ป.ป.ช.ลงพื้นที่ตรวจสอบขับเคลื่อนโครงการ “โคบาลชายแดนใต้”
หมวดหมู่ : ทั่วไป,
โฟสเมื่อ : 31 ม.ค. 2567, 15:00 น. อ่าน : 317สตูล-สำนักงาน ป.ป.ช.สตูล ร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ช.ภาค 9 ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนโครงการโคบาลชายแดนใต้ในพื้นที่ พบเกษตรกรผ่านเกณฑ์เข้าร่วมเพียง 8 กลุ่มจาก 20 กลุ่ม ก่อนจะรวมรวบทุกประเด็นปัญหาอุปสรรคเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขต่อไป
เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2567 เวลา 09.30 น. ที่สำนักงานปศุสัตว์จ.สตูล นายธนกฤต เลิศวิริยะวรางกูร ผอ. ป.ป.ช.ประจำ จ.สตูล พร้อมด้วย กลุ่มประสานการป้องกันการทุจริตภาค 9 สำนักงาน ป.ป.ช.ภาค 9 และนายประสงค์ เรืองสวัสดิ์ ปศุสัตว์ จ.สตูล พร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลแกปปช.ประจำ จ.สตูลและปปช.ภาค9 ในโอกาสที่ปปช.ภาค 9 พร้อม ปปช.ประจำ จ.สตูล เดินทางติดตามประเด็นปัญหาการดำเนินโครงการโคบาลชายแดนใต้ในพื้นที่จ.สตูล หลังได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก ศอ.บต.
นายธนกฤต เลิศวิริยวรางกูร ผอ. ป.ป.ช.ประจำ จ.สตูล กล่าวในที่ประชุมว่า ตามที่ได้รับทราบการดำเนินโครงการโคบาลชายแดนใต้ เพื่อให้เกษตรกรใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้ผลิตโคที่ได้มาตรฐานสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพมีรายได้ที่มั่นคง อีกทั้งเพื่อให้โครงการฯ ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์และเกิดความยั่งยืนกับประชาชนในพื้นที่ จึงจำเป็นจะต้องติดตามด้านการป้องกันเฝ้าระวังเสาะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของโครงการฯ ว่าอยู่ในกระบวนการและขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ มีประเด็นใดบ้างที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้โครงการฯดำเนินต่อไปได้ด้วยความคล่องตัว
ขณะที่นายประสงค์ เรืองสวัสดิ์ ปศุสัตว์ จ.สตูล กล่าวว่า ในส่วนของ จ.สตูล เริ่มโครงการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2566 กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 20 กลุ่ม โดยเกษตรกรในพื้นที่ได้มีการรับโคมาเลี้ยงไว้ก่อนหน้าแล้ว แต่เมื่อดูตามหลักเกณฑ์และคู่มือที่กรมปศุสัตว์กำหนดออกมาพบว่ามีกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านหลักเกณฑ์เพียง 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีสมาชิก 10 ราย ขณะนี้ได้รับวัวพันธุ์พื้นเมืองลูกผสม ไปเลี้ยงกลุ่มละ 50 ตัว รวม 400 ตัว และได้เซ็นต์สัญญายืมเงินเพื่อนำไปบริหารจัดการภายในกลุ่ม ๆ ละ 1,550,000 บาท โดยสมาชิกกลุ่มจะมีส่วนร่วมรับผิดชอบหนี้ รายละ 155,000 บาทซึ่งเบิกจ่ายเงินกู้ยืมไปแล้วจำนวน 10,832,000 บาท โดยจะต้องชำระหนี้ภายใน 7 ปี คือ ปีที่ 4-7 ปีละ 25 %
ส่วนอีก 12 กลุ่มที่เหลือที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ เนื่องจากมีสมาชิกบางรายไม่เข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกู้เงินซึ่งคิดว่าหนี้ที่ก่อขึ้นจะอยู่ในความรับผิดชอบของประธานกลุ่มเพียงคนเดียว แต่สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ด้วยเงื่อนไขการชำระเงินจนทำให้บางรายไม่เข้าร่วม และ บางส่วนมีปัญหาเรื่องที่ดิน และอื่นๆ
ภายหลังการประชุมคณะเจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบตามคอกวัวต่างๆใน ต.น้ำผุด อ.ละงู จ.สตูลโดยพบว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์และสอบถามเกษตรกรที่เข้าโครงการไม่มีปัญหาอะไรวัวสมบูรณ์สุขภาพแข็งแรงตอนรับวัวมาเลี้ยงก็เป็นไปตามหลักเกณวัวได้คลอดลูกเพิ่มมาอีกจากเดิม 400 ตัวเพิ่มมาอีกนับร้อยตัวและเกษตรกรบอกว่าเจ้าหน้าที่ได้นำน้ำเชื้อพ่อวัววากิวไปฉีดให้กับแม่วัวที่เลี้ยง
นายธนกฤต เลิศวิริยะวรางกูร ผอ. ป.ป.ช. ประจำจ.สตูล ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ ปปช.ให้ความสนใจ โดยโครงการดังกล่าวเริ่มจากศอ.บต. ซึ่ง ศอ.บต.เป็นคนหางบประมาณมาช่วยเหลือประชาชน แต่บังเอิญว่าโครงการดังกล่าวไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ ในส่วนของปศุสัตว์เป็นในเรื่องของการตรวจรับคุณสมบัติและการจัดกลุ่มต่างๆสำหรับใน จ.สตูล มีกลุ่มที่ครบคุณสมบัติครบถ้วนและพร้อมดำเนินการมี 8 กลุ่ม ส่วนอีก12กลุ่มรวมตัวไม่ได้ติดข้อคุณสมบัติบางอย่าง ประเด็นปัญหาเราจะดูต่อเพื่อช่วยเหลือภาคเกษตรกรเนื่องจากวามีเกษตรกรบางกลุ่มหรือบางคนเขารับว่าไปแล้วตรงนี้ถ้าไปดูตามข้อเท็จจริงเป็นข้อตกลงระหว่างเกษตรกรกับบริษัทอันนี้ทางปปช.สตูลต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อส่งไปส่วนกลางเพื่อไปวิเคราะห์และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ด้านนายประสงค์ เรืองสวัสดิ์ ปศุสัตว์จ.สตูล กล่าวว่าโครงการดังกล่าวเพื่อให้เกษตรกรกู้เพื่อเลี้ยงวัวโดยเป็นวัวของเงินกู้กองทุนเกษตรกรให้เกษตรกรตั้งกลุ่มหนึ่งมี 10 คน โดยได้วัวคนละ 5 ตัวรวม 10 คนตกกลุ่มละ50ตัวพร้อมให้เกษตรกรลงทุนสร้างคอกให้ลงทุนซื้อวัววัวตัวละ 27000 บาท สร้างคอก 3.5 แสนแล้วก็ไปไปทำแปลงหญ้ากลุ่มละ 100,000 บาท และเกษตรกรจะได้รับการอบรมเรื่องการเลี้ยงวัวการดูแลสุขภาพโครงการดังกล่าวรับโครงการมาตั้งแต่เดือน ก.ค.66 พึ่งเข้าโครงการนั้นมาส่วนก่อนหน้านั้นตนเองก็ไม่ทราบเพราะเพิ่งเขาโครงการมาแต่พอรู้วัวเข้ามาก็ส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลด้านสุขภาพเพราะกลัวจะมีโรคเข้ามา ในกลุ่มที่ทางปศุสัตว์ จ.สตูล ต้องดูแลคือ 8 กลุ่มที่เขาทำสัญญาเป็นกลุ่มที่ปศุสัตว์จ.สตูลต้องดูแลโดย 8 กลุ่มดังกล่าวไม่มีปัญหาเกษตรกรเต็มใจที่อยากจะได้มา ส่วนกลุ่มที่มีปัญหาเขาก็อยากได้แต่ก็ให้ไปไม่ได้
นายอิบรอเหม เหมมุน ประธานกลุ่มเลี้ยงโคบ้านหัวควน ต.น้ำผุด อ.ละงู จ.สตูล กล่าวว่าทั้งหมดที่เซ็นสัญญาเข้าโครงการ 8 กลุ่มของอ.ละงู 7 กลุ่ม อ.มะนัง 1 กลุ่มสำหรับวัวที่รับสมบูรณ์และไม่มี่วัวตายวัวบางตัวออกลูกแล้วโดยใน8 กลุ่มมีวัวทั้งหมด 400 ตัวและยังไม่มีวัวตายและไม่มีปัญหาอะไรในการเลี้ยงวัวตอนรับวัวมาเลี้ยงก็เป็นไปตามที่ตกลงไว้.