ม.อ.ร่วมภาคเอกชน พัฒนางานวิจัยกัญชา กัญชง กระท่อม ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เชิงพาณิชย์
หมวดหมู่ : สงขลา, ทั่วไป, การศึกษา,
โฟสเมื่อ : 16 ก.พ. 2564, 20:00 น. อ่าน : 942 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดยสำนักวิจัยและพัฒนา จัดงาน “PSU Research Expo 2021”
รูปแบบออนไลน์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของอาจารย์นักวิจัยในภาคใต้
ในการขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนต่างๆ และรับทราบนโยบายด้านการวิจัยที่มีการปรับเปลี่ยน
โดยมี ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานเปิดงาน ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย
ศ.ดร.ธีระพล ศรีชนะ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา และคณะผู้บริหาร
คณาจารย์ นักวิจัย
ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงาน ณ ห้อง 210
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ผศ.ดร.นิวัติ
แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อนวัตกรรมและสังคม
เป็นกลไกหลักในการพัฒนางานวิจัยของภาคใต้และประเทศ งาน “PSU
Research Expo 2021”
เป็นการสร้างความเข้าใจในกระบวนการทิศทางเพื่อขอรับทุนวิจัยให้กับนักวิจัย
สนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายวิจัยที่มีการบูรณาการมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิจัยในภาคใต้
นำไปสู่การสร้างเครือข่ายวิจัย ผลงานวิจัย
และนวัตกกรรมที่มีประโยชนืต่อสังคมและภาคใต้
พร้อมกันนี้
ภายในงานยังจัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือทางด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และภาคเอกชน
ได้แก่
1.การลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการ
“การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตพืชกระท่อม” ระหว่าง บริษัท มาสเตอร์ แล็บส์
อินคอปอเรชั่น จำกัด อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อร่วมกันพัฒนาและวิจัยพืชกระท่อมที่มีศักยภาพและคุณประโยชน์ด้านการแพทย์
เพิ่มช่องทางที่จะใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยมี นายนำโชค โสมาภา กรรมการผู้จัดการ
บริษัท มาสเตอร์ แล็บส์ อินคอปอเรชั่น จำกัด ผศ.คำรณ พิทักษ์
ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร.ไชยวรรณ
วัฒนจันทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายสิทธิวัฒน์ งาดีสงวนนาม ผู้จัดการอาวุโส
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนายโด่งสยาม โสมาภา
ผู้จัดการทั่วไป บริษัท มาสเตอร์ แล็บส์ อินคอปอเรชั่น จำกัด ร่วมกันลงนาม
2.การลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการ
“การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตพืชกระท่อม” ระหว่าง บริษัท ออริจิน เทค
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อร่วมกันพัฒนาต่อยอดและขับเคลื่อนศักยภาพของพืชกระท่อมในการรักษาโรคต่างๆ
และร่วมกันสร้างนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ สังคม
เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติต่อไป โดยมี นายทรงกรต ปาลกะวงศ์ ณ อยุทธยา
กรรมการ บริษัท ออริจิน เทค ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ นายสิทธิวัฒน์ งาดีสงวนนาม
ผู้จัดการอาวุโส อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันลงนาม
3.การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดจาก
พืชกัญชา กัญชง กระท่อม และสมุนไพรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในทางการแพทย์แผนไทย
ระหว่าง บริษัท 420 (ประเทศไทย) จำกัด วิสาหกิจชุมชนศิริกันยา และคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี นายพิตติพรรธน์ ยิ่งกิจภิญโญ ผู้จัดการฝ่ายการเงิน
บริษัท 420 (ประเทศไทย) จำกัด นายภาณุวัฒน์ จึงแย้มปิ่น
ประธานวิสาหกิจชุมชนศิริกันยา นายชูชีวี ชีพชล
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง
และกระท่อมอย่างเป็นระบบ และอนุกรรมาธิการกัญชา รศ.ดร.อัญชนา ประเทพ
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ. ดร.พิมลศรี มิตรภาพอาทร
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ
ผศ. ดร.วิรัช ทวีปรีดา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ร่วมกันลงนาม
ทั้งนี้ งาน “PSU Research Expo 2021” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2564 กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ เรื่อง “การปรับตัวและเตรียมความพร้อมของนักวิจัยเพื่อขอทุนวิจัยของประเทศ” โดย ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.), การเสวนาพิเศษ เรื่อง “บทบาท PMU กับความก้าวหน้างานวิจัยของประเทศ” โดย หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU), การประชุมกลุ่มย่อย ประกอบด้วย 1.กลุ่มสุขภาพ การแพทย์ และดิจิทัล 2.กลุ่มวิศวกรรม พลังงาน และสิ่งแวดล้อม 3.กลุ่มเกษตร อาหาร และดิจิทัล 4.กลุ่มท่องเที่ยว มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, การจัดนิทรรศการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยในเครือข่ายภาคใต้ มากกว่า 50 ผลงาน และการประกวดรางวัลนวัตกรรมสงขลานครินทร์ ประจำปี 2563 รอบชิงชนะเลิศ อีกด้วย.