กรุงเทพฯ- “นิพนธ์ บุญญามณี” รมช.มหาดไทย ชี้แจงคณกรรมาธิการฯ ที่สภาผู้แทนราษฎร เตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง-อุทกภัย-ดินโคลนถล่ม
นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร ที่ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อเช้าวันที่ 17 มิ.ย.2563โดยมีนายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ประธานกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และสาธารณภัย เป็นประธานการประชุม พิจารณาศึกษาถึงแนวทางและมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประภัยแล้งกรณีเร่งด่วน และหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาแผนงานโครงการ ร่วมถึงงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไข เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อให้เกิดการแก้ไขที่เกิดประสิทธิภาพ
นายนิพนธ์ กล่าวว่าจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทยได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งอย่างต่อเนื่องและติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการสำรวจข้อมูลแหล่งน้ำและประมาณการใช้น้ำของแต่ละพื้นที่ ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร การอุตสาหกรรม และการรักษาระบบนิเวศ เพื่อเป็นข้อมูลพิจารณาแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิ
ภาพสูงสุด ซึ่งต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมากเพื่อให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอกับความต้องการของทุกภาคส่วน
P***สำหรับการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง นายนิพนธ์กล่าวว่าได้สั่งการให้ทุกจังหวัดดำเนินการ อาทิ การกำกับติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ และปัญหาการใช้น้ำของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้ประเมินสถานการณ์เป็นระยะอย่างต่อเนื่องและทันเหตุการณ์ การมอบหมายส่วนราชการ หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เตรียมกำลังคน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้พร้อมปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง การควบคุมการระบายน้ำ จัดสรรน้ำ โดยให้ความสำคัญกับการน้ำอุปโภคบริโภคเป็นลำดับแรก การติดตามการดำเนินการตามแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง โดยเฉพาะสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวนาปรัง โดยให้ควบคุมไม่ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการสนับสนุน พร้อมขอความร่วมมือไม่ให้เกษตรกรทำการปิดกั้นลำน้ำหรือสูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูก หากพื้นที่ใดมีความจำเป็นต้องสูบน้ำ ให้ปฏิบัติตามปฏิทินการสูบน้ำของกรมชล
ประทานอย่างเคร่งครัด
P****พร้อมกันนี้ได้ให้ดูแลการชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และให้ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน รวมทั้งเน้นย้ำให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ แลทราบถึงมาตรการบริหารจัดการน้ํา ของภาครัฐ รวมถึงเชิญชวนประชาชนในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมในการ ก่อสร้าง/ซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ําขนาดเล็ก เพื่อเป็นการปลุกจิตสํานึก ให้ประชาชน ใช้น้ําอย่างประหยัด และรู้คุณค่า.