สสส. จับมือ สพฐ. และ TPAK หาแนวทางส่งเสริมสุขภาพเด็กช่วงเรียนออนไลน์

หมวดหมู่ : ทั่วไป, การศึกษา, กรุงเทพฯ,

อ่าน : 1,196
เรียนออนไลน์ สสส. สพฐ. TPAK “ทราบแล้วเปลี่ยน”
สสส. จับมือ สพฐ. และ TPAK หาแนวทางส่งเสริมสุขภาพเด็กช่วงเรียนออนไลน์

    สสส. จับมือ สพฐ. และ TPAK หาแนวทางส่งเสริมสุขภาพเด็กช่วงเรียนออนไลน์ ชี้ในวิกฤตโควิดเด็กขยับร่างกายเพียงพอลดลงเหลือแค่ 17% ผลสำรวจย้ำชัด เด็กปวดตา เครียด การบ้านท่วม นอนน้อย ขาดกิจกรรมทางกาย หมอเด็กห่วงกินอาหารตามใจ ทำให้เด็กอ้วน แนะครอบครัวสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ชวนเด็กทำงานบ้าน-เล่นกีฬา ช่วยพัฒนาร่างกายและสมอง

    ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของทุกคนเป็นวงกว้าง รวมถึงการเรียนออนไลน์ของเด็กๆ สสส. จึงร่วมกับศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “ทราบแล้วเปลี่ยน” แนวทางส่งเสริมสุขภาพเด็กในช่วงเรียนออนไลน์ ซึ่งข้อมูลการศึกษาของ TPAK พบว่า เด็กไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากว่า 13 ชั่วโมงต่อวัน ยิ่งในสถานการณ์โควิด-19 พบว่า เด็กมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มขึ้นเป็น 14 ชั่วโมงต่อวัน เพราะส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์และนั่งอยู่หน้าจอทั้งวัน ขณะที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กต้องขยับร่างกาย 60 นาทีต่อวัน ทั้งนี้ 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า เด็กไทยมีกิจกรรมทางกาย การเล่น หรือการเคลื่อนไหวร่างกายที่เพียงพอ เฉลี่ย 26% แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 สถานการณ์ดังกล่าวยิ่งน่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้น คือ เด็กไทยมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอลดลงเหลือเพียง  17%

    “การไม่ขยับร่างกาย หากไม่เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้น เเละในระยะยาวมีผลต่อการเรียนรู้เเละเจริญเติบโต เด็กอาจติดเป็นนิสัยในอนาคต สสส. จึงแนะนำให้ในชั่วโมงเรียนการเรียนควรให้มีช่วงพักเพื่อเข้าห้องน้ำ หรือเปลี่ยนอิริยาบถ ได้เล่นผ่อนคลาย และเมื่อเลิกเรียน ควรมีกิจกรรมในบ้านร่วมกัน เช่น ทำงานบ้าน ออกกำลังกาย หรือแม้แต่การเล่นของเด็กๆ ก็ช่วยเสริมสร้างร่างกาย จิตใจ และพัฒนาสมอง ถือเป็นโอกาสดีที่ครอบครัวจะสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ใกล้ชิดกันมากขึ้น นอกจากนี้ สสส. กระทรวงศึกษา  เเละกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมทำชุดความรู้ “คู่มือการจัดการโรงเรียน รับมือโควิด-19” ซึ่งขณะนี้มียอดดาวน์โหลดนับล้านครั้ง สามารถนำไปปรับใช้” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

    ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา หัวหน้าศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายฯ กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ เพื่อรวบรวมข้อมูลในประเด็นเกี่ยวกับพฤติกรรมและผลกระทบจากการเรียนออนไลน์ และการจัดการด้านสุขภาพ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 - ปริญญาตรี ร่วมตอบแบบสำรวจทั้งหมด 243 คน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบ 8 อันดับสูงสุดของปัญหาที่นักเรียนประสบในช่วงการเรียนออนไลน์ ได้แก่ 1.มีอาการปวดตา/ตาอ่อนล้า/ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ/ปวดหลัง/ปวดคอและบ่าไหล่ และพฤติกรรมเนือยนิ่ง 79% 2.เครียด วิตกกังวล โดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เตรียมศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 เตรียมศึกษาต่อมหาวิทยาลัย เพราะกังวลว่าจะไม่มีโรงเรียนที่ดีรับเข้าเรียน 74.9% 3.จำนวนการบ้านมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อเวลาในการพักผ่อน/การนอนหลับในแต่ละวัน 71.6% 4.มีความรู้สึกไม่อยากเรียน ร้อยละ 68.3% 5.ห่วงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต 66.3% 6.ขาดกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกายน้อยลง 58% 7.สภาพแวดล้อมที่บ้านไม่เอื้ออำนวยทำให้ขาดสมาธิ 57.2% และ 8. รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา 56%      

    ผศ.พญ.แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และกุมารแพทย์เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสุขภาพของสมอง จากการเรียนออนไลน์พบว่า เด็กอยู่กับหน้าจอมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสายตาที่กะพริบตาน้อยลง ทำให้ตาแห้ง มีอาการปวดตา นั่งนาน จะปวดเมื่อยตัว ด้านพฤติกรรมสุขภาพส่งผลกระทบทั้งเรื่องการกิน การนอน สามารถกินได้ตลอดเวลา หากผู้ปกครองไม่ได้ใส่ใจเรื่องคุณภาพอาหาร อาจส่งผลให้เด็กเกิดภาวะอ้วนได้ ซึ่งหากเด็กอ้วนแล้วนะนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง ดังนั้น การแก้ไขปัญหาที่สำคัญคือ การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวต้องเป็นไปในเชิงบวก พ่อแม่ต้องจัดสรรเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกในช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์ พ่อแม่ต้องทำงานที่บ้าน ความเข้มแข็งทางจิตใจของพ่อแม่ จะทำให้เด็กมีพลังในการลุกขึ้นสู้ ดังนั้นการพูดคุยสื่อสารกับเด็กจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กเข้มแข็งและเติบโตไปได้ ส่วนของโรงเรียนควรมีนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มรูปแบบกิจกรรมเพื่อให้เด็กมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น จัดตารางเรียนให้เหมาะจัดครูไปเยี่ยมบ้านนักเรียนในกรณีที่ผู้ปกครองของนักเรียนไม่มีเวลา

    นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดการระบาดโควิด-19 สพฐ. ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และ สสส. มาโดยตลอด ขณะนี้มีโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนออนไลน์ประมาณ 50-60% จากผลสำรวจพบว่า ในโรงเรียนใหญ่ๆ ทั้งเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความสุขกับการเรียนออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงการเรียนออนไลน์ไม่ได้เหมาะสมกับทุกพื้นที่ อาทิ พื้นที่ห่างไกล หรือเด็กกลุ่มเปราะบาง ยากไร้ ดังนั้น นโยบายเรื่องการเรียนการสอนได้มีการดำเนินการสั่งการแล้วให้มีการจัดลำดับความสำคัญ แจ้งให้ครูสั่งการบ้านให้น้อยลง ลดขั้นตอนต่างๆ เช่น การประเมินผล และโรงเรียนจะต้องมีการบูรณาการการให้การบ้านกับนักเรียน และอีกด้านหนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการพยายามลดภาระของผู้ปกครอง ด้วยการจัดสรรเงินอาหารกลางวันคนละ 20 บาทต่อวัน ส่งตรงถึงผู้ปกครองเพื่อนำเงินที่ได้ไปจัดหาซื้อหาอาหารให้เด็ก และได้มีการเปลี่ยนนมพาสเจอไรซ์ มาเป็นนมยูเอชที เพื่อสะดวกในการขนส่งและเก็บไว้ได้นาน ส่วนเรื่องการเยียวยาผู้ปกครองขณะนี้ได้มีการลดค่าเทอม และรัฐให้เงินอุดหนุนเด็กนักเรียนคนละ 2,000 บาท.


ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา หัวหน้าศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายฯ


นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ




อ่านข่าวที่เกี่ยงข้อง :


“ห่วงนักเรียน ” ผอ.ร.ร.นำช่างติดตั้งอุปกรณ์ให้เรียนออนไลน์ที่บ้าน
“ห่วงนักเรียน ” ผอ.ร.ร.นำช่างติดตั้งอุปกรณ์ให้เรียนออนไลน์ที่บ้าน

ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุด
ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุด

สสส. ชวนโหลด “คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน” เตรียมพร้อมก่อนฉีดวัคซีน
สสส. ชวนโหลด “คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน” เตรียมพร้อมก่อนฉีดวัคซีน

สสส. หนุนภาคีสร้างสุขภาคใต้ เสริมแกร่งให้ชุมชน ยกระดับสุขภาวะคนใต้
สสส. หนุนภาคีสร้างสุขภาคใต้ เสริมแกร่งให้ชุมชน ยกระดับสุขภาวะคนใต้

สสส. ร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19 จัดทำ “คู่มือการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)”
สสส. ร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19 จัดทำ “คู่มือการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)”

สสส. ดึงกูรูภาคีเครือข่าย อบรม “จัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน” ให้แกนนำชุมชน 30 แห่ง
สสส. ดึงกูรูภาคีเครือข่าย อบรม “จัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน” ให้แกนนำชุมชน 30 แห่ง

องค์การอนามัยโลก ประกาศประเด็นรณรงค์วันงดสูบบุรี่โลก ปี 2565 “ยาสูบ:ภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม”
องค์การอนามัยโลก ประกาศประเด็นรณรงค์วันงดสูบบุรี่โลก ปี 2565 “ยาสูบ:ภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม”

สสส.นำร่อง 5 จว.ขับเคลื่อน“คนสร้างสุขภาคใต้” ฟื้นวิกฤติโควิด-19
สสส.นำร่อง 5 จว.ขับเคลื่อน“คนสร้างสุขภาคใต้” ฟื้นวิกฤติโควิด-19

งดเหล้าเข้าพรรษา “ซูเปอร์แม่-พ่อ พอแล้วเหล้าเบียร์” ลด ละ เลิก เพื่อครอบครัว
งดเหล้าเข้าพรรษา “ซูเปอร์แม่-พ่อ พอแล้วเหล้าเบียร์” ลด ละ เลิก เพื่อครอบครัว

สสส.แนะ “รัก” แบบ Safe  คือรักแบบไหนกัน
สสส.แนะ “รัก” แบบ Safe คือรักแบบไหนกัน

“สูงวัย” เตรียมพร้อมก่อนเกษียณ เปลี่ยน 60 ปี ให้เป็นแค่ตัวเลข
“สูงวัย” เตรียมพร้อมก่อนเกษียณ เปลี่ยน 60 ปี ให้เป็นแค่ตัวเลข

“สำนัก 7” สสส. มุ่งสร้างนำซ่อม “ปรับพฤติกรรมชีวิต”
“สำนัก 7” สสส. มุ่งสร้างนำซ่อม “ปรับพฤติกรรมชีวิต”

สิ่งแวดล้อมของสังคมพิการ จุดประกาย...ขับเคลื่อนกลไกเอื้อชีวิตผู้พิการ
สิ่งแวดล้อมของสังคมพิการ จุดประกาย...ขับเคลื่อนกลไกเอื้อชีวิตผู้พิการ

สสส.ชี้ บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย!
สสส.ชี้ บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย!

สสส.เชิดชูเกียรติสถานศึกษาต้นแบบ “ครูดีไม่มีอบายมุข” จ.นครศรีฯ
สสส.เชิดชูเกียรติสถานศึกษาต้นแบบ “ครูดีไม่มีอบายมุข” จ.นครศรีฯ

เครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์ต้านภัยยาสูบ กระตุ้นเตือนสังคมรู้เท่าทันอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า
เครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์ต้านภัยยาสูบ กระตุ้นเตือนสังคมรู้เท่าทันอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า

สสส.ผนึกกำลัง สช. สานพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน จัด “สร้างสุขภาคใต้” ครั้งที่ 13
สสส.ผนึกกำลัง สช. สานพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน จัด “สร้างสุขภาคใต้” ครั้งที่ 13

สสส. สานพลังภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนพัฒนาสุขภาวะ ตั้งเป้าภาคใต้อนาคตแห่งความยั่งยืน
สสส. สานพลังภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนพัฒนาสุขภาวะ ตั้งเป้าภาคใต้อนาคตแห่งความยั่งยืน

สสส. สานพลังสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัว
สสส. สานพลังสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัว

สสส.สานพลังสร้างความยั่งยืนทางสุขภาพจิต ชวนคนไทยออกกำลังใจ
สสส.สานพลังสร้างความยั่งยืนทางสุขภาพจิต ชวนคนไทยออกกำลังใจ

สสส.ถอดบทเรียน 4 ประเทศ สู้ความท้าทายงาน "สร้างเสริมสุขภาพ" ในทศวรรษหน้า
สสส.ถอดบทเรียน 4 ประเทศ สู้ความท้าทายงาน "สร้างเสริมสุขภาพ" ในทศวรรษหน้า

เพราะเด็กสำคัญ จึงไม่แปลกหากเราจะ “เลี้ยงเด็กหนึ่งคนใช้คนทั้งหมู่บ้าน”
เพราะเด็กสำคัญ จึงไม่แปลกหากเราจะ “เลี้ยงเด็กหนึ่งคนใช้คนทั้งหมู่บ้าน”

สสส. สานพลังภาคี-ผู้ใหญ่ใจดี เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ต้อนรับปิดเทอม 2567
สสส. สานพลังภาคี-ผู้ใหญ่ใจดี เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ต้อนรับปิดเทอม 2567

สสส. - สค. สานพลังสร้างพื้นที่เล่นอิสระในห้างสรรพสินค้า ลดพฤติกรรมเสี่ยงช่วงปิดเทอม
สสส. - สค. สานพลังสร้างพื้นที่เล่นอิสระในห้างสรรพสินค้า ลดพฤติกรรมเสี่ยงช่วงปิดเทอม

เชฟรอน เปิดหน้าต่างหัวใจ ผ่านการมองโลกแบบ “สุขให้เป็น” บนเวทีสัมมนา “คนใต้หยัดได้ สุขเป็น”
เชฟรอน เปิดหน้าต่างหัวใจ ผ่านการมองโลกแบบ “สุขให้เป็น” บนเวทีสัมมนา “คนใต้หยัดได้ สุขเป็น”

เชฟรอน รับโล่ประกาศเกียรติคุณผู้สนับสนุนกระบวนการสุขเป็น
เชฟรอน รับโล่ประกาศเกียรติคุณผู้สนับสนุนกระบวนการสุขเป็น

สสส.จับมือภาคีเครือข่าย นำร่อง 5 จังหวัด ส่งเสริม “ร้านค้าไม่ขายยาสูบให้กับบุคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี”
สสส.จับมือภาคีเครือข่าย นำร่อง 5 จังหวัด ส่งเสริม “ร้านค้าไม่ขายยาสูบให้กับบุคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี”

สสส. ชวนมาฟัง ต้อนรับ “เดือนการฟังแห่งชาติ” ครั้งแรกของไทยและโลก
สสส. ชวนมาฟัง ต้อนรับ “เดือนการฟังแห่งชาติ” ครั้งแรกของไทยและโลก