เครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์ต้านภัยยาสูบ กระตุ้นเตือนสังคมรู้เท่าทันอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า
หมวดหมู่ : ภาพข่าวสังคม, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 7 มิ.ย. 2566, 21:29 น. อ่าน : 654กรุงเทพฯ - เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ทพ.อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้จัดการโครงการเครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์ต้านภัยยาสูบ กล่าวใน งานเสวนา NONO WANNA KNOW SHORT FILM & LIVE TALK เนื่องใน วันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2566 ว่า ปัจจุบันมีนักสูบหน้าใหม่สนใจบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งๆ ที่อันตรายไม่ต่างจากบุหรี่มวน จึงควรมีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเข้มงวด ซึ่งจะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าไม่สามารถเข้ามาทดแทนบุหรี่ธรรมดาได้ เพราะการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 1 ครั้ง เท่ากับสูบบุหรี่ปกติ 4 มวน ถือว่าอันตรายกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดา และไม่ใช่ทางเลือกในการช่วยเลิกบุหรี่ธรรมดา ทันตแพทย์ ถือเป็นคนแรกที่เห็นรอยโรค รอยเนื้อเยื่อในปากที่อาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้
“ทันตแพทย์ได้ช่วยให้คนที่สูบบุหรี่เลิกบุหรี่ได้หลายพันคน
ช่วยคนที่เป็นรอยโรคและอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งในช่องปากได้
คนที่เลิกได้มีชีวิตที่ดีขึ้นช่วยให้ครอบครัวกลับมามีความสุขจากการเลิกบุหรี่
นอกจากนี้ ยังได้ช่วยให้ความรู้ที่ถูกต้องว่า การสูบบุหรี่ไม่สามารถช่วยลดน้ำหนักได้
ถือเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนที่อยากลดละเลิกบุหรี่
และยังคงรณรงค์อยู่สม่ำเสมอ” ทพ.อดิเรก กล่าว
ผศ.ดร.ทพ.ณัฐวุธ
แก้วสุทธา ประธานแผนงานย่อยที่ 4 สนับสนุนนโยบาย ยุทธศาสตร์
สถาบันการศึกษาปลอดบุหรี่และพัฒนาแกนนำนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
กล่าวว่า นิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ ได้สอบถามความคิดเห็นของตัวแทนนักการเมือง
สื่อมวลชน เด็กและเยาวชน เกี่ยวกับนโยบายบุหรี่ไฟฟ้า ระหว่างวันที่ 1-12 พฤษภาคม
2566 และรวบรวมความคิดเห็นนำเสนอในรูปแบบสารคดีสั้น “CHOOSE”
โดยไม่ตัดสินว่าแบบไหนดีหรือไม่ดี
แต่นำเสนอเพื่อให้ทุกคนเลือกในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
พร้อมทั้งส่งสัญญาณถึงผู้กำหนดนโยบายสุขภาพของประเทศว่าควรตระหนักถึงสุขภาพของเด็กและประชาชนก่อน
ซึ่งนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ขอให้รัฐบาลกำหนดถึงสุขภาพของประชนในประเทศมาก่อนสิ่งอื่น
ๆ โดยมีการประกาศเจตนารมณ์ พร้อมส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลใหม่
นพ.วันชาติ
ศุภจัตุรัส ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
กล่าวว่า คนรุ่นใหม่เป็นเป้าหมายใหญ่ของบริษัทบุหรี่ เพราะเป็นการขยายตลาด
สร้างรายได้ ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำ คือ ต้องรณรงค์ในกลุ่มนิสิตนักศึกษา
เพราะขณะนี้คนสูบบุหรี่อายุน้อยลงเรื่อยๆ โดยพบว่าอายุน้อยที่สุดคือ 6 ขวบ
โดยเฉพาะการขยายวงของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีการออกมาในรูปแบบใหม่ๆ
จึงจำเป็นต้องให้ความรู้กับเยาวชน เสริมสร้างเครือข่ายเยาวชน ให้เพื่อนช่วยเพื่อน
นิสิตนักศึกษาช่วยกันเอง โดยมีอาจารย์ช่วยเสริมความรู้เรื่องโทษพิษภัยบุหรี่
เป็นพี่เลี้ยง ทำงานร่วมกัน ขณะเดียวกันเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพต่างๆ
ก็จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับเยาวชน ด้วยการย้ำว่า บุหรี่เป็นยาเสพติด
การจะให้เลิกก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องพยายามให้ประชาชนได้รับความรู้มากที่สุด
เพราะใช้กฎหมายบังคับเพียงอย่างเดียวไม่ได้
สิ่งที่ทำมาแล้วสำเร็จคือให้ความรู้อย่างจริงจัง
ด้าน นายภูวนนท์
ชัยชนะอุดมกุล นิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ในฐานะประธานโครงการ NoNo No Smoking Rabbit กล่าวว่า
นิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ต้านภัยยาสูบ ได้ทำจดหมายเปิดผนึก
เรียกร้องให้รัฐบาลเข้มงวดนโยบายการห้ามการนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าและการจำหน่ายให้กับเยาวชน
โดยขอให้ 1.คงกฎหมายห้ามการนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าและจัดจำหน่าย (Totally Ban) โดยให้รัฐบาลคำนึงถึงโทษของบุหรี่ไฟฟ้าต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน 2.บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
โดยดำเนินคดีกับผู้ขาย โฆษณา สื่อสารการตลาดบุหรี่ไฟฟ้า
เพื่อป้องกันการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบและบุหรี่ไฟฟ้าที่ลักลอบจาหน่ายทางออนไลน์ให้แก่เด็กและเยาวชน
3.ขอให้รัฐบาลเร่งการปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าอย่างจริงจัง
และสนับสนุนการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในประเด็นพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าแก่สังคมทุกช่องทาง
นางสาวกันติชา ชุมมะ (ติช่า)
นักแสดงและอินฟลูเอนเซอร์ กล่าวว่า การสื่อสารให้เด็กและเยาวชนในยุคโซเชียลมีเดีย
เข้าใจเรื่องโทษพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในคนที่อายุน้อยกว่า 25 ปี
มีโจทย์สำคัญ คือ ข้อมูลที่จะส่งออกไปต้องสนุก
เข้าใจง่ายและสื่อสารไปถึงคนกลุ่มนี้โดยตรง หรือสื่อสารผ่านอินฟลูเอนเซอร์
ที่มีความใกล้ชิดกับคนรุ่นใหม่เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องโทษพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าอย่างแท้จริง.