ผวจ.นครศรีฯ แจกตุ๊กตาให้เด็กคลายกังวลฉีดวัคซีนโควิด-19
หมวดหมู่ : นครศรีธรรมราช, ทั่วไป,
โฟสเมื่อ : 8 ก.พ. 2565, 13:00 น. อ่าน : 671นครศรีธรรมราช-ผวจ.นครศรีธรรมราช ตรวจเยี่ยมให้กำลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่เด็กอายุ 5-11 ปี ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและต้องมาเรียนออนไซด์เป้าหมายฉีด 134,000 คน ได้วัคซีนมาล๊อตแรก 34,000 โดส เร่งฉีดให้ได้ตามเป้าหมาย พร้อมแจกตุ๊กตาช่วยให้เด็กคลายกังวล เด็กๆต่างดีใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้า 8 ก.พ. 2565 นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผวจ.นครศรีธรรมราช เดินทางไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเด็กอายุ 5-11ปี กลุ่มป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง มาเข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มแรก ที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช โดยมี นพ.ทรงเกียรติ เล็กตระกูล ผอ.รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช และคณะแพทย์พยาบาลให้การต้อนรับและนำตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแก่บรรดาเด็กๆโดยมีผู้ปกครองนำลูกหลานมาเข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์จำนวนมาก พร้อมกันนี้นายไกรศร ได้มอบตุ๊กตาให้กำลังใจบรรดาเด็กๆที่กำลังฉีดวัคซีน ด้วยบรรยากาศเป็นกันเองและถ่ายภาพกับบรรดาเด็กๆ เพื่อลดความตรึงเครียด ทำให้เด็กๆ ต่างดีใจกัน
นายไกรศร ผวจ.นครศรีธรรมราช กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า สำหรับการฉีดวัคซีนในเด็กใน จ.นครศรีธรรมราชเฉพาะเด็ก 5-11 ขวบ มีเป้าหมายอยู่ที่ 134,000 คน วันนี้ได้วัคซีนรอบแรกมาประมาณ 34,000 โดส วางแผนฉีดใน 5 สัปดาห์ให้แล้วเสร็จ ซึ่งเป้าหมายในการฉีด มีเป้าหมายสำคัญ 2-3 เป้าหมาย สำหรับเป้าหมายแรกอย่างที่รพ.มหาราช ในวันนี้ เป็นเป้าหมายเด็ก 5-11 ปีที่เป็นผู้ป่วยหรือเป็นผู้อ่อนแอ จะอยู่ในกลุ่มหนึ่ง เป้าหมายที่ 2 นักเรียนที่เรียนออนไซด์ เป้าหมายที่ 3 ใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ
ลักษณะของการดำเนินการเป้าหมายต่างๆ เริ่มต้นใช้ความสมัครใจของผู้ปกครองในการพิจารณา และใช้การประสานงานจากสถานศึกษาต่างๆ ส่วนการดูกลุ่มเสี่ยงให้ดูไปทางแพทย์ที่อยู่ประจำโรงพยาบาล เป็นผู้ประเมินสถานการณ์ว่าคนไหนเป็นคนเสี่ยงที่จะต้องเข้ามาในเป้าหมายที่ 3 ในการฉีด ที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราชในวันนี้จะเป็นเป้าหมายอ่อนแอหรือเป็นผู้ป่วย วางแผน 2 วันแรกก่อนประมาณ 220 กว่าคน วันละ100กว่าคน นโยบายแนวการปฏิบัติที่สำคัญกรณีฉีดผู้ป่วยวางไว้ 4 แนวทาง คือแนวทางที่ 1 คือก่อนฉีด แนวทางที่ 2 คือขณะฉีด แนวทางที่3 คือหลังฉีดและแนวทางที่ 4 คือดูเรื่องของเอกสาร การประเมินสถานการณ์คือลงละเอียดให้ชัดเจน ก่อนฉีดวันนี้ต้องบอกว่าเมื่อเป็นเด็กมีอาการแล้ว มีอาการป่วยและอ่อนแออยู่ การประเมินโดยกุมารแพทย์หรือหมอเด็กต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษต้องมีความรอบคอบ
แน่นอนว่ารู้ว่าวัคซีนผ่านการวิจัย ผ่าน อย.อะไรต่างๆ แต่ดูอาการที่สอดคล้องเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ อยากให้ว่าในการฉีดในผู้ป่วยเด็ก 5-11 ขวบที่อ่อนแอ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของกุมารแพทย์โดยตรงอย่างใกล้ชิด และเพิ่มก่อนฉีดอีกอันที่เป็นแนวทางปฏิบัติคือ 1.การให้กำลังใจการพูดคุยความอบอุ่นของผู้ปกครองต้องดูให้ดี ไม่ต้องการให้เกิดความระแวงอุปทานเป็นหมู่มาก เพราะเด็กมีความกังวลอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นการฉีดต้องมีกรรมวิธีพอสมควร 2.ในขณะฉีดก็เช่นเดียวกัน วันนี้เราต้องเอาบทเรียนต่างๆมาให้เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ได้ดูอย่างใกล้ชิด เช่น ขวดหนึ่งได้กี่โดส การรอการใช้เข็ม การใช้อุปกรณ์ต่างๆต้องให้ความสำคัญและเช็ครายละเอียด 3.หลังฉีดต้องมีการดูอาการจริงผมอยากให้ดูอาการมากกว่าครึ่งครึ่งชั่วโมงสักนิด ซึ่งการดูอาการไม่ใช่นั่งแล้วสังเกตการณ์อย่างเดียว
นายไกรศรกล่าวอีกว่า ได้ให้แนวทางว่า แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ต้องช่วยในการซักถามว่าเป็นอย่างนี้มั๊ยอย่างโน่นมั๊ยหนาวมั๊ย คืออาจจะต้องเอาสิ่งที่เป็นกังวลที่เป็นอุปสรรคหรือการข้างเคียงมาซักถามเพื่อความรอบคอบ ฉะนั้นกรรมวิธีในการดูของเด็กจะต้องเพิ่มเติมขึ้น และข้อ 4ให้เน้นการลงเวชระเบียนคนไข้ของเด็กให้ค่อนข้างละเอียด กรณีที่มีปัญหากระทบขึ้นจะได้หาสาเหตุหรือสมมุติฐานในการรักษาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น.