เกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม ซีพีเอฟ สร้างหลักประกันอาหารปลอดภัยในวิกฤตโควิด-19
หมวดหมู่ : ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 26 ส.ค. 2564, 20:44 น. อ่าน : 2,200 วิกฤตโควิด -19
เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ใส่ใจความปลอดภัยของอาหาร
ตลอดกระบวนการผลิตจนถึงมือผู้บริโภค เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มของซีพีเอฟ นอกจากเป็นอาชีพที่ไม่มีความเสี่ยง สร้างหลักประกันความมั่นคงในอาชีพแล้ว ยังสร้างหลักประกันความปลอดภัยในอาหารที่จะส่งถึงมือผู้บริโภคอีกด้วย
เกษตรกรที่ร่วมโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์
หรือคอนแทรคฟาร์ม กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ
บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า โควิด-19
ทำให้ยิ่งต้องเข้มข้นเรื่องมาตรการความปลอดภัยสูงกว่าเดิม นี่คือ
สิ่งที่พวกเราต้องปรับตัวเช่นกัน ถึงแม้ว่าอาชีพที่ทำจะมั่นคง ยั่งยืน
เป็นอาชีพที่สามารถส่งต่อสู่ลูกหลาน แต่ในสถานการณ์อย่างนี้ “ความปลอดภัย”
เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
เวทย์ ผิวพิมพ์ หรือ ลุงเวทย์ เจ้าของรัตนะฟาร์ม
ต.บ้านโข้ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ที่ผันตัวเองจากอาชีพทำนา เพราะผลผลิตและราคาข้าวที่ไม่แน่นอน
จึงตัดสินใจร่วมโครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสุุกรขุนกับซีพีเอฟ มาตั้งแต่ปี 2550
เป็นฟาร์มส่งเสริมแห่งแรกของอ.อู่ทอง
ตลอด 14
ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ลุงเวทย์มีโรงเรือนเลี้ยงสุกรขุน 9 หลัง ความจุรวม 6,000
ตัว ทั้งหมดควบคุมผ่านกล้องวงจรปิด ทำให้สามารถดูแลสุกรได้ทุกที่ทุกเวลา
และยังเป็นการลดการเข้าไปในโรงเรือน
ลดความเสี่ยงที่คนจะนำโรคเข้าฝูงสุกรได้เป็นอย่างดี
เพื่อเสริมความปลอดภัยในอาหารอีกขั้นหนึ่ง
ปัจจุบันลุงเวทได้ส่งต่ออาชีพให้ลูกชายเข้ามาดูแลสุกร จำนวน 6 โรงเรือน
ลุงเวทย์บอกว่า การร่วมโครงการกับบริษัทเป็นการการันตีถึงความมั่นคงในอาชีพ
การมีรายได้ที่แน่นอน และมีทีมงานมืออาชีพมาให้คำแนะนำดูแลใกล้ชิด
เพื่อให้เกษตรกรมีผลผลิตดีที่สุด โดยเฉพาะในวิกฤตโควิดที่ซีพีเอฟให้ความรู้ด้านการป้องกันโรคสำ
หรับบุคลากรภายในฟาร์ม และการป้องกันโรคสุกรต่างๆ ด้วยระบบไบโอซีเคียวริตี้ (Biosecurity)
เต็มรูปแบบ เพื่อให้คนปลอดภัยจากโควิดและสัตว์ปลอดโรค
“การร่วมเป็นคอนแทรคฟาร์มกับซีพีเอฟ
ไม่ต้องกังวลเรื่องตลาด เพราะบริษัทเป็นตลาดรองรับผลผลิตทั้งหมด
อาชีพนี้จึงไม่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะสถานการณ์โควิดเช่นนี้
เกษตรกรยังเดินหน้าอาชีพต่อได้ แต่เราก็ต้องเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยให้ดีกว่าเดิม
เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค” ลุงเวทย์ กล่าว
ส่วน พิทักษ์พงศ์
เนื่องแก้ว เกษตรกรรุ่นใหม่ วัย 24 ปี เล่าจุดเริ่มต้นการร่วมเป็นคอนแทรคฟาร์มว่า
เกิดจากการตัดสินใจของ พ่อไพบูลย์ และ แม่อิงอร เนื่องแก้ว
ที่ต้องการมีอาชีพที่มั่นคง
จากคำแนะนำของญาติที่ร่วมโครงการเลี้ยงสุกรกับซีพีเอฟอยู่แล้ว
จึงลงทุนทำฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์ 120 ตัว ในชื่อ หจก.อิงอรไพบูลย์ฟาร์ม ที่ ต.โคกสี
อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อปี 2544 จากนั้น ได้ขยายฟาร์มเพิ่มขึ้นจนเป็น 350 แม่ ในปี
2555
และมีผลประกอบการที่ดีมาโดยตลอดจนได้รับเลือกให้เป็นฟาร์มต้นแบบคอนแทรคฟาร์มของซีพีเอฟในภาคอีสาน
ที่เปิดรับคณะศึกษาดูงานทั้งไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
จากการที่พิทักษ์พงศ์เห็นความสำเร็จของพ่อแม่มาตลอด
และคลุกคลีกับการเลี้ยงสุกรมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มากว่า 18
ปี และ จึงตัดสินใจสร้างฟาร์มสุกรขุน หจก.พิทักษ์พงศ์ วิชุดา รุ่งเรืองฟาร์ม
ต.คูคำ อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น ของตนเอง 2 หลัง ความจุ 1,600 ตัว เมื่อปี 2563
ในรูปแบบสมาร์ทฟาร์มควบคุมการเลี้ยงผ่านระบบอัตโนมัติ
พร้อมติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อมอนิเตอร์สุขภาพสัตว์และตรวจสอบย้อนกลับกระบวนการเลี้ยง
“ความสำเร็จของครอบครัวผม
มีซีพีเอฟเป็นผู้ผลักดัน แม้ในวิกฤตโควิดอาชีพก็ไม่มีสะดุด
เพราะบริษัทให้ความรู้ทั้งเรื่องการป้องกันโรคคนและโรคสัตว์อย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ทำซีล (Seal) แก่พนักงานของฟาร์ม
ด้วยการจัดที่พักให้ภายในฟาร์ม
เพื่อช่วยป้องกันพวกเขาจากความเสี่ยงในการรับเชื้อโรคจากภายนอก
เป็นการยกระดับความปลอดภัยอีกขั้นหนึ่ง เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตสุกรที่มีคุณภาพ
ปลอดโรค ส่งต่อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ซึ่งพวกเราเกษตรกรทุกคน
ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างหลักประกันอาหารปลอดภัย
และเป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตอาหารให้ทุกคนได้บริโภคอย่างเพียงพอในทุกๆสถานการณ์”
พิทักษ์พงศ์ กล่าว
ด้าน เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่
วิง บุญเกิด หรือ ผู้ใหญ่วิง เจ้าของบุญเกิดฟาร์ม ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว
จ.สมุทรสาคร อีกหนึ่งเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมากว่า 23 ปี
กับอาชีพเลี้ยงไก่ไข่กับซีพีเอฟ นับจากที่หันหลังให้อาชีพเลี้ยงปลาช่อน
และการเลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระ ที่ตลาดมีความผันผวนสูงมาก
ต้องรับภาระความเสี่ยงด้านการตลาดเองทั้งหมด รายได้จึงไม่แน่นอน
เรียกว่าท้อจนเกือบถอย แต่มีซีพีเอฟยื่นมือเข้ามาช่วย
จนกลายเป็นเกษตรกรรุ่นบุกเบิก ในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่แบบประกันราคา
มาตั้งแต่ปี 2541
การตัดสินใจครั้งนั้น
ช่วยพลิกชีวิตจนสามารถปลดหนี้ที่ติดตัวมาก่อนกว่า 20 ล้านบาท ได้สำเร็จ
จากชีวิตที่ติดลบก็ยืนหยัดได้อย่างมั่นคง เพราะไม่ต้องเสี่ยงทั้งการผลิตและการตลาด มีบริษัทจัดหาพันธุ์ไก่ อาหาร
วัคซีนให้ในราคาประกัน พร้อมส่งสัตวบาลมาดูแลการเลี้ยงไก่ 50,000 กว่าตัว ใน 10
โรงเรือน และแนะนำการป้องกันทั้งโรคคน และโรคสัตว์อยู่ตลอด โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19
เราป้องกันเรื่องความปลอดภัยในระดับสูงสุด พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ที่สำคัญอาชีพนี้ยังสร้างโอกาสและศักยภาพของเรา ในการเป็น “ผู้ให้ โดยเฉพาะช่วงโควิด -19 โดยได้ใช้เงินทุนของตนเองและขอสนับสนุนจากซีพีเอฟบางส่วน นำไข่ไก่มาแจกให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่เดือดร้อน
ขณะที่ นาลอน หารวย เจ้าของนาลอนฟาร์ม ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ที่ตัดสินใจ ร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่กับซีพีเอฟ มาตั้งแต่ปี 2543 จากที่เห็นความสำเร็จของน้องชายที่เลี้ยงไก่ไข่กับบริษัท อยู่ก่อนแล้ว ประกอบกับอยากมีอาชีพอิสระ ที่เป็นเจ้านายตัวเอง ทำงานที่บ้านไม่ต้องทิ้งครอบคัวไปทำงานที่อื่น ได้อยู่กับพ่อแม่และลูกๆ จึงได้สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ 1 หลัง ความจุ 5,000 กว่าตัว โดยมีแรงงานของคนในครอบครัวช่วยกัน ตลอดระยะเวลา 21 ปีที่ผ่านมา มีซีพีเอฟคอยสนับสนุนในทุกๆด้าน เพื่อให้มีอาชีพให้มั่นคง มีรายได้ที่พออยู่ได้ มีอยู่มีกิน ไม่เดือนร้อน ในช่วงโควิดก็ยังทำอาชีพได้ต่อเนื่องไม่ได้รับผลกระทบ เจ้าหน้าที่ของบริษัทยังคงให้การดูแลและติดตามการเลี้ยง ให้ได้ผลผลิตคุณภาพ และเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยในอาหาร เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพส่งมอบให้กับลูกค้า ขณะเดียวกันนาลอนยังได้แบ่งปันให้กับชาวชุมชน โดยบริจาคไข่ไก่ที่ขอการสนับสนุนจากบริษัท สนับสนุน อบต. และสถานีอนามัย ซึ่งซีพีเอฟก็ยินดีช่วยในทุกๆ ครั้ง
ภาพความสำเร็จของเกษตรกรคอนแทรคฟาร์มของซีพีเอฟ
มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน เดินหน้าอาชีพต่อได้ในในสถานการณ์วิกฤต ยิ่งไปกว่านั้น เป็นการสร้างหลักประกันความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งบริษัทฯและเกษตรกรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยสู่ผู้บริโภค.