สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 วิกฤติไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจหดตัวมากขึ้น ทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทำให้กำลังซื้อ รวมทั้งอุปสงค์ภายในและต่างประเทศลดลง ภาคอุตสาหกรรมการผลิตลดลง
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา) รายงานภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 หดตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อน จากผลกระทบของการ แพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะในช่วงปลายไตรมาส ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทําให้ กําลังซื้อตลอดจน อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศลดลง
สะท้อนจากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หดตตัวสูงจากไตรมาสก่อน
ขณะที่การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวในเกือบทุกหมวดการใช้จ่าย โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาค บริการของนักท่องเที่ยวไทย ด้านการลงทุนภาครัฐหดตัวน้อยลง ตามการเร่งการเบิกจ่ายหลังประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2563 ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนทรงตัวในระดับตํา่ ในภาคเกษตร ผลผลิตหดตัวต่อเนื่องตามผลผลิตปาล์มน้ํามันที่ลดลงจากปริมาณน้ําฝนที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาห กรรมหดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน ตามคําสั่งซื้อยางพาราแปรรูปจาก ต่างประเทศที่ขยายตัวในช่วงต้นไตรมาสเป็นสําคัญ
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบมากขึ้น จากราคาอาหารสดที่ชะลอลงมาก ขณะที่อัตราการว่างงานหลังขจัดปัจจัยฤดูกาลลดลงจากไตรมาสก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้มีดังนี้
ผลผลิตเกษตร หดตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยผลผลิตปาล์มน้ํามันหดตัวต่อเนื่องจากผลของ ปริมาณน้ําฝนที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยและผลของฐานสูงจากการเหลื่อมฤดูกาลในปีก่อน ผลผลิตกุ้งขาวหดตัวมากขึ้น ตามการลงลูกกุ้งที่ลดลงในช่วงปลายปี 2562 เนื่องจากสัญญาณการบริโภคลดลงและราคาต่ํากว่าปีก่อน ขณะที่ ผลผลิตยางพารากลับมาขยายตัวเล็กน้อย ด้านราคาสินค้าเกษตรขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน จากราคา ปาล์มน้ํามันที่เร่งขึ้นมากเป็นสําคัญ ตามผลผลิตที่ลดลงและความต้องการใช้น้ํามันปาล์มเพื่อผลิตไบโอดีเซล B10 ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคายางพาราและกุ้งขาวหดตัวต่อเนื่องตามความต้องการของต่างประเทศที่ชะลอลงในช่วง COVID-19 สําหรับรายได้เกษตรกรกลับมาขยายตัวจากไตรมาสก่อนจากปัจจัยด้านราคาเป็นสําคัญ
จํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ หดตัวสูงจากไตรมาสก่อน จากผลกระทบของการแพรร่ ะบาดของ COVID-19 ทําให้หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยประกาศใช้มาตรการจํากัดการเดินทางระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงปลายไตรมาส ส่งผลให้นักท่องเที่ยวหดตัวในทุกสญั ชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนทหี่ ดตัวกว่า ร้อยละ60อย่างไรก็ดีนักท่องเที่ยวรสัเซียหดตัวเพียงเล็กนอ้ยโดยได้รับอานิสงสจ์ากช่วงต้นไตรมาสที่ชาว รัสเซียเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก2
การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน ตามการผลิตยางพาราแปรรูปและไม้ ยางพาราแปรรูปและผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวสอดคล้องกับการส่งออกในช่วงต้นไตรมาส โดยเป็นผลของปัจจัย ชั่วคราวจากคําสั่งซื้อที่เข้ามาในช่วงปลายปี 2562 นอกจากนี้ การผลิตถุงมือยางเร่งตัวตามความต้องการจาก ต่างประเทศเพื่อใช้ในการป้องกันโรคด้านการผลิตอาหารทะเลกระปอ๋งหดตัวน้อยลงตามการผลิตทนู่ากระปอ๋งที่ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตน้ํามันปาล์มดิบหดตัวต่อเนื่องตามปริมาณวัตถุดิบเข้าโรงงาน เช่นเดียวกบั การ ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปที่หดตัวตามความต้องการจากต่างประเทศที่ลดลงในช่วง การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ การผลิตที่ลดลงในหลายอุตสาหกรรมสอดคล้องกับมูลค่าการส่งออก ที่หดตัวต่อเนื่อง
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน กลับมาหดตัวสูงจากไตรมาสก่อน ตามการใช้จ่ายที่ลดลงในหลายหมวด สินค้า โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม สะท้อนถึงกําลังซื้อและความเชื่อมั่นในการบริโภคของครัวเรือนที่ลดลง จากผล ของการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะการใช้จ่ายในภาคบริการของนักท่องเที่ยวไทยที่หดตัวสูงในหลาย จังหวัด นอกจากนี้ การใช้จ่ายหมวดยานยนต์หดตัวมากขึ้นตามยอดจดทะเบียนรถทุกประเภท อย่างไรก็ดี การ อุปโภคบริโภคกลุ่มสินค้าในชีวิตประจําวันปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากปัจจัยชั่วคราวเรื่องการเร่งซื้อจากความกังวลต่อ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
การลงทุนภาคเอกชน ทรงตัวในระดับต่ํา โดยมูลค่าการนําเข้าสินค้าทุนหดตัวต่อเนื่องตามการนําเข้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ลดลงในอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปและผลิตภัณฑ์ ด้านยอดจดทะเบียนรถยนต์ บรรทุกส่วนบุคคลกลับมาหดตัว อย่างไรก็ดี เครื่องชี้การลงทุนในภาคก่อสร้างขยายตัวได้ ตามการขยายตัวของ พื้นที่อนุญาตก่อสร้างและปริมาณการจําหน่ายปูนซีเมนต์ สอดคล้องกับการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังมี การขยายตัวของพื้นที่อนุญาตก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และอาคารชุด ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การที่ผู้ประกอบการชะลอการเปิดโครงการใหม่ในช่วงระยะเดียวกันปีก่อน จากความกังวลเรื่องมาตรการ LTV ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 รวมถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม ความ ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยชะลอตัวจากไตรมาสก่อน
การใช้จ่ายภาครัฐ หดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน ตามการเร่งเบิกจ่ายหลังประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2563 ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยการเบิกจ่ายรายจ่ายประจํากลับมา ขยายตัวจากการเบิกจ่ายในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปของมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบการกํากับของรัฐบาล นอกจากนี้การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนหดตัวน้อยลงอย่างไรก็ตามรายจ่ายลงทุนในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสรา้ง ของหน่วยงานราชการบางแห่งยังคงหดตัวสูงรวมถึงเงินอุดหนุนเฉพาะกิจของกรมส่งเสรมิการปกครองท้องถิ่นที่ลดลงในหลายจังหวัด
เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ติดลบมากขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ -0.31 ตามราคา พลังงานที่ยังคงปรับลดลง ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางราคาน้ํามันดิบในตลาดโลก รวมถึงราคาอาหารสดชะลอลง มากจากไตรมาสก่อน สําหรับอัตราการว่างงานหลังขจัดปัจจัยด้านฤดูกาลอยู่ที่ร้อยละ1.5 ลดลงจากรอ้ยละ 31.8 ในไตรมาสก่อน ตามการจ้างงานภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแรงงานยางพารา สอดคล้องกับผลผลิต ยางพาราที่กลับมาขยายตัวในไตรมาสนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2563 เงินฝากคงค้างของสถาบันการเงินขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน ทั้งเงินฝากของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ด้านสินเชื่อคงค้างขยายตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน จากเงินให้กู้ของธนาคารพาณิชย์เป็นสําคัญ.