง มี น.พ.สมเกียรติ กิจธรรมเชษฐ์ ซึ่งเป็นนิสิตเก่าจุฬาคณะแพทยศาสตร์ มาเป็นหัวหน้าทีม โครงการกระบี่สีขาว เปรียบเสมือนเป็นคลีนิคเคลื่อนที่เข้าไปรักษาถึงในพื้นที่ โดยมี จนท.ของรัฐคอยจัดกลุ่มผู้ป่วย และกำกับดูแล อำนวยความสะดวกในพื้นที่ เป้าหมายเพื่อลดผู้ติดยาเสพติดในจังหวัดให้น้อยลง คืนคนดีสู่สังคม และสร้างสังคมของเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น


ด้านนางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ นายกสมาคมฯ กล่าวว่า หลังจากที่พี่น้องชาวจุฬาฯ ได้รวมตัวรู้จักกันในวันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา จึงมีความเห็นร่วมกันว่า ถึงเวลาที่เราจะรวมพลังรับใช้สังคมกัน ให้สมกับคำว่า “เกียรติภูมิจุฬา คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” จึงร่วมกับภาครัฐ ช่วยกันแก้ไขปัญหาการบำบัดผู้ติดยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วน ปัจจุบันปัญหานี้ขยายวงกว้าง และส่งผลต่อพวกเรามากขึ้นทุกวัน 


“ทางภาครัฐได้ให้ความสำคัญเป็นวาระแห่งชาติ สแกนหาผู้เสพยา จัดเป็นผู้ที่ต้องรับการรักษาบำบัด และจัดลำดับตามเกณฑ์ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง แต่เนื่องจากมีผู้ต้องรับการบำบัดเป็นจำนวนมาก การที่ทุกคนจะเข้ารับการรักษาตามโรงพยาบาลหรือคลีนิคอาจเป็นไปได้ยาก และไม่ทันการ หากล่าช้าอาจสร้างปัญหากับสังคมมากขึ้นทางสมาคมฯ จึงระดมศิษย์เก่าฯ ที่เป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดรักษา มาร่วมกันทำโครงการดังกล่าวซึ่งจะช่วยลดปัญหาจากผู้เสพในระยะยาว” นางสุภาเพ็ญกล่าว.




อ่านข่าวที่เกี่ยงข้อง :