เรือประมงเล็ก 30 ลำ ลอยลำปากอ่าวบารา เดือดร้อนจากกฎกระทรวง
หมวดหมู่ : สตูล, ทั่วไป,
โฟสเมื่อ : 22 ธ.ค. 2565, 16:00 น. อ่าน : 665สตูล-ชาวประมงขนาดเล็กที่ใช้เครื่องมือประมงพานิชย์นำเรือไปจอดลอยลำบริเวณปากอ่าวปากบารา เพื่อแสดงเชิงสัญลักษณ์ ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการกำหนดเขตทะเลชาวฝั่ง จ.สตูล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกกฏกระทรวงผวจ.สตูล แก้ปัญหา ให้ชลอการปราบปรามจับกุมระหว่างรอศาลปกครองคุ้มครอง
เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2565 เวลา 09.00 น.ได้มีชาวประมงขนาดเล็กที่ใช้เครื่องมือประมงพานิชย์นำเรือไปจอดลอยลำบริเวณปากอ่าวปากบารา หมู่ที่2 ต.ปาน้ำ อ.ละงู จ.สตูล จำนวน 30 ลำ แต่ไม่ได้ปิดอ่าว โดยเรือลำอื่นๆสามารถผ่านไป-มาได้ ทั้งนี้เพื่อแสดงเชิงสัญลักษณ์ เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการกำหนดเขตทะเลชาวฝั่ง จ.สตูล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกกฏกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณ จ.สตูล พ.ศ.2565 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2565 เพราะกฏกระทรวงฉบับดงกล่าวไม่ได้นำความคิดเห็นของชาวประมงและผู้ได้รับความเดือดร้อน ที่ได้เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นตามที่สำนักงานประมง จ.สตูลได้เชิญประชุมทั้ง 3 รอบนำไปพิจารณา ทำให้ชาวประมงโดยเฉพาะเรือประมงพื้นบ้านและเรือประทงขนาดเล็กที่ทำการประมงชายฝั่งไม่สามารถออกทำการประมงได้ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และสุ่มเสี่ยงต่อการประทำผิดกฏหมาย จะส่งผลให้ได้รับโทษและเสียค่าปรับที่รุนแรงทางชาวประมงดังกล่าวจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนและหาแนวทางแก้ไขปัญหากฏกระทรวงเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณพื้นที่ จ.สตูลต่อไป
ต่อมามีชาวประมงประมาณ100คน นำโดยนายวรวิทย์ หมีนหวัง ร่วมประชุมหารือบริเวณอ่าวเต๊ะปัน หมู่ที่2 ต.ปากน้ำ อ.ละงู เพื่อหาข้อยุติ กับ น.ส.ธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงาน จ.สตูล นายธานี หะยีมะสาและ นายอำเภอละงู ,นายประชิด ตรีพลอักษร รักษาการประมง จ.สตูล,นายสมเกียรติ เลียงประสิทธิ์ นายกสมาคมประมงจ.สตูล
นายประชิด ตรีพลอักษร รักษาการประมง จ.สตูล กล่าวหลังประชุมหาข้อยุติว่า สำหรับปัญหาดังกล่าวสืบเนื่องมาจากชาวประมงพื้นบ้านที่มีเครื่องมือประมงพานิชย์โดยเฉพาะเรือจับปลากะตักในเขตทะเลชายฝั่ง มีการกำหนดเขตขึ้นมาใหม่ไปครอบคลุมพื้นที่ที่เขาเคยจับปลากะตักอยู่ เดิมเป็นเขตทะเลชายฝั่งที่ต้องใช้เครื่องมือเป็นเรือขนาด 10 ตันครอส แต่ใช้เครื่องมือที่ใช้ประมงพานิชย์ก็ไม่สามารถจับในตรงนี้ได้ ทำให้เกิดปัญหาเดือดร้อนขึ้นมาและมีการร้องเรียนขึ้นมา
ทั้งนี้จากการที่กรมประมงได้มีหนังสือขึ้นมาตามมาตรการนี้ ทำให้ทุกหน่วยงานของกรมประมงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ รวมทั้งประมงจังหวัด และหน่วยบริหารจัดการประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ ประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้ชาวประมงได้รับทราบถึงปัญหาต่างๆ แต่ชาวประมงไม่มั่นใจจึงมาร้องเรียนทางสมาคมประมง จ.สตูล
ทางสมาคมประมง จ.สตูล เห็นว่าได้รับความเดือดร้อนจริง จึงจะไปร้องศาลปกครองขอให้คุ้มครองชั่วคราวภายใน 1 เดือน แต่ในส่วนจ.สตูล ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยนายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผวจ.สตูล สั่งให้มีการประชุมถึง 4 ครั้งภายใน 2 วัน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ และมีข้อกำหนดออกมาถึงทุกส่วนราชการที่มีเกี่ยวข้องกับการปราบปราม ให้ประกาศประชาสัมพันธ์ให้ผ่อนผันการใช้กฏหมายไปก่อน เพื่อให้ชาวบ้านและชาวประมงรับทราบกฏหมายฉบับนี้โดยใช้หลักเมตรตาธรรมคุณธรรมให้แก่ชาวประมงใช้หลักรัฐศาสตร์ควบคู่ไปกับหลักนิติศาสตร์
แต่ว่าเน้นรัฐศาสตร์เพื่อให้ทุกคนได้ประโยชน์ไม่เดือดร้อนให้เวลาใน 1 เดือน ระหว่างรอคำสั่งคุ้มครองจากศาลปกครอง แต่ว่าหากมีคำสั่งศาลคุ้มครองขึ้นมาแล้ว ก็จะแก้ปัญหามติกรรมการประมง จ.สตูล ประกาศใช้เป็นกฏกระทรวงแล้วออกไปเพื่อให้เขาสามารถที่จะทำการประมง มีอาชีพอยู่อย่างยั่งยืนได้ ทาง จ.สตูล ได้มีคำสั่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้แล้วจะประชุมในวันที่ 26 ธ.ค. 2565 เวลา 10.00 น.ที่ห้องประชุมศาลากลาง จ.สตูลโดยมีหน่วยงานเกี่ยวข้องต่างๆเข้าร่วมประชุมด้วย.