สถาบันทักษิณคดีศึกษา จัดงานวัน 'ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์' รำลึกปูชนียบุคคล
หมวดหมู่ : ภาพข่าวสังคม, สงขลา, ทั่วไป, การศึกษา,
โฟสเมื่อ : 17 ม.ค. 2565, 13:36 น. อ่าน : 879 สงขลา - สถาบันทักษิณคดีศึกษา ร่วมกับ มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา
มูลนิธิศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และ ครอบครัวศาสตราจารย์สุธิวงศ์
พงศ์ไพบูลย์ จัดงานวัน 'ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์' ประจําปี 2565 ณ
ห้องประชุมบ้านซูซูกิ อาคารพาไลพัฒนา สถาบันทักษิณคดีศึกษา ตําบลเกาะยอ
อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อรําลึกถึงคุณูปการ ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
และสืบสานแนวคิดการพัฒนาด้านคติชนวิทยาและวัฒนธรรมภาคใต้ เมื่อวันที่
14
มกราคม 2565
นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล ประธานมูลนิธิทักษิณคดีศึกษา
กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานว่า การจัดงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
ได้ถูกกําหนดให้มีขึ้นเพื่อรําลึก ถึงคุณูปการ ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
และสืบสานแนวคิดการพัฒนาด้านคติชน วิทยาและวัฒนธรรมภาคใต้ โดย
ตลอดชีวิตราชการในฐานะ “ครู” และผู้บริหารที่ทํางาน อย่างสร้างสรรค์ เห็นการณ์ไกล
เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ทําให้ศาสตราจารย์ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
มีลูกศิษย์มากมาย ตลอดถึงผลิตผลงานทั้งด้านวิชาการ และด้านสังคมเป็นจํานวนมาก บรรดาศิษย์และกัลยาณมิตรที่ระลึกถึงคุณงามความดีของท่านทั้งในฐานะครู
ทั้งในฐานะผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งยวดต่อวงวิชาการทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
มีความปรารถนาให้สังคมและวงวิชาการได้ตระหนักถึงคุณค่าความสําคัญของวัฒนธรรม
ท้องถิ่น และร่วมกันสืบสานเจตนารมณ์ของท่าน จึงจัดให้มีงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์
พงศ์ไพบูลย์ขึ้น โดยกําหนดให้ตรงกับวันที่ ๑๔ มกราคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิด
ของศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตร และผู้เข้าร่วมงานวางพวงมาลัยหน้ารูปเหมือนศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พระสงฆ์สวดพุทธมนต์ “ธรรมนิยามสูตร” พิธีมอบรางวัล และของที่ระลึก “ผู้มีส่วนขับเคลื่อนโนราสู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ” โดย รองศาสตราจารย์ ไพบูลย์ ดวงจันทร์ ประธานมูลนิธิศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ 1) นายพิทยา บุษรารัตน์ ประธานชมรมรักษ์ปักษ์ใต้ 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 3) นางสาวเบ็ญจวรรณ บัวขวัญ สํานักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ 4) นางสมศรี รักนุ้ย (อดีต) วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา กิจกรรมการปาฐกถา เรื่อง “โนราในสายตานาฏยสากล” โดย ศาสตราจารย์พรรัตน์ ดํารุง ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการเสวนา เรื่อง มโนราห์ ความเคลื่อนไหวในสังคมวัฒนธรรมและความร่วมสมัย โดย อาจารย์พิทยา บุษรารัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ นายอรรถพล ผอมคง รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ดําเนินรายการ โดย นายบัญชร วิเชียรศรี ส่วนกิจกรรมภาคค่ำ ณ ลานอาคารอาศรมศิลปกรรมทักษิณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มีการจัดงานงาน Chef's Table “อาหารถิ่น ในวิถีกินสังคมพหุวัฒนธรรม สงขลา”
รองศาสตราจารย์ไพบูลย์
ดวงจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและกิจการนิสิต สงขลา
มหาวิทยาลัยทักษิณ ในฐานะประธานมูลนิธิศาสตราจารย์สุธิวงศ์
พงศ์ไพบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์
พงศ์ไพบูลย์ ได้กําหนดให้มีขึ้นเพื่อรําลึกถึง คุณูปการของศาสตราจารย์สุธิวงศ์
พงศ์ไพบูลย์ ที่มีต่อประเทศชาติและสังคมอย่างสูง
และสืบสานแนวคิดการพัฒนาด้านคติชนวิทยาและวัฒนธรรมภาคใต้ โดยตลอดชีวิต
ราชการในฐานะ “ครู” และผู้บริหารที่ทํางานอย่างสร้างสรรค์ เห็นการณ์ไกล
เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวทําให้ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
มีลูกศิษย์มากมาย ตลอดถึงผลิตผลงานทั้งด้านวิชาการและด้านสังคมเป็นจํานวนมาก
เอกสารด้านวิชาการ ที่สําคัญ เช่น สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้
ท่านได้ริเริ่มงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภาคใต้ คือ
“ศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้” และเป็นผู้สถาปนาสถาบันทักษิณ คดีศึกษาขึ้น นอกจากงานสอนหนังสือ
ทั้งระดับปริญญาตรี โท เอก ทั้งสาขาภาษาไทย ไทยคดีศึกษา และวัฒนธรรมศึกษา
งานบริหารงานควบคุมปริญญานิพนธ์ งานกรรมการ งานวิทยากร งานเขียนบทความ
งานแต่งตําราวิชาการ ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ในฐานะเมธีวิจัยอาวุโส สกว.
ยังได้ทุ่มเทชีวิตให้กับงานวิจัยและสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่อย่าง ต่อเนื่อง
ผลิตผลงานทางวิชาการในฐานะเมธีวิจัยอาวุโส ออกมาเป็นจํานวนมาก ที่สําคัญ เช่น
โครงการพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้ โครงการแผนที่ภูมิทัศน์วัฒนธรรมภาคใต้
และโครงการภูมิปัญญาทักษิณจากวัฒนธรรมและพฤติกรรม จากการทุ่มเททํางานหนัก
ตลอดชีวิตของท่าน ส่งผลให้ท่านได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติมากมายทั้งในระดับชาติและ
ระดับนานาชาติ เช่น
- รางวัลพระเกี้ยวทองคํา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น
- รางวัลพระสิทธิธาดาทองคํา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะผู้บุกเบิกการศึกษาวัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคใต้
- รางวัลสงขลานครินทร์อนุสรณ์
จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะผู้ทําประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นภาคใต้
รางวัลอาเซียนอวอร์ด สาขาไทยคดีศึกษา รับรางวัล ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
-
รางวัลเชิดชูเกียรติจากสมาคมชาวปักษ์ใต้ในพระบรมราชูปถัมภ์
คนดีศรีปักษ์ใต้สาขาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
นอกจากนี้
ท่านยังได้รับรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งได้รับพระราชทานปริญ
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ดังนี้
ปี พ.ศ.2554 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปี พ.ศ.2547 ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ.2551 ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎียบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปี พ.ศ.1555 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ในฐานะที่ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งยวดต่อ วงวิชาการทางด้านวัฒนธรรมไทยภาคใต้ รวมไปถึงระดับชาติและนานาชาติ บรรดาศิษย์ และกัลยาณมิตรที่ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน จึงมีความปรารถนาให้สังคมและ วงวิชาการได้ตระหนักถึงคุณค่าความสําคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น และร่วมกันสืบสาน เจตนารมณ์ของท่านจึงจัดให้มีงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ขึ้น โดยกําหนดให้ ตรงกับวันที่ 14 มกราคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ คือ วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ณ ตําบลตะเครียะ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2560 ท่ามกลางความอาลัยของครอบครัว ญาติมิตร และศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีพิธี พระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติ ณ วัดแหลมทราย อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.2560 ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัยและพลังความดี ทั้งมวล ดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของท่านสถิต ณ แดนสัมปรายภพไปชั่วนิรันดร์กาล มรดกศิลปะและวัฒนธรรมสําคัญยิ่งใหญ่และล้ําค่าที่ท่านทิ้งเอาไว้ให้พวกเรา ชาวไทยภาคใต้ และชาวไทยได้ภูมิใจอย่างยิ่งสุดที่จะหาคํามากล่าวแทนได้คือ “สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ” หากนึกถึงศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ขอให้ดูผลงานทั้งหลายที่ท่านทําไว้ดังกล่าวมาแล้ว.