ม.ทักษิณ เสวนา “ปลดล๊อก กระท่อม พืชเศรษฐกิจ...ทางเลือกของชุมชน”

หมวดหมู่ : สงขลา, ทั่วไป, การศึกษา,

อ่าน : 1,407
มหาวิทยาลัยทักษิณ ปลดล็อกพืชกระท่อม ปลดล๊อก กระท่อม พืชเศรษฐกิจ...ทางเลือกของชุมชน
ม.ทักษิณ เสวนา “ปลดล๊อก กระท่อม พืชเศรษฐกิจ...ทางเลือกของชุมชน”

    จากการที่ เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2564 ปลดล็อก พืชกระท่อม พ้นยาเสพติดประเภท 5 ให้เป็นไปตามบริบทสังคมไทย มีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นผลให้ชาวบ้านสามารถกิน ปลูก และขายได้อย่างเสรี ยกเว้นการนำไปผสมกับสารเสพติดอื่นๆ จากการเผยแพร่กฎหมายฉบับดังกล่าวนำมาสู่เวทีเสวนาในหัวข้อ “ปลดล๊อก กระท่อม พืชเศรษฐกิจ...ทางเลือกของชุมชน” จัดโดยสถาบันปฎิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรการ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นการเสวนาออนไลน์ Facebook Live ผ่านทาง Facebook Fanpage : WeTSU มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันอังคารที่ 24 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30-16.00 น. โดยมี รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ เปิดการเสวนา นอกจากนี้ในการเสวนาดังกล่าวยังได้สาธิตวิธีการทำเครื่องดื่มม็อกเทลกระท่อม โดยเชฟจากโรงแรมเดอะไพน์ สงขลา

    ในการเสวนาครั้งนี้ ได้เชิญวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาร่วมแสดงทัศนะเกี่ยวกับทิศทางของพืชกระท่อมภายหลัง พรบ.ปลดล็อกพืชกระท่อมมีผลบังคับใช้ ประกอบด้วย นายเกษม บุญชนะ ประธานสมัชชาพืชกระท่อมแห่งชาติ, นายสุนทร รักษ์รงค์ ที่ปรึกษากรรมมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม, รศ.ดร.สรพงศ์ เบ็ญจศรี คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ, ผศ.ดร.พนิตา ก้งซุ่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, อ.เอกราช สุวรรณรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ดำเนินการเสวนาโดย ดร.บัณฑิต ทองสงฆ์ รักษาการรองผู้อำนวยการสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ

    รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ กล่าวว่า กฏหมายที่กำกับ ควบคุม พืชกระท่อมว่าเป็นยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสเนื่องจากองค์ความรู้ทางวิชาการ และภูมิปัญญาของพืชกระท่อมหายไป มหาวิทยาลัยทักษิณในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมจะเป็นส่วนเชื่อมประสานและสร้างการสื่อสารสาธารณะ พร้อมสนับสนุนทีมนักวิจัยในการศึกษาพืชกระท่อม เพื่อการผลิตยาและพืชสมุนไพรพื้นถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ กล่าวคือ ต้นน้ำ เรามีทีมของคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ในการสนับสนุนและศึกษาเรื่องของการเพาะปลูกพืชกระท่อม และส่งเสริมแนะนำวิธีการเพาะปลูกให้แก่ผู้สนใจ กลางน้ำ นำโดยคณะวิทยาศาสตร์ที่จะวิจัยและพัฒนาเรื่องของสารสกัดที่มีอยู่ในพืชกระท่อมสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ทางยา อาหารเสริม เครื่องสำอาง หรืออื่นๆ ส่วนปลายน้ำ มุ่งเน้นในเรื่องของการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ยังสามารถรวบรวมองค์ความรู้ต่อยอดเป็นความรู้สาธารณะของชุมชนที่จะถ่ายทอดสู่ชุมชนในวงกว้างอันเป็นที่มาของการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และผู้สนใจต่อไป

    นายสุนทร รักษ์รงค์ ที่ปรึกษากรรมมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนสำหรับการปลดล็อกกระท่อมจากยาเสพติด ว่า “พืชกระท่อม” ซึ่งผมเป็นคนอภิปราย โดยชี้แจงว่า กระท่อม กำลังจะถูกปลดล็อกจากยาเสพติดในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 นี้ ดังนั้นจึงควรที่จะนับว่าวันที่ 24 สิงหาคม เป็น “วันกระท่อมแห่งชาติ” แต่ตอนนี้มี พ.ร.บ.พืชกระท่อม กำลังอยู่ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เท่าที่ผมดูร่างอย่างคร่าว มีความกังวล ว่าข้อกำหนดและบทบัญญัติ พ.ร.บ.พืชกระท่อมจะมีปัญหาคล้ายกัญชา อย่าลืมว่ากัญชาเราถูกหลอกมาตั้งแต่เขาชงเรื่อง เพราะทุกฝ่ายรู้ว่ากัญชา ติดอนุสัญญากฎหมายระหว่างประเทศ จึงยังเป็น ยาเสพติด ในขณะที่กระท่อมไม่ได้ติดอนุสัญญากฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่ถือว่าเป็นยาเสพติด ระยะเวลา 78 ปี ที่พืชสมุนไพรกระท่อมถูกบังคับให้เป็นผู้ร้าย โดดยัดข้อหายาเสพติด ประเภทที่ 5 เปลี่ยนสภาพของกระท่อมเป็นยาเสพติด นำสู่การเรียกร้องให้มีการปรับปรุงกฎหมายหลายต่อหลายครั้ง จนในที่สุด พรบ. พืชกระท่อม ปลดล็อกกระท่อมจากยาเสพติดก็มีผลบังคับใช้ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ต้องการให้มองในประเด็นหลักๆ คือ ประเด็นที่ 1 การถูกบิดเบือนว่ากระท่อมเป็นสารเสพติด แต่แท้จริงแล้วกระท่อมเป็นสมุนไพรตำรับยาโบราณ ประเด็นที่ 2 การต่อสู้กับความอยุติธรรมของผู้บังคับใช้กฎหมาย และการแสวงหาผลประโยชน์จากอำนาจของรัฐ และประเด็นที่ 3 การต่อสู้กับกับดักทางด้านกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ขัดขวางการต่อยอดงานวิจัยและการพัฒนาพืชกระท่อมเพื่อการใช้ประโยชน์ โดยบริบทของกฎหมายฉบับนี้ได้ปลดล็อกพืชกระท่อม ให้สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ แต่ก็ยังมีข้อยกเว้น กล่าวคือ ใจความสำคัญ ตอนนี้ทางรัฐมนตรีได้กำชับให้สำนักงานคณะกรรมการป้องและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) เร่งสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทราบถึงข้อกฎหมายที่ถูกต้อง เช่น ประชาชนสามารถที่จะปลูกบริโภคกระท่อมตามวิถีชาวบ้านจะนำมาเคี้ยวนำมาต้มน้ำดื่มโดยไม่ผสมสารเสพติดอื่นใดหรือจะซื้อขายภายในประเทศได้ ข้อสำคัญตอนนี้คือ แม้จะสามารถปลูกและบริโภคได้ก็ห้ามนำไปผสมสารเสพติดหรือที่รู้จักกันในชื่อ 4×100 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันพืชกระท่อมเป็นยาเสพติด ให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แต่ในหลายประเทศมิได้กำหนดให้ พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่ ที่มีการบริโภคพืชกระท่อม ตามวิถีชาวบ้าน สมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ซึ่งกระท่อมจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและน่าจับตามอง

    อ.เอกราช สุวรรณรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2564 ปลดล๊อกพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ส่งผลอะไรบ้างในเบื้องต้น?ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ ปล่อยผู้กระทำความผิดตามกฎหมายพืชกระท่อมในวันที่ 24 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมาทั้งหมดให้ถือว่าไม่เคยกระทำความผิด ผู้ถูกจับกุมหรือจำเลยในชั้นต่างๆ จะได้ดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปล่อยตัวผู้กระทำความผิดและผู้ต้องขังคดีความผิดเกี่ยวกับพืชกระท่อมต่อไป ในขณะเดียวกันมีข้อห้ามคือห้ามนำไปผสมสารเสพติดอื่นๆ

    นายเกษม บุญชนะ ประธานสมัชชาพืชกระท่อมแห่งชาติ กล่าวว่า ใบกระท่อมในประเทศไทยถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ กระท่อมชนิดก้านใบสีแดง กระท่อมชนิดก้านใบสีเขียว (แตงกวา) และกระท่อมชนิดขอบใบหยัก (หางกั้ง) พืชกระท่อมแสดงออกถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น 78 ปี ที่นำกฎหมายมาบังคับใช้ทำให้วิถีชีวิตที่ควรจะเป็นสูญหายไป ชาวบ้านกินใบกระท่อมเป็นยา เพราะชาวบ้านเชื่อว่ากระท่อมเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะเบาหวาน ความดัน คลายความเครียด โดยจะเลือกกินพันธุ์ที่มีใบมันวาว และเลือกที่จะกินใบคู่ที่ 3-4 ไม่ทานยอดเพราะอ่อนเกินไป ส่วนใบคู่ที่ 5-7 ส่วนใหญ่จะนำไปต้มทำเป็นเครื่องดื่ม

    รศ.ดร.สรพงศ์ เบ็ญจศรี คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้แนะนำวิธีการปลูกพืชกระท่อมว่า การปลดล็อกกระท่อมจากยาเสพติดจะเป็นผลดีต่อการศึกษา พัฒนาและขยายพันธุ์กระท่อมไปสู่เชิงพาณิขย์ได้สะดวกขึ้น เพราะอิสระ คล่องตัว กระท่อมแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกัน แต่ที่นิยมปลูกรับประทานคือพันธุ์ก้านแดง กระท่อมเป็นพืชที่ไม่ต้องการแสงมาก จึงเหมาะกับการปลูกแซมในสวนยาง เก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 1 ปี เป็นต้นไป และสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี การปลูกกระท่อมต้องระวังแมลงศัตรูพืช คือด้วงและเพลี้ย เนื่องจากจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของกระท่อม ซึ่งพืชกระท่อมเป็นพืชที่เลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์จากใบ เมื่อไม่มีใบก็ไม่มีประโยชน์ ปลูกง่าย ขึ้นได้กับดินทุกประเภท แต่สิ่งที่ควรระวังคือ การใช้ยาฆ่าแมลงจะต้องคำนึงถึงช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยว กรณีที่มีการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ควรเว้นระยะเก็บเกี่ยวประมาณ 30 วัน เพื่อลดสารเคมีตกค้างในใบ ใช้วิธีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง เพราะเป็นพืชที่ขึ้นง่าย โตเร็ว เลี้ยงง่าย และต้านทานโรคได้ดี มีสรรพคุณทางยาสูง จึงถือได้ว่ากระท่อมจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคต

    ผศ.ดร.พนิตา ก้งซุ่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จากการศึกษาวิจัยพบว่าสารเคมีที่พบในพืชกระท่อมมีหลากหลายกลุ่ม เช่น alkaloids, flavonoids, triterpenes, phenolic compounds โดยสารกลุ่ม indole alkaloids เป็นสารกลุ่มใหญ่ที่พบในพืชกระท่อม และมีสารสำคัญหลัก คือ สารไมทราไจนีน (mitragynine) เป็นแอลคาลอยด์ที่พบมากที่สุดในใบกระท่อมของไทยสูงถึงร้อยละ 66 เมื่อเทียบกับปริมาณสารสกัด alkaloids ทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบสาร alkaloids ตัวอื่นๆ ได้แก่ เซเว่นไฮดรอกซี-ไมทราไจนีน (7-hydroxymitragynine) มีฤทธิ์แรงกว่า mitragynine 4 เท่า โครแนนทิดีน (corynantheidine) และสเปคชิโอชิลเลียทีน (speciociliatine) ซึ่งพบว่าออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทคล้ายมอร์ฟีนแม้จะมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีน แต่มีข้อดีกว่าตรงที่ไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน พัฒนาการในการติดยาช้ากว่ามอร์ฟีนหลายปี ในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกายมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท ช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและควบคุมอารมณ์ไปในทางที่ดีขึ้น ช่วยในเรื่องการเผาผลาญ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง ปวดเบ่ง แก้บิด เมื่อก่อนจะมีข้อจำกัดในการนำพืชกระท่อมมาทดลอง เพราะติดกฎหมายยาเสพติด เมื่อมีการปลดล๊อกพืชกระท่อมจะทำให้การทำงานวิจัยเกี่ยวกับพืชกระท่อมทำง่ายขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลงานวิจัยและสิ่งค้นพบใหม่ๆ เกี่ยวกับพืชกระท่อมตามมาอีกมากมาย.




อ่านข่าวที่เกี่ยงข้อง :


ม.ทักษิณคิ๊กออฟ อส.ชุมชน ต่อยอดสร้างงาน
ม.ทักษิณคิ๊กออฟ อส.ชุมชน ต่อยอดสร้างงาน

ม.ทักษิณ เปิดศูนย์ AIC รองรับนวัตกรรมเกษตรยุค 4.0
ม.ทักษิณ เปิดศูนย์ AIC รองรับนวัตกรรมเกษตรยุค 4.0

ม.ทักษิณ พัทลุง ผุดไอเดีย อาสาสมัครระยะไกล สู้ภัยโควิด-19
ม.ทักษิณ พัทลุง ผุดไอเดีย อาสาสมัครระยะไกล สู้ภัยโควิด-19

ปิด รพ.สนาม มหาวิทยาลัยทักษิณ “ศูนย์น้ำใจคนเมืองลุง” และการรับบริจาค
ปิด รพ.สนาม มหาวิทยาลัยทักษิณ “ศูนย์น้ำใจคนเมืองลุง” และการรับบริจาค

ม.ทักษิณ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ TSU NanoMask และ TSU Herbal Alcohol Spray ตอบรับสังคมวิถีใหม่
ม.ทักษิณ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ TSU NanoMask และ TSU Herbal Alcohol Spray ตอบรับสังคมวิถีใหม่

ม.ทักษิณ มอบถุงยังชีพช่วยเหลือครอบครัวถูกล็อคดาวน์ชุมชนเก้าเส้ง
ม.ทักษิณ มอบถุงยังชีพช่วยเหลือครอบครัวถูกล็อคดาวน์ชุมชนเก้าเส้ง

ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เปิดโรงพยาบาลสนาม รอบที่ 2
ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เปิดโรงพยาบาลสนาม รอบที่ 2

ม.ทักษิณ ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการสื่อดิจิตอลออนไลน์นานาชาติ
ม.ทักษิณ ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการสื่อดิจิตอลออนไลน์นานาชาติ

ม.ทักษิณ ผนึกกำลังเครือข่ายแพทย์พื้นบ้าน นำภูมิปัญญาสมุนไพรสู้ภัยโควิด-19
ม.ทักษิณ ผนึกกำลังเครือข่ายแพทย์พื้นบ้าน นำภูมิปัญญาสมุนไพรสู้ภัยโควิด-19

ม.ทักษิณ ลงนามร่วมมือบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน
ม.ทักษิณ ลงนามร่วมมือบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน

มท.2 ประชุมเร่งแก้น้ำท่วมพื้นที่ราชภัฏสงขลา
มท.2 ประชุมเร่งแก้น้ำท่วมพื้นที่ราชภัฏสงขลา

ม.ทักษิณ จัดตั้งศูนย์พักคอย (CI) ของอำเภอป่าพะยอม ณ วิทยาเขตพัทลุง
ม.ทักษิณ จัดตั้งศูนย์พักคอย (CI) ของอำเภอป่าพะยอม ณ วิทยาเขตพัทลุง

รมว.ยุติธรรม เป็นประธานปลดล็อก”กระท่อม”ในภาคใต้-ส่งเสริมปลูกสร้างรายได้
รมว.ยุติธรรม เป็นประธานปลดล็อก”กระท่อม”ในภาคใต้-ส่งเสริมปลูกสร้างรายได้

เปิด “หลาวัฒนธรรม” และ “เผล้งหลามาร์เก็ต” กระตุ้นภูมิคุ้มกันทางสังคม สนับสนุนผู้ประกอบการฐานราก
เปิด “หลาวัฒนธรรม” และ “เผล้งหลามาร์เก็ต” กระตุ้นภูมิคุ้มกันทางสังคม สนับสนุนผู้ประกอบการฐานราก

ม.ทักษิณ ขับเคลื่อนกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ ผ่านมาตรฐาน Organic Thailand
ม.ทักษิณ ขับเคลื่อนกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ ผ่านมาตรฐาน Organic Thailand

ม.ทักษิณ จัดเสวนาภูมิทัศน์ใหม่การจัดการเรียนรู้ในยุคโควิด-19
ม.ทักษิณ จัดเสวนาภูมิทัศน์ใหม่การจัดการเรียนรู้ในยุคโควิด-19

ปรุงสูตรลับใบกระท่อม โดนใจลูกค้า ขายดิบขายดี
ปรุงสูตรลับใบกระท่อม โดนใจลูกค้า ขายดิบขายดี

ทีมนักวิจัย ม.ทักษิณ ผลิตเครื่องจ่ายแอลกอฮอล์อัตโนมัติ
ทีมนักวิจัย ม.ทักษิณ ผลิตเครื่องจ่ายแอลกอฮอล์อัตโนมัติ

53 ปี มหาวิทยาลัยทักษิณ ก้าวสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
53 ปี มหาวิทยาลัยทักษิณ ก้าวสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

นิสิต ม.ทักษิณ ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ “Best of the best”
นิสิต ม.ทักษิณ ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ “Best of the best”

ม.ทักษิณ จัดประกวดแข่งขันนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าจากขยะ (ระดับชาติ)
ม.ทักษิณ จัดประกวดแข่งขันนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าจากขยะ (ระดับชาติ)

ม.ทักษิณ ส่งมอบข้าวพื้นถิ่นพัทลุงปลอดสารพิษให้กับ ร.ร.ตชด.
ม.ทักษิณ ส่งมอบข้าวพื้นถิ่นพัทลุงปลอดสารพิษให้กับ ร.ร.ตชด.

ม.ทักษิณ ประกาศปิด “รพ.สนาม-ศูนย์น้ำใจคนเมืองลุง” รอบที่ 2
ม.ทักษิณ ประกาศปิด “รพ.สนาม-ศูนย์น้ำใจคนเมืองลุง” รอบที่ 2

ม.ทักษิณ เปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรค 2 ชั้น
ม.ทักษิณ เปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรค 2 ชั้น

ม.ทักษิณ เปิดตัวหนังสือ “เรื่องเล่าจากชุมชน” ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม
ม.ทักษิณ เปิดตัวหนังสือ “เรื่องเล่าจากชุมชน” ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม

ศูนย์เครื่องมือกลาง ม.ทักษิณ รับมอบนวัตกรรมรักษาคุณภาพผลผลิตสดทางการเกษตรสำหรับชุมชน
ศูนย์เครื่องมือกลาง ม.ทักษิณ รับมอบนวัตกรรมรักษาคุณภาพผลผลิตสดทางการเกษตรสำหรับชุมชน

ม.ทักษิณ ขับเคลื่อนโมเดลแก้จน ส่งเสริมกระจูดเพิ่มรายได้คนจนทะเลน้อย
ม.ทักษิณ ขับเคลื่อนโมเดลแก้จน ส่งเสริมกระจูดเพิ่มรายได้คนจนทะเลน้อย

ค้นพบ ยีสต์สกุลและสปีชีส์ใหม่ของโลก ในประเทศไทย จากผิวใบสับปะรด ที่พัทลุงและชลบุรี
ค้นพบ ยีสต์สกุลและสปีชีส์ใหม่ของโลก ในประเทศไทย จากผิวใบสับปะรด ที่พัทลุงและชลบุรี

ม.ทักษิณ ลงนามความร่วมมือ อบจ.พัทลุง ขับเคลื่อนความเป็นเลิศด้านวิชาการ
ม.ทักษิณ ลงนามความร่วมมือ อบจ.พัทลุง ขับเคลื่อนความเป็นเลิศด้านวิชาการ

ม.ทักษิณ ร่วมมือ NIA เปิดตัว “หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย”
ม.ทักษิณ ร่วมมือ NIA เปิดตัว “หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย”

ม.ทักษิณ จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 32 “นวัตกรรมสังคมยุคหลังโควิด Next Normal”
ม.ทักษิณ จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 32 “นวัตกรรมสังคมยุคหลังโควิด Next Normal”

แต่งตั้ง รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รักษาการอธิการบดีคนใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ
แต่งตั้ง รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รักษาการอธิการบดีคนใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ม.ทักษิณ ประชุมขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน
ม.ทักษิณ ประชุมขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน

ม.ทักษิณ เปิดจ้างงานนวัตกรชุมชน (เฟส 2) 860 อัตรา ในโครงการ U2T for BCG ทำงาน 1 ก.ค.นี้
ม.ทักษิณ เปิดจ้างงานนวัตกรชุมชน (เฟส 2) 860 อัตรา ในโครงการ U2T for BCG ทำงาน 1 ก.ค.นี้

ม.ทักษิณ ร่วมมือทางวิชาการ มุ่งพัฒนาเครื่องสำอาง-ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากวัตถุดิบท้องถิ่น
ม.ทักษิณ ร่วมมือทางวิชาการ มุ่งพัฒนาเครื่องสำอาง-ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากวัตถุดิบท้องถิ่น

ม.ทักษิณ ผนึกความร่วมมือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ต่อยอดนิสิตสู่ประสบการณ์วิชาชีพ
ม.ทักษิณ ผนึกความร่วมมือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ต่อยอดนิสิตสู่ประสบการณ์วิชาชีพ

นิทรรศการ ม.ทักษิณ คว้ารางวัลชมเชย งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565
นิทรรศการ ม.ทักษิณ คว้ารางวัลชมเชย งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565

ม.ทักษิณ สืบสาน สร้างสรรค์ ต่อยอดจิตรกรรมวิถีวัฒนธรรม ต.บ่อยาง-เกาะยอ
ม.ทักษิณ สืบสาน สร้างสรรค์ ต่อยอดจิตรกรรมวิถีวัฒนธรรม ต.บ่อยาง-เกาะยอ

ม.วลัยลักษณ์บูม “ผ้าปาเต๊ะ”ผลิตภัณฑ์เด่น
ม.วลัยลักษณ์บูม “ผ้าปาเต๊ะ”ผลิตภัณฑ์เด่น

นิสิต ม.ทักษิณ รับรางวัลดีเด่นสาขาศิลปะ 2 มิติ โครงการยุวศิลปินไทย 2565
นิสิต ม.ทักษิณ รับรางวัลดีเด่นสาขาศิลปะ 2 มิติ โครงการยุวศิลปินไทย 2565

นักวิจัย ม.ทักษิณ นำผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยจากท้องถิ่นร่วมแสดงในงาน Thai Festival
นักวิจัย ม.ทักษิณ นำผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยจากท้องถิ่นร่วมแสดงในงาน Thai Festival

ม.ทักษิณ เปิดตัว Farni-Feed ผลิตภัณฑ์ต้นแบบอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับปลาสวยงาม
ม.ทักษิณ เปิดตัว Farni-Feed ผลิตภัณฑ์ต้นแบบอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับปลาสวยงาม

ม.ทักษิณ อนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ภายใต้ระบบ BCG พัทลุง
ม.ทักษิณ อนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ภายใต้ระบบ BCG พัทลุง

ม.ทักษิณ เสริมภาคีหุ้นส่วนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
ม.ทักษิณ เสริมภาคีหุ้นส่วนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน

ม.ทักษิณ ผนึกกำลัง 9 สถานศึกษา จ.กระบี่ สร้างความร่วมมือการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์
ม.ทักษิณ ผนึกกำลัง 9 สถานศึกษา จ.กระบี่ สร้างความร่วมมือการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์

“คอนเสิร์ต 55 ปีรวมใจ มหาวิทยาลัยทักษิณ” โชว์การแสดงโนราประสมท่า 55 รวมใจ
“คอนเสิร์ต 55 ปีรวมใจ มหาวิทยาลัยทักษิณ” โชว์การแสดงโนราประสมท่า 55 รวมใจ

โซลาร์รูฟท็อป ม.ทักษิณ หลังคาผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดสู่ Green University ทั้ง 2 วิทยาเขต
โซลาร์รูฟท็อป ม.ทักษิณ หลังคาผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดสู่ Green University ทั้ง 2 วิทยาเขต