5 สถาบันร่วมเปิดหลักสูตรจัดการธุรกิจศิลปะและวัฒนธรรมเชิงท่องเที่ยว
หมวดหมู่ : ทั่วไป,
โฟสเมื่อ : 5 ส.ค. 2567, 09:48 น. อ่าน : 129รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พร้อมด้วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ร่วมแถลงข่าว ที่โรงแรมทวินโลตัส อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 2 ส.ค.2567 เรื่องความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ที่ได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน(CWIE) มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ เพื่อเปิดการเรียนการสอนในโครงการหลักสูตรพิเศษรวม 5 สถาบัน 1 หลักสูตร 5 ระบบ ภายใต้ชื่อ “หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต” ประกอบด้วย หลักสูตรการจัดการธุรกิจศิลปะและวัฒนธรรมเชิงท่องเที่ยว(มรภ.นครศรีธรรมราช)
สำหรับหลักสูตรตามโครงการดังกล่าวนักศึกษาสามารถเลือกเรียนสาขาตามความเชี่ยวชาญได้ 2 สาขาวิชา 2 ปริญญา มีระยะเวลาการศึกษา 3 ปี จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต เลือกได้ 2 สาขาวิชาเอก แบ่งเป็น 2 โมดูล คือ โมดูลวิชาแกน จำนวน 48 หน่วยกิต และโมดูลวิชาเฉพาะตามความเชี่ยวชาญ จำนวน72 หน่วยกิต โดยเลือกจาก 2 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.ทัศนากล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจในการผลิตบัณฑิต วิจัยและบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีการบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย องค์ความรู้นวัตกรรมเข้ากับการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยการวิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มุ่งเน้นบูรณาการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาท้องถิ่นตามสภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ ผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนให้มีคุณธรรมและความสามารถในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
“เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการเปลี่ยน แปลงเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเนื่องจากโครงการหลักสูตรพิเศษรวม 5 สถาบัน 1 หลักสูตร 5 ระบบ เป็นหลักสูตรใหม่ที่จะเริ่มดำเนินการภายหลังได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)”
รศ.ดร.ทัศนากล่าว.