เปิดวิถีชีวิตยามไกลบ้านของพี่น้องแรงงานเมียนมาและกัมพูชาที่มาทำงานในไทย
หมวดหมู่ : ไลฟ์สไตล์-บันเทิง, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 28 พ.ค. 2567, 15:33 น. อ่าน : 327 กรุงเทพฯ - หลายปีที่ผ่านมาอาจสังเกตได้ว่า
มีพี่น้องแรงงานเมียนมาและกัมพูชาเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในหลากหลายกิจการทั้งเล็กและใหญ่
ซึ่ง สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เผยสถิติล่าสุดในเดือนเมษายน 2567
ว่ามีแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตทำงานในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 3,326,034 คน
โดยเป็นแรงงานชาวเมียนมา 2,302,459 คน และแรงงานกัมพูชา 448,967 คน
เห็นตัวเลขแล้วก็ไม่น่าแปลกใจ ที่เราต่างได้เห็นความหลากหลายในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น
จากการดูแลกลุ่มลูกค้าแรงงานเมียนมาและกัมพูชากว่า
88 เปอร์เซ็นต์ในตลาด
ทีมทำงานของทรูและดีแทคเดินตลาดสำรวจความต้องการของกลุ่มลูกค้า
เพื่อนำมาพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์อย่างต่อเนื่อง และมี Insights
ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตไกลบ้านของพี่น้องแรงงานต่างชาติทั้งเมียนมาและกัมพูชา
ที่ทำให้เราเข้าใจพวกเขาได้มากกว่าเดิม
ทำงานสู้ชีวิต
หาเงินเพื่อครอบครัว และเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
พวกเขามีความเชื่อในเรื่องการสู้ชีวิต
เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงให้คุณค่ากับการทำงานหนัก ขยันและอดทน โดยมีเป้าหมายที่จะหาเงินให้ได้มาก
ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้พวกเขาทำงานอย่างน้อย 6 วันต่อสัปดาห์ จากการเก็บข้อมูลพบว่า
แรงงานข้ามชาติมากกว่าครึ่งหนึ่งได้รับค่าจ้างเป็นแบบรายวัน
แต่โดยรวมแล้วมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประมาณ 12,424 บาท
ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าการทำงานในประเทศของพวกเขาเอง
โอนเงินกลับบ้านให้ครอบครัวเป็นประจำ
รายได้จากการทำงานพวกเขาจะเก็บออมและส่งเงินกลับไปให้ครอบครัว
ซึ่งอาจเป็นพ่อแม่ หรือลูกที่อยู่ในประเทศของตัวเอง
เพื่อให้นำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือเก็บไว้ซื้อรถ สร้างบ้าน
รวมถึงนำไปลงทุนในกิจการส่วนตัว เพราะพวกเขามักเป็นเสาหลักของครอบครัว รายงานจาก UNDP
เผยว่า
เงินที่ส่งกลับมาจากต่างประเทศเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของครัวเรือนในเมียนมาเสมอมา
เนื่องจากโอกาสในการทำอาชีพต่างๆ ลดลง และมีแรงงานออกจากประเทศมากขึ้น
สิ่งที่น่าสนใจคือ
การโอนเงินกลับบ้าน พวกเขายังเลือกใช้ช่องทางไม่เป็นทางการที่รู้จักกันในชื่อ
“โพยก๊วน” หรือการโอนส่งเงินระหว่างกันโดยอาศัยนายหน้า การศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า
แรงงานเมียนมาเลือกใช้ระบบนี้ เพราะคนรับเงินปลายทางสะดวกกว่า
จากการที่นายหน้านำเงินส่งให้ถึงบ้าน ไม่เหมือนกับการโอนผ่านธนาคาร
ที่ผู้รับเงินต้องเดินทางไปรับเงินเอง รวมถึงระบบนี้ไม่ต้องใช้เอกสารยืนยันใดๆ
เช่นเดียวกับ การศึกษาของ Regional Center for Social Science andSustainable Development (RCSD) ที่เผยว่า
แรงงานกัมพูชาเลือกส่งเงินจากไทยผ่านช่องทางไม่เป็นทางการ
เพื่อให้นายหน้าหรือญาติถอนเงินสดไปให้ครอบครัว
ระบบนี้ยังคงได้รับความนิยมเนื่องจากส่วนใหญ่รู้จักนายหน้าจากการแนะนำต่อกัน
และจากประสบการณ์ที่ได้รับเงินเต็มจำนวนตามที่ตกลงกันไว้
มีวันหยุด 1
วันต่อสัปดาห์คือ วันอาทิตย์ กิจกรรมยอดฮิตคือ เล่นอินเทอร์เน็ต
วันหยุดประจำสัปดาห์มีเพียงวันเดียวคือ
วันอาทิตย์ เนื่องจากพวกเขามักทำงานในกิจการที่เปิดทำการทุกวัน เช่น
พนักงานร้านค้า พนักงานร้านอาหาร คนงานก่อสร้าง พนักงานโรงงาน
รวมถึงงานรับจ้างต่างๆ
สำหรับกิจกรรมในวันหยุดเป็นไปอย่างเรียบง่าย
เน้นการพักผ่อน อยู่กับครอบครัว นัดเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน และเล่นอินเทอร์เน็ต
จากการเก็บข้อมูลพบว่า ประเภทของแอปพลิเคชันที่มีการใช้งานสูงสุด 6 อันดับ คือ 1.โซเชียลมีเดีย 2.สตรีมมิง 3.การเงิน 4.ออนไลน์ช้อปปิ้ง 5.เกม 6.การท่องเที่ยว
เมื่ออินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตและการพักผ่อนของพวกเขา
ค่าใช้จ่ายสำหรับการโทรและใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่พวกเขายินดีจ่ายอยู่ที่ประมาณ 200
บาทต่อเดือน โดยเลือกใช้เป็นแพ็กเกจแบบเติมเงิน
ทรูและดีแทคจึงได้มอบสิทธิพิเศษในการเล่นโซเชียลมีเดีย
และสตรีมมิงแอปได้ฟรีทุกเดือน เพียงมียอดการเติมเงินหรือใช้จ่ายต่อเนื่อง
จุดน่าสังเกตคือ
แต่เดิมนั้นลูกค้ากลุ่มนี้จะมีความเชื่อว่า
การซื้อซิมใหม่ทุกเดือนจะทำให้ได้เล่นอินเทอร์เน็ตที่มีความแรงมากกว่าการใช้ซิมเดิมต่อในเดือนที่
2 จึงมียอดการทิ้งซิมเดิม และซื้อซิมใหม่ในอัตราที่สูงมาก
อย่างไรก็ตามเมื่อลูกค้ากลุ่มนี้ได้ใช้ชีวิตในประเทศไทยนานขึ้น
ก็จะมีเริ่มเข้าใจการใช้งานและมียอดการทิ้งซิมเดือนต่อเดือนลดลง
ชอบทำบุญเป็นชีวิตจิตใจ
แรงงานชาวเมียนมาและกัมพูชาส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา
การไปวัดถือทำบุญจึงถือเป็นประเพณีสำคัญ แม้ย้ายมาทำงานในประเทศไทย
พวกเขายังคงนัดกันไปทำบุญตามวัดที่ศรัทธา ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจยามไกลบ้านเกิด
โดยอาจเป็นวัดที่มีพระชาวเมียนมาหรือกัมพูชาจำวัดอยู่ หรือวัดที่มีสถาปัตยกรรมหรือสิ่งปลูกสร้างที่พวกเขาคุ้นเคย ชาวเมียนมาหลายคนยังคงการแต่งตัวด้วยชุดประจำชาติไปวัดอีกด้วย
ในเพจเฟซบุ๊ก of
dtac Myanmar, True Myanmar, dtac Cambodia, and True Cambodia ที่ถือเป็นคอมมูนิตี้ของพี่น้องแรงงานจะมีปฏิทินบอกวันสำคัญทางศาสนาทั้งในไทย
เมียนมา และกัมพูชา ให้กับกลุ่มลูกค้าเป็นประจำทุกเดือน
อยากพูดไทยได้
และเขินอายที่ออกเสียงภาษาไทยได้ไม่ชัด
พี่น้องแรงงานเมียนมาและกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในไทยนานแล้วหรืออยู่ในเขตเมือง
จะเข้าใจและสื่อสารภาษาไทยได้คล่องแคล่ว
แต่ก็ยังมีส่วนหนึ่งที่ยังออกเสียงภาษาไทยไม่ชัด
ซึ่งก็ทำให้พวกเขารู้สึกเขินอายและไม่มั่นใจที่จะพูดกับคนไทย
พวกเขาจึงพยายามที่จะฝึกพูดภาษาไทยกับเพื่อน
รวมถึงการเรียนรู้จากคนไทยและสื่อบันเทิงของไทย อย่างไรก็ดี
พวกเขาก็อาจยังขาดทักษะในการอ่านหรือเขียนภาษาไทย
ซึ่งอาจมีผลทำให้เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างจำกัด
รวมไปถึงความก้าวหน้าทางอาชีพอีกด้วย
มี งานวิจัย พบว่า
การรู้ภาษาไทยจะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานเมียนมาโดยเฉพาะในเขตเมือง
เพราะทำให้พวกเขามีโอกาสได้งานทำมากขึ้นเมื่อเข้าใจสิ่งที่นายจ้างต้องการ
รวมถึงการได้ทำงานที่ใช้แรงงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับแรงงานที่พูดภาษาไทยไม่ได้
และหากมีทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยได้
พวกเขาจะได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีกว่า
จากความเข้าใจลูกค้ากลุ่มนี้
ทรูจึงได้ร่วมมือกับ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour
Protection Network) หรือ LPN เปิดสอนภาษาไทยพื้นฐานให้กับชาวเมียนมาที่สนใจเรียนรู้
ผ่านช่องทาง Live online ที่เพจเฟซบุ๊ก dtac Myanmar ซึ่งมีผู้ติดตามจำนวน 3 ล้านบัญชี และ True Myanmar ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า
6 แสนบัญชี ถือได้ว่าเป็น Community ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตและทำงานในประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น
รักพวกพ้อง
ไว้ใจเพื่อน และชอบความคุ้นเคย
พวกเขาชอบใช้ชีวิตเรียบง่าย
มีใจรักบ้านเกิดและพวกพ้อง
การที่ต้องมาทำงานไกลบ้านทำให้รวมตัวติดต่อสื่อสารกันในกลุ่ม
คำแนะนำจากเพื่อนที่มาอยู่ไทยก่อนเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
เรียกได้ว่า เพื่อนหรือคนใกล้ชิด เป็นผู้มีอิทธิพลต่อพวกเขาอย่างมาก เช่น
การเลือกแพ็กเกจใช้งาน พวกเขาจะไม่ได้เปรียบเทียบข้อเสนอเป็นหลัก
แต่มักเลือกใช้ตามกัน และเลือกตามงบที่จ่ายได้ต่อเดือน
นอกจากนี้
กลุ่มแรงงานต่างชาติชอบที่จะเลือกใช้สินค้าต่างๆ ที่เคยมีในประเทศของตัวเอง
เพราะมีความคุ้นเคย และไว้วางใจในสิ่งที่เคยใช้มาแล้ว Insight ที่น่าสนใจในประเด็นนี้
คือ กลุ่มลูกค้าแรงงานเมียนมาคุ้นเคยและวางใจแบรนด์ Telenor ตั้งแต่อยู่ในเมียนมา
เมื่อย้ายมาทำงานในไทยจึงเลือกค่ายที่คุ้นเคยก่อนเป็นอันดับแรก
ด้วยความเข้าใจ
ใส่ใจ และให้ความสำคัญของพี่น้องแรงงานชาวเมียนมาและกัมพูชา
ที่มาทำงานต่างบ้านต่างเมือง ทรู และดีแทค
จึงให้บริการพร้อมดูแลเคียงข้างอย่างรู้ใจ
ผ่านการพูดภาษาเดียวกันกับคอลเซ็นเตอร์ภาษาเมียนมาและกัมพูชา สร้างคอมมูนิตี้ในเพจ
Facebook
และ TikTok ในภาษาเมียนมาและกัมพูชา
เพื่อเป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสาร สร้างแรงบันดาลใจ
และมีคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์อย่างแท้จริง
พร้อมไปกับการมอบประสบการณ์การใช้งานที่คุ้มและตรงใจที่สุดกับแพ็กเกจที่คัดสรรให้ตรงความต้องการ โดยตั้งใจมอบให้ลูกค้าชาวเมียนมาและกัมพูชาได้มีความสุขในทุกวันที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย
อ่านบน True Blog : https://true.th/blog/th_lives-of-migrant-workers/