สร้างจิตสำนึกในใจ หรือบังคับใช้กฏกติกา อะไรจะทำ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ได้ดีกว่ากัน
หมวดหมู่ : ไลฟ์สไตล์-บันเทิง, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 27 ก.ย. 2565, 17:45 น. อ่าน : 664 กรุงเทพฯ 27
กันยายน 2565 - สร้างจิตสำนึกในใจ หรือบังคับใช้กฏกติกา
อะไรจะดีกว่ากัน เป็นคำถามที่ ถูกใช้ในการแข่งขัน ในศึกโต้วาที Battle for
Better #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ด้วยญัตติที่ว่า
‘การสร้างจิตสำนึกในใจ ทำให้ไซเบอร์บูลลี่จบได้มากกว่า บังคับใช้กฏกติกา’
ซึ่งกำลังตั้งคำถามสำคัญกับเด็กและสังคมว่าภายใต้ประเด็นไซเบอร์บูลลี่ที่เด็กเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงจรแห่งการบูลลี่นั้น
พวกเขามีมุมมองและคให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่วามคิดเห็นอย่างไร ตามแนวทางด้านสิทธิมนุษยชน
เด็กทุกคนต่างมีสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับผู้ใหญ่
รวมทั้งสิทธิในการพูดและแสดงความเห็น รวมทั้งสิทธิด้านความเท่าเทียม สุขภาพ
การศึกษา สิ่งแวดล้อมที่ดี สถานที่ปลอดภัยเพื่อการดำรงชีพ
และการคุ้มครองให้ปลอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง
รวมถึงการถูกบูลลี่ทางออนไลน์ในโลกยุคใหม่
ฟาดฟัน ด้วยข้อมูล
งัดลีลาเด็ด สร้างจิตสำนึกในใจ หรือบังคับใช้กฏกติกา
ในเวทีการโต้วาทีครั้งนี้ ฝ่ายเสนอจากโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ ได้แปรญัตติจากมุมมองข้อเสนอที่เฉียบคม และข้อมูลที่อัดแน่นว่า การสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้อง สามารถแก้ไขปัญหาระยะยาวได้ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากตัวเรา การสร้างจิตสำนึกในใจ ทำให้ไซเบอร์บูลลี่จบได้มากกว่า เพราะจิตสำนึก เป็นความรู้สึกของคนที่มีอยู่ตลอดเวลา เป็นรากฐานของกติกา สร้างได้ง่ายกว่า จากครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ที่จะเป็นสำนึกในใจให้หยุดกลั่นแกล้งทำร้ายกันในโลกไซเบอร์ ในขณะที่กฏกติกาสร้างมาเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล ที่ต้องใช้เวลาสร้างกฏ ข้อบังคับ ต้องผ่านมติความเห็นชอบในการบังคับใช้ ทำให้ไม่ทันโลกอินเทอร์เน็ต
ในขณะที่ฝ่ายค้านจากโรงเรียนวัดปากบ่อ แสดงข้อมูลหักล้าง การใช้กฏกติกาก็อาจเป็นหนทางที่ชี้ความผิดถูก เป็นทางออกที่สร้างและปฏิบัติได้เร็วกว่า ในการแก้ปัญหาไซเบอร์บูลลี่ โดยเฉพาะการใช้กับคนไม่มีจิตสำนึก เพราะเราต้องใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ และไซเบอร์บูลลี่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เราจะอยู่กับมันอย่างไรให้สังคมเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์ พร้อมจัดเต็มกฏกติกา ทางออก จากข้อตกลงร่วม 23 ข้อ สัญญาใจ แนวปฏิบัติแก้ปัญหาไซเบอร์บูลลี่ ที่มาจากเสียงของวัย Gen Z กว่า 2 แสนคน มาเป็นข้อยืนยันของการใช้กฏกติกา ที่หยุดปัญหาไซเบอร์บูลลี่ได้ดีกว่า
“ผู้ใหญ่ก็ต้องเปิดใจ
เด็กก็ต้องรับฟัง การไม่รับฟังความเห็นของใครเลย ก็จะอยู่ยากในสังคม”
อีกญัตติที่น่าสนใจ ที่เปิดโอกาสให้ทีมผู้ใหญ่ กทม.นำโดย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ นายภิมุข สิมะโรจน์เลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เสนอความคิดเห็นในญัตติ “สร้างวัฒนธรรมออนไลน์ ผู้ใหญ่ต้องเปิดใจ เด็กรุ่นใหม่ต้องรับฟัง” โดยยกสุภาษิต เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด หรือผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ผ่านประสบการณ์มาก่อน แต่ไม่ถูกต้องแล้ว ในบริบทของวัฒนธรรมออนไลน์ เด็กเป็น Digital native ส่วนผู้ใหญ่คือ Digital migration ผู้ใหญ่ควรเปิดใจฟังเด็ก แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันให้มากขึ้น
โดย นายศานนท์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ย้ำปิดท้ายว่า “รู้สึกว่าเด็กกรุงเทพฯ นั้นเก่งมากๆ เป็นตัวแทนของหลายโรงเรียนได้ดีเลย และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า เวทีโต้วาทีสามารถเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต ไม่ใช่แค่ 2 โรงเรียนผู้ชนะ แต่สามารถที่จะจัดให้ทั่วถึงโรงเรียนในกรุงเทพฯ เพราะเด็กไม่ได้เป็นเพียงอนาคตของเมือง แต่ที่จริงแล้วเด็กยังเป็นปัจจุบันของเมืองอีกด้วย”
เวทีที่มอบโอกาสให้เยาวชน
#ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา
นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทค ขอแสดงความยินดี กับทีมโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ และ ทีมโรงเรียนวัดปากบ่อ รวมถึงทุกๆทีมที่เข้ามาร่วมกิจกรรมโต้วาที #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา และขอขอบคุณในความมุ่งมั่นตั้งใจฝึกฝนของนักเรียนทุกคน รวมถึงอาจารย์และโรงเรียนที่ช่วยกันสนับสนุน ให้นักเรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์ เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ไซเบอร์บูลลี่ ซึ่งสังคมควรเคารพถึงสิทธิ์ของเยาวชน ที่มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นอย่างเสรีและต้องรับฟังเสียงของพวกเขา”
ปีนี้เป็นปีแรก
ที่ดีแทคและสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้จัดกิจกรรมประจำปี โต้วาที #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ซึ่งมีนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 96 คน
สนใจส่งผลงานเข้ามาสมัครจำนวนมากกว่า 32
ทีม โดยทั้งหมดได้เข้าอบรมการเรียนรู้วิธีการโต้วาที ก่อนการแข่งขัน
ทั้งนี้ ดีแทคและกรุงเทพมหานคร จะจัดกิจกรรมนี้ในปีต่อๆไป โดยนำเอาประเด็นทางสังคมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา เป็นเวทีที่มอบโอกาสให้เยาวชน ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ประเด็น เข้าใจปัญหาไซเบอร์บูลลี่จากมุมมองด้านสังคม วัฒนธรรม และค่านิยมของคนต่างรุ่น และทักษะการสื่อสารเพื่อการโต้เถียงที่สร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมคนรุ่นใหม่ที่อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์บนโลกออนไลน์
โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ เขตจตุจักร คว้ารางวัลชนะเลิศ ในศึกโต้วาที Battle for Better #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค (ที่ 4 จากซ้าย) และ นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ที่ 5จากซ้าย) มอบโล่และเงินรางวัล ให้กับทีม โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ นายจุฑาวัชร์ บินตาสุระสีห์ เด็กชายปิยพัทธ์ นิยมสิทธิ์ และ เด็กหญิงไอลดา คุ้มตระกูล ทีมโรงเรียนวัดปากบ่อ เด็กหญิงศศิวรรณ สวยพริ้ง เด็กชายกวิน ช้างคำ และ เด็กชายธนากร พิมพ์โพธิ์ ในศึกโต้วาที Battle for Better #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ในญัตติ ‘สร้างจิตสำนึกในใจ ทำให้ไซเบอร์บูลลี่จบได้ มากกว่าบังคับใช้กฎกติกา’ ในงาน “BKK เรนเจอร์ รวมพลังเด็กเปลี่ยนเมือง” กิจกรรมที่ ดีแทค และ กทม.ร่วมเปิดพื้นที่ถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ สร้างศูนย์กลางการรับฟัง ให้เด็กและเยาวชนโรงเรียนใน กทม. ได้พูดแสดงทัศนะ ที่มีต่อญัตติ จากข้อตกลงร่วม 23 ข้อ สัญญาใจ แนวปฏิบัติแก้ปัญหาไซเบอร์บูลลี่
รับชมแมตช์โต้วาที Battle for Better
DTAC โต้วาทีสุดแข็งแกร่งเริ่มแล้ว > twitter.com/i/broadcasts/1