เชิญพบกับบูธ "มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก" ในงานกาชาด 2566 ครบรอบ 100 ปี
หมวดหมู่ : ภาพข่าวสังคม, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 10 ธ.ค. 2566, 18:00 น. อ่าน : 403 กรุงเทพฯ - เริ่มแล้วงานกาชาดประจำปี
2566 “100 ปี กาชาด … รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” ระหว่างวันที่ 8-18 ธ.ค.2566
เวลา 11.00 - 22.00 น. ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ พบกับร้านพึ่งพาได้ที่บูธ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง
(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย พบกับสินค้าราคาพิเศษหลากหลายรายการ พบกับโปรโมชั่นพิเศษ
รับฟรี!! หน้ากากผ้าชุมชนเมื่อซื้อสินค้าภายในร้านครบ 300 บาท (ของที่ระลึกมีจำนวนจำกัด)
พบกับกิจกรรมตักไข่ทองคำ กิจกรรมทำบุญแถมได้ความสนุกและของรางวัลติดมือกลับบ้านด้วย
พบกับโซนนิทรรศการขนาดย่อม “สองพระมิ่งขวัญเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)” ที่คัดสรรเนื้อหาบางส่วนมาจากงานเพื่อนพึ่ง
(ภาฯ) 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รายได้สมทบทุนสภากาชาดไทย และมูลนิธิฯ
ขอขอบคุณที่ร่วมแบ่งปัน-พอเพียง-ยั่งยืน
มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง
(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นองค์กรการกุศลไม่แสวงหาผลกำไร
จัดตั้งตามพระดำริของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็น นายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเชื่อมโยงให้ภาครัฐ
เอกชน และชุมชน ร่วมกันเกื้อหนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามทุกข์ยากจากอุทกภัย
และภัยพิบัติที่รุนแรง อันได้แก่การร่วมกันระดมองค์ความรู้ นวัตกรรม กำลังแรงกาย
ทุนทรัพย์ และจิตสาธารณะ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างครบวงจร
รวมทั้งการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
รายละเอียดการดำเนินงานในปัจจุบันของทางมูลนิธิฯ
คุณฐิติวัฒน์ ว่องวรรณกุล กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิฯ ได้ให้เกียรติเล่าให้ทีมงาน
ฤๅ ฟังเกี่ยวกับภารกิจ และอัปเดตแนวทางการปฏิบัติงานของทางมูลนิธิฯ
ให้พวกเราได้รับทราบ โดยภารกิจของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
มีด้วยกัน 3 ด้าน คือ 1.การเฝ้าระวังก่อนเกิดอุทกภัย 2.การบรรเทาทุกข์ขณะเกิดอุทกภัย
3.การฟื้นฟูหลังเกิดอุทกภัย
ในส่วนของการเฝ้าระวังนั้น
ปัจจุบันนอกจากการขยายผลในประเทศไทยแล้ว ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา ทางมูลนิธิฯ
ยังได้ไปจัดอบรมและติดตั้งสถานีโทรมาตรที่ สปป.ลาว ด้วย
เพื่อลดความสุญเสียที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยและเพิ่มแหล่งน้ำใช้ในภาวะแล้ง
สำหรับในส่วนการบรรเทาทุกข์
ทางมูลนิธิฯ ได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ ค้นคว้าจัดหานวัตกรรม
เพื่อส่งเสริมให้งานด้านการบรรเทาทุกข์ได้ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น รวดเร็วขึ้น
ในจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสม ซึ่งทุกวันนี้ทางมูลนิธิฯ
ก็ได้มีการฝึกฝนอบรมทีมอาสาปฏิบัติการภัยพิบัติอยู่ตลอดเวลา
ภารกิจสำคัญอีกด้านคือภารกิจด้านการฟื้นฟูทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทั้งในเรื่องของ Big Cleaning หลังอุทกภัย หรือการเสริมสร้างอาชีพให้แก่ผู้ประสบภัย รวมถึงการจัดการฟื้นฟูแหล่งน้ำต่างๆ โดยทีมงานและทีมอาสาของมูลนิธิได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในภูมิภาคต่างๆ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และในการลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทุกครั้ง ทั้งพระองค์โสมฯ และพระองค์ภาฯ ได้ทรงปฏิบัติพระองค์เพื่อเป็นต้นแบบแก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ทรงทุ่มเททั้งกำลังพระวรกายและกำลังพระสติปัญญา โดยจะทรงคำนึงถึงผู้ประสบอุทกภัยเป็นหลัก
ทั้งหมดคือแรงบันดาลใจสำคัญของคุณฐิติวัฒน์
และผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงทีมอาสาของมูลนิธิฯ ทุกคนที่ได้ยึดถือเป็นแบบอย่าง
และมุ่งมั่นทำงานเพื่อประชาชนมาโดยตลอด
เพื่อสนองพระนโยบายที่พระองค์ได้พระราชทานไว้ตั้งแต่ต้นเกี่ยวกับการดำเนินงานของมูลนิธิฯ
นั่นคือการเป็น “ศูนย์กลางการเป็นเลิศด้านการบรรเทาทุกข์
และจัดการภัยพิบัติอันเกิดจากอุทกภัย” (Center of Excellence in
Flood Relief and Management) ในด้านสังคมและมนุษย์ ซึ่งนี่คือพันธกิจที่ทางมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง
(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ยืดมั่นอยู่ตลอดเวลาในการเป็นที่พึ่งพาแก่ประชาชนเสมอมาและจะตลอดไป.
คุณสายสม วงศาสุลักษณ์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิอาสา เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ให้การต้อนรับศิลปินวง BerryBerry.Trainee ใบเตย - มนสิชา ยกทอง, นีน่า - นพธีรา กุญแจทอง, เบบี๋-วรณัน พลยุทธภูมิ, บลายธ์ - ณัฏฐ์รัญศา ศิริลาภวิบูรณ์ ศิลปินคนรุ่นใหม่ในฐานะตัวแทนจากค่าย IdolExchange ที่มาร่วมกิจกรรมการกุศลกับร้านเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยากสภากาชาดไทย ในงานกาชาดประจำปี 2566