ซีพีเอฟ พัฒนาโมเดล “โรงเรียนต้นแบบ” เน้นวิชาการ วิชาชีพ ดิจิทัล
หมวดหมู่ : ทั่วไป, การศึกษา, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 4 พ.ค. 2565, 14:54 น. อ่าน : 1,126 กรุงเทพฯ -
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นมีส่วนร่วมสร้างรากฐานระบบการศึกษาที่ได้มาตรฐานให้ประเทศไทย
ขับเคลื่อนโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED พัฒนา “โมเดลโรงเรียนต้นแบบ”
ส่งเสริมด้านวิชาการ วิชาชีพ และดิจิทัล เพื่อยกระดับผลการประเมินคุณภาพโรงเรียน เน้นทำโครงการที่เกิดประโยชน์จริงและยั่งยืน
สอดรับตามยุทธศาสตร์ยกระดับการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
นางสาวพิมลรัตน์
รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ
ในฐานะประธานคณะบริหารโครงการสานอนาคตการศึกษา หรือ “คอนเน็กซ์ อีดี” เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ
เป็นหนึ่งในพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT
ED) และร่วมขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทย โดยในปีนี้
บริษัทฯ วางแผนพัฒนาโมเดล “โรงเรียนต้นแบบ” หรือ “School Model” มุ่งเน้นส่งเสริมด้านวิชาการ วิชาชีพ และดิจิทัล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การดำเนินงานปี
2565 ที่ประกอบด้วย การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโรงเรียนด้วยโมเดลต้นแบบ การผนึกกำลังจากหลายหน่วยงาน
สร้างการมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอกองค์กร และติดตามความคืบหน้าของโครงการต่อยอดเพื่อความยั่งยืน
“ซีพีเอฟ
ตระหนักดีถึงความสำคัญของการพัฒนาการศึกษา เป็นพื้นฐานของการสร้างการเติบโตให้แก่เด็กและเยาวชนไทย
ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต ซึ่งโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT
ED เป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย”
นางสาวพิมลรัตน์ กล่าว
สำหรับโมเดลต้นแบบที่ซีพีเอฟนำมาเป็นโมเดลพัฒนาโรงเรียน
ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก คือ ด้านวิชาชีพ สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน เช่น
โครงการอัจฉริยะยุวเกษตร ทำสวนผักผลไม้ครบวงจร ปลูกง่าย ได้ผลเร็ว นำมาแปรรูปได้
การสร้างระบบน้ำอัตโนมัติ การใช้ปุ๋ยให้เหมาะกับพืชและดิน โครงการฟาร์มไก่พันธุ์ไข่
เสริมทักษะทางด้านอาชีพให้แก่นักเรียน รู้จักวิธีการเลี้ยงไก่ที่ถูกต้อง สามารถนำไปเป็นอาชีพ
สร้างรายได้ ที่สำคัญคือ ผลผลิตจากไข่ไก่ นำมาเป็นอาหารกลางวัน
และมูลไก่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ย โครงการร้านกาแฟเด็กน้อย
ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะด้านการประกอบอาชีพและการค้าขาย
เรียนรู้การบันทึกรายรับ-รายจ่าย คำนวณผลกำไรและขาดทุน
รวมไปถึงการส่งเสริมการค้าในชุมชน
นอกจากนี้
ได้มีการพัฒนาโมเดลใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทักษะการเรียนรู้ ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการพัฒนาครูและผู้เรียน
ให้มีคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
เน้นให้ผู้สอนและผู้เรียนมีเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงสื่อดิจิทัล
แพลตฟอร์มในการบริหารการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้จากทุกมุมโลก เช่น โครงการ Notebook
for Education และโครงการ ICT Talent
ทั้งนี้ ภายใต้กลยุทธ์ ปี 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบครบวงจรทั้ง 4 กระบวนการ ประกอบด้วย การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโรงเรียนด้วยโมเดลต้นแบบ การผนึกกำลังจากหลายหน่วยงาน สร้างการมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอกองค์กร และติดตามความคืบหน้าของโครงการต่อยอดเพื่อความยั่งยืน บริษัทฯ ได้วางรูปแบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยจัด CPF School Partner Meeting แลกเปลี่ยนประสบการณ์ผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) ของบริษัท การจัด CPF School Virtual Meeting ประชุมกับผู้บริหารและคณะครู เพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการ CONNEXT ED ที่ได้รับการสนับสนุนจากซีพีเอฟ และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อยกระดับการศึกษาสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้ บริษัทฯ เน้นการดูแลผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) ด้วยโปรแกรม Onboarding : Welcome School Partner โดยทางซีพีเอฟได้จัดปฐมนิเทศต้อนรับพนักงานจิตอาสาผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจัดมาเป็นรุ่นที่ 4 แล้ว
ปัจจุบัน
มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ CONNEXT ED ในความดูแลและรับผิดชอบของซีพีเอฟ
301 โรงเรียน ใน 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และสระบุรี
โดยมีผู้นำรุ่นใหม่ของซีพีเอฟ (SP) ร่วมเป็นจิตอาสามาทำหน้าที่ขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับคณะผู้บริหารของโรงเรียน
เพื่อให้เกิดการวางแผนและการจัดการที่ดี ตอบโจทย์ความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
ตามวิสัยทัศน์ของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาไทย คือ ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน
และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน.