สมาคมผู้ค้าหมูภาคใต้ หาทางออกแก้วิกฤติหมูแพง ยันคุมราคาไม่เกิน ก.ก.ละ 110 บาท

หมวดหมู่ : นครศรีธรรมราช, ทั่วไป,

อ่าน : 585
หาทางออกราคาหมูสูง สมาคมผู้ค้าหมูภาคใต้
สมาคมผู้ค้าหมูภาคใต้ หาทางออกแก้วิกฤติหมูแพง ยันคุมราคาไม่เกิน ก.ก.ละ 110 บาท

นครศรีธรรมราช-สมาคมผู้ค้าหมูภาคใต้ประชุมเครียดนาน  3 ชั่วโมง หาทางออกราคาหมูสูง และหาทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยฟื้นกลับมา ยืนยันราคาไม่ให้ขึ้นเกิน ก.ก.ละ 110 บาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00น.วันที่ 10มค.2565 ที่ห้องประชุมออร์เดย์ ชั้น 1 โรงแรมสการ์เลท อ.เมืองจ.นครศรีธรรมราช ได้มีการประชุมนอกรอบสมาชิกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้และสมาคมผู้เลี้ยงสุกร จ.นครศรีธรรมราช เพื่อหาทางออกปัญหาราคาสุกรแพงในช่วงนี้ โดยมีนายสุรชัย   สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ นายปรีชา   กิจถาวร นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใค้และนายโสภณ   พรหมแก้ว นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร จ.นครศรีธรรม ราช และปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราชและผู้เกี่ยวข้องประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยมีการปิดห้องประชุมหารือกันเครียดนานเกือบ3ชม.


นายปรีชา  ถาวรกิจ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวภายหลังประชุมการประชุมว่า ในวันนี้ ทางสมาคมเองมีข้อสรุปว่า ทางสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ ได้มาประชุมสัญจรกันที่จ.นครศรีธรรมราช ประเด็นสำคัญก็คือมีความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรทั้งรายใหญ่ รายกลางและรายเล็กว่า พบปัญหาหลายๆด้านทั้งโรครุนแรงและต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ปัญหาเหล่านี้ก็พยายามจะร่วมมือกันแก้ไข เพราะว่าเรามีความพร้อมในระดับหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหา เราเจอปัญหาโรคที่คิดว่าอาจจะหนักหนา แต่ว่าก็จะพยายามร่วมมือกันและแก้ไขให้ผ่านลุล่วงไปด้วยดี และจะไม่กระทบกระเทือนกับผู้บริโภค เพราะถือว่าผู้บริโภคถือว่าเป็นผู้มีอุปการะ 


”ภาคใต้เรามีเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงสุกรเดิม2หมื่นราย ตอนหลังล้มหายตายจากไปพอสมควร ผมเชื่อว่าเกษตรกรในภาคใต้ยังมีความต้องการที่จะกลับมา หวังว่าภาครัฐจะรับฟังข้อเสนอของสมาคมและเข้ามาสนับสนุนเงินเซอร์ชาร์ทบางส่วนเพื่อที่จะมาเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยให้กลับเข้ามาในระบบต่อไป”นายปรีชากล่าว


ด้านนายโสภณ  พรหมแก้ว นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ส่วนปัญหาหมูที่หายไป50เปอร์เซ็นต์ทั้งแม่พันธุ์และลูกสุกร มันจะต้องใช้ห้วงระยะเวลาหนึ่งที่กลับฟื้นคืนมาให้ปกติ เพราะเราต้องยอมรับนะครับว่าใน2-3ปีที่ผ่านมากำลังการผลิตมันถดถอยเพราะว่าแม่สุกรได้รับความเสียหายมาก เพราะฉะนั้นลูกสุกรก็เสียหายไปจากระบบการผลิต จึงทำให้การผลิตสุกรขนาดนี้มันมีปริมาณจำนวนน้อย ไม่พอเพียงในการที่จะส่งเข้าตลาด จึงทำให้ราคาสูงขึ้น


นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้พูดในที่ประชุมว่าไม่ใช่เฉพาะภาคใต้มันเป็นทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นในภาคใต้จากที่ประชุมกัน คณะกรรมการทุกคนก็กำหนดกันว่า จะไม่ขึ้นราคาหมูเป็นไม่เกิน 110 บาท เพื่อต้องการที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร และผู้บริโภคจะเดือดร้อนไปมากกว่านี้ เพราะไม่อยากเป็นโจทก์ของสังคมว่าเมื่อสุกรมีชีวิตมีราคาสูง เดี๋ยวไข่ตามมาเดี๋ยวไก่ตามมาเพราะมาจากสาเหตุสุกรมีราคาสูงขึ้น นี่คือปัจจัยหลักที่คุยกัน


ปัจจัยที่2ก็คือเรื่องของโรคระบาด นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดว่า เราต้องยอมรับว่าพี่น้องเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านมาได้รับความเสียหายมากมาย บางเล้าต้องเลิกเลี้ยงไก่ ฉะนั้นทำให้สุกรในวงจรการผลิต พี่น้องเกษตรกรรายย่อยมันหายไป ยกตัวอย่างในจ.นครศรีธรรมราช มันหายไปถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องยอมรับว่าเมื่อมีน้อย ราคาจึงสูงขึ้น ฉะนั้นในภาพรวมของการประชุมวันนี้ เราต้องการให้พี่น้องเกษตรกรกลับมาใช้ชีวิตเป็นการเกษตรกรเลี้ยงสุกรต่อไป เราจะร่วมกันทำยังไงต่อไป สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหานี้เราคาดการณ์ว่าหลังจากแม่สุกรกลับมาฟื้นฟูใหม่และอีกอย่างหนึ่ง กว่าที่เราจะผสมได้ลูกมาขุนมันต้องใช้เวลา 


”ฉะนั้นผมคิดว่าในช่วง2-3ปีมันจะกลับมาสู่วงจรปกติ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือว่าเราจะทำยังไงไม่ให้ภาครัฐนำสุกรจากต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศไทย แต่นำเข้ามาเราก็ต้องมีการรับรู้ว่านำมาเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ นี่คื่อสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะให้พี่น้องเกษตรกรและพี่น้องผู้บริโภคไม่เดือดร้อน”นายโสภณกล่าวย้ำ


สำหรับมาตรการระยะสั้น ทางสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย ได้มีการพูดคุยกันว่าในส่วนของสุกรขุนที่มีชีวิตขณะนี้มันต้องมีการสับเปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ จ.นครศรีธรรมราชนำขึ้นไปสู่ภาคกลางเดือนหนึ่ง 7,500 ตัว โดยมีของบริษัทซีพี 4,000ตัว เบทราโก 3,500 ตัว เพื่อที่จะไปทดแทนในส่วนที่ขาดแคลน เยียวยาผู้บริโภคในส่วนของภาคกลาง นี่คือการแก้ไขปัญหาระยะสั้นไปก่อน พี่น้องประชาชนที่เคยทำอาชีพเลี้ยงสุกรจะต้องกลับมา โดยเฉพาะอย่างการกลับมาในครั้งนี้ต้องรอช่วงเวลาที่จะให้มีการปรับระดับเรื่องของวัคซีน เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่มันซ้ำซ้อน ทำให้สุกรเกิดความเสียหายเหมือนที่ผ่านมา




อ่านข่าวที่เกี่ยงข้อง :