ประมงสิงหนครประท้วงปิดท่าแพขนานยนต์จังหวัดสั่งรื้อโพงพางไม่ชดเชย

หมวดหมู่ : สงขลา, สตูล,

อ่าน : 305
ประมงสิงหนครประท้วงปิดท่าแพขนานยนต์จังหวัดสั่งรื้อโพงพางไม่ชดเชย
ประมงสิงหนครประท้วงปิดท่าแพขนานยนต์จังหวัดสั่งรื้อโพงพางไม่ชดเชย

สงขลา-ชาวประมงอำเภอสิงหนคร  300 กว่าคน ปิดท่าแพขนานยนต์  ภาครัฐไม่ให้ความเป็นธรรม การรื้อถอนโพงพางขอให้ทบทวนกฏหมายเพื่อปากท้องชาวบ้าน

มื่อวันที่ 26 พ.ค.67 เวลา  08.30 น  กลุ่มประมงโพงพาง กลางร่องน้ำในทะเลสาบสงขลา  ประมาณ  300  กว่าคนร่วมตัวที่บริเวณท่าแพขานยนต์ ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา  เพื่อหาทางแก้ไขให้หาทางออกรื้อถอนโพงพาง กลางร่องน้ำในทะเลสาบสงขลา หลังปิดประกาศรื้อถอน 15 วัน และ ครบกำหนด 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ด้านนักวิชาการและภาคประชาชน พร้อมเรียกร้องแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน รวมถึงการเฝ้าระวังในอนาคต แต่ทางหน่วยงานภาครัฐยังจับกุมชาวประมงสองคนเมื่อคืนที่ผ่านมาโดยไม่ได้เจรจากันเลย  โดยมีตัวแทนชาวประมงพูดคุยกับ นายไพเจน  มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และนายนพดล สุระสังวาลย์ นายอำเภอสิงหนครเพื่อหาทางออกและ รอพบผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจังหวัดสงขลา บูรณาการหลายหน่วยงาน เพื่อเตรียมรื้อถอนเครื่องมือประมงโพงพาง เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ออกจากแนวเขตร่องน้ำสงขลา ตั้งแต่บริเวณหัวพญานาคจนถึงท่าเทียบเรือประมงใหม่ (ท่าสะอ้าน) ในเขต อ.เมืองสงขลา อำเภอสิงหนคร   เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ ระยะทางกว้าง 300 เมตร ยาว 5,000 เมตร 24 ก.พ. รื้อถอนโพงพางผิดกฎหมาย "กลางทะเลสาบสงขลา เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ ระยะทางกว้าง 300 เมตร ยาว 5,000 เมตรโพงพาง ทะเลสงขลา กับปัญหาที่กำลังถูกแก้ไข มีการปิดประกาศให้เจ้าของโพงพางจำนวน 13 แถว จำนวน 158 ช่องได้รับทราบ เเละกำหนดให้รื้อถอนออกไปภายใน 15 วัน หลังครบกำหนดวันที่ 24 ก.พ.

กรณีกังกล่าวทำให้ถูกจับตามองว่า การแก้ปัญหานี้ภายใต้การนำของนายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าฯ สงขลา การแก้ปัญหาเครื่องมือประมงโพงพางในทะเลสาบสงขลา ควรต้องพูดคุยกันให้ชัดเจน หากรื้อถอนออกไปแล้ว หน่วยงานภาครัฐ ต้องมีการเฝ้าระวัง ดูแลร่องน้ำหลังการรื้อถอน เเละ ต้องใช้หลายศาสตร์ในการแก้ปัญหา    เมื่อปี 58  การรื้อโพงพางเมื่อปี พ.ศ.2558 การดำเนินการครั้งนั้น รื้อถอนโพงพางและจ่ายเฉพาะที่อยู่กลางร่องน้ำจริงๆ เพราะต้องการให้เรือวิ่งสวนทางไปมาได้สะดวก มิได้ทำการรื้อถอนทุกช่องโพงพางที่อยู่ในรัศมี 300 เมตรแต่ประการใดและไม่ได้จ่ายให้ทุกรายที่ร้องขอ

ดังนั้น จำนวนโพงพางที่รื้อและจ่ายเงินมีเพียง 32 ช่องเท่านั้น โดยรื้อถอนแถงโพงพางที่ปักยื่นเข้าถึงกึ่งกลางร่องน้ำ ซึ่งกีดขวางทางเรือเดิน บางแถวรื้อถอนออกเพียง 1-2-3 ช่องเท่านั้น มิได้รื้อหมดทั้งแถว เพราะเงินเยียวยามีไม่พอจ่ายทั้งนี้ เพื่อให้เรือวิ่งได้สะดวก และจ่ายเงินในราคาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่่กับขนาดโพงพาง และที่ตั้ง ซึ่งมีความลึกของร่องน้ำต่างกัน โพงพางปักซิกแซ็ก ทำให้เรือสินค้าและเรือของทางราชการวิ่งไม่ได้ เราต้องเปิดร่องน้ำให้เป็นทางตรง ให้เรือวิ่งได้สะดวก และปลอดภัย นอกจากโพงพางแล้ว ยังได้รื้อถอน และจ่ายค่าเยียวยาให้ไซนั่งที่อยู่ในแนวร่องน้ำจากท่าประมงใหม่ จนถึงสะพานติณสูลานนท์ จำนวน 124 ช่อง ๆ ละ 22,000 บาท

ด้านนายธำรงค์ เจริญกุล อดีต ผวจ.สงขลา กล่าวต่อว่า การดำเนินการในครั้งนั้น แล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนในการเดินเรือมานาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพ่อค้านักธุรกิจให้การช่วยเหลือเป็นเงินทั้งสิ้้น 11 ล้านบาท และตนได้จ่ายขณะดำเนินการให้ทุกราย และได้ให้ผู้รับเงินลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน เรื่องนี้หากหน่วยงานมี่เกี่ยวข้องไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หลังจากที่ผมเคลียร์ร่องน้ำเสร็จแล้ว และชาวบ้านก็รับเงินไปแล้วไม่มาปักโพงพาง และไซนั่งอีก ก็ไม่เป็นปัญหามาถึงวันนี้  ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา   ต้องหันมาจับเข่าพูดคุยแก้ปัญหาถึงแม้เป็นเครืองมือประมงที่ผิดกฏหมายก็ตามแต่เป็นอาชีพของชาวบ้านเรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายต้องหาทางออก.





อ่านข่าวที่เกี่ยงข้อง :