ทรู คอร์ปอเรชั่น ล้ำไปอีกขั้น ครั้งแรกในไทยโชว์ทดสอบ แจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน 5 ภาษา
หมวดหมู่ : ไลฟ์สไตล์-บันเทิง, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 30 พ.ย. 542, 00:00 น. อ่าน : 325ทรู คอร์ปอเรชั่นล้ำไปอีกขั้น
ครั้งแรกในไทยโชว์ทดสอบ “LIVE - Cell Broadcast Service” แจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน 5 ภาษา
ให้ผู้ใช้งานทรู-ดีแทคในพื้นที่ได้รับแจ้งเตือนจริง
- เร่งเดินหน้าร่วมมือ
ดีอี กสทช. ปภ. หน่วยงานรัฐ เปิดใช้งานเพื่อคนไทย
- เหนือกว่าด้วย BNIC ศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะทรูรองรับภัยทุกสถานการณ์
กรุงเทพฯ -
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ผู้นำโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย จัดการทดสอบล้ำหน้าไปอีกระดับกับ “LIVE - Cell Broadcast Service” ผ่านเสาสัญญาณจริง
ให้ผู้ใช้งานมือถือทั้งทรู
และดีแทคในพื้นที่ได้รับประสบการณ์แจ้งเตือนภัยจริงครั้งแรกในประเทศไทย
พร้อมเยี่ยมชมและให้เกียรติในการร่วมทดสอบโดย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ
บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ที่อาคารทรู ทาวเวอร์ รัชดาภิเษก
เพื่อแสดงศักยภาพความพร้อมของระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือ
ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
นำโดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(กสทช.) และ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ในการยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยและการเตือนภัยสำหรับประชาชนชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ
พร้อมชูหมัดเด็ดศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ BNIC พร้อมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ทรู
คอร์ปอเรชั่นใช้เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการกรณีเกิดภัยพิบัติ 24 ชั่วโมง
นายมนัสส์
มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
“เรามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้พัฒนาระบบ Cell Broadcast Service หรือ CBS ไปอีกขั้นด้วยการนำมาทดสอบการใช้จริง
ซึ่งเป็นระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินที่ทั่วโลกใช้งานที่สามารถส่งข้อความเตือนภัยไปยังโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการทุกเครื่อง
ทั้งคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพร้อมกันทันที
และแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินต่างๆ
อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ระบบ CBS จะมีทั้งสัญญาณเสียง
และข้อความที่แสดง (Pop
up) บนหน้าจอ
และรองรับ Text to Speech
เทคโนโลยีช่วยเหลือที่อ่านออกเสียงข้อความทำให้มีประโยชน์ต่อการแจ้งเตือนแก่ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นอีกด้วย”
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยประสบภัยพิบัติทั้งจากภัยธรรมชาติ อุบัติภัย และภัยจากคนร้าย ส่งผลให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก อีกทั้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ยิ่งทำให้ภัยธรรมชาติรุนแรงและถี่ขึ้น โดยปัจจุบันเราเข้าสู่ยุค “โลกเดือด” หรือ “Global Boiling” ซึ่งอาจนำมาสู่ภัยคุกคามและผลกระทบที่คาดไม่ถึง
ด้วยความตระหนักถึงภัยคุกคามเหล่านี้ ทรู
คอร์ปอเรชั่น ในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศที่มีผู้ใช้บริการมากกว่า
50 ล้านเลขหมาย
จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน กสทช.
และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา ในการพัฒนาระบบ Cell Broadcast Service หรือ CBS ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการแจ้งเตือนภัยให้กับประชาชน โดยทรู
คอร์ปอเรชั่นทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน หรือ Cell Broadcast ในห้องทดสอบปฏิบัติการ (Lab test) เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567
โดยมีจุดเด่นสำคัญหลายประการ ได้แก่
- รองรับทุกภาษา:
ระบบสามารถออกแบบการแจ้งเตือนได้ทุกภาษาและออกแบบส่งพร้อมกันได้ทันที โดยทดสอบแล้ว
5 ภาษา ไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย
- รวดเร็ว:
สามารถส่งข้อความเตือนภัยได้อย่างรวดเร็วทันทีที่เกิดเหตุ
- แม่นยำ:
สามารถกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการส่งข้อความได้อย่างแม่นยำ
- ครอบคลุม:
สามารถส่งข้อความถึงผู้ใช้บริการทุกคนในพื้นที่เสี่ยงภัย
โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนล่วงหน้า
- น่าเชื่อถือ:
เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับและใช้งานในหลายประเทศทั่วโลก
นายมนัสส์ กล่าวต่อไปว่า “การพัฒนาระบบ Cell Broadcast Service นี้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่ 11 ว่าด้วยการทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทาน และยั่งยืน”
ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน หรือ Cell Broadcast ของทรู
คอร์ปอเรชั่นสามารถตั้งระดับการเตือน 5 ระดับตามฟังก์ชั่นการใช้งานและร่วมมือกับภาครัฐ ประกอบด้วย:
1.การแจ้งเตือนระดับชาติ (National Alert): การแจ้งเตือนระดับสูงสุด
ความสำคัญมากสุด และทุกคนในทุกพื้นที่เสาสัญญาณครอบคลุมจะทราบเหตุทันที
2.การแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน (Emergency Alert): การแจ้งเตือนภัยพิบัติต่างๆ เช่น
ภัยสึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วมฉับพลัน หรือภัยจากคนร้าย เป็นต้น
3.การแจ้งเตือนคนหาย (Amber Alert): ระบบตั้งเตือนข้อมูลเมื่อมีเด็กหายหรือคนหาย
รวมทั้งการลักพาตัวเพื่อให้ประชาชนทราบข่าวเฝ้าระวังและช่วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐสังเกตุการณ์และรายงานถ้าพบคนหายหรือคนร้าย
4.ความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety): ระบบการแจ้งเตือนความปลอดภัยสาธารณะในพื้นที่หรือการเฝ้าระวังกรณีแจ้งคนที่อยู่อาศัย
ชุมชน และผู้สัญจรผ่านพื้นที่นั้น
5.การแจ้งเตือนทดสอบ (Test Alert): ระบบทดสอบการแจ้งเตือนตามวัตถุประสงค์เฉพาะกิจต่างๆ โดยสามารถใช้งานเพื่อทดสอบก่อนขยายผลสู่การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนในระดับต่างๆ ต่อไป
นอกจากนี้ ทรู
คอร์ปอเรชั่นยังได้พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ Business and Network Intelligence
Center (BNIC) ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
(AI) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการเมื่อเกิดภัยพิบัติ
เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ามากกว่า 50 ล้านเลขหมาย
ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบ CBS ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
“ทรู คอร์ปอเรชั่นมีความเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน เราจะสามารถสร้างสังคมที่ปลอดภัยและพร้อมรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบ Cell Broadcast Service นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยและการเตือนภัยของประเทศไทย เราหวังว่าระบบนี้จะช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทยและนักท่องเที่ยวได้อย่างมีนัยสำคัญในอนาคต” นายมนัสส์ กล่าวในที่สุด
การทดสอบอีกระดับของ “LIVE – Cell Broadcast Service” ที่แจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือกับผู้ใช้งานจริงครั้งแรกในไทยโดยทรู
คอร์ปอเรชั่น
นับเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยและการเตือนภัยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ
และเป็นความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของประเทศ
ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่อประเทศไทยในระยะยาว.