“สำนัก 7” สสส. มุ่งสร้างนำซ่อม “ปรับพฤติกรรมชีวิต”
หมวดหมู่ : ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 1 เม.ย. 2566, 08:00 น. อ่าน : 571สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ หรือ สำนัก 7 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บทบาทสำคัญอยู่ที่การหนุนเสริมให้ระบบบริการสุขภาพทำงานสร้างเสริมสุขภาพ “สร้างนำซ่อม” มากขึ้น มุ่งเน้นปรับพฤติกรรมของคน ลดปัญหาสุขภาพ ซึ่งก้าวต่อไปในระยะสั้นจะรุกเข้าไปทำงานกับคน “กลุ่มก่อนป่วย” และภาพฝันระยะยาวที่อยากเห็น “ชุมชนเข้มแข็งด้านสุขภาพ” เป็นเจ้าของข้อมูล สามารถจัดการสุขภาพตามบริบทของพื้นที่ได้เอง
รศ.นพ.สรนิต
ศิลธรรม กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่
7 ให้ข้อมูลว่า การขับเคลื่อนเรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส.
มีหลักการว่าเรื่องการรักษาพยาบาลหรือการดูแลสุขภาพ
ประชาชนจะนึกถึงเรื่องการเข้ารพ.และการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นปลายเหตุ
หรือให้รู้จักการป้องกัน มีการตรวจโรค
ตรวจร่างกายประจำปี ถือเป็นขั้นกลาง แต่สิ่งที่สสส.ดำเนินการเป็นขั้นแรก คือ
การสร้างเสริมสุขภาพ เช่น
ดูแลตัวเองให้ดีอย่างไร แล้วจึงค่อยไปสู่ขั้นตรวจสุขภาพหรือเจ็บป่วยรักษา เรียกว่า
“สร้างนำซ่อม”
สำหรับ
ยุทธศาสตร์หลังจากนี้ของสสส. รศ.นพ.สรนิต ให้ข้อมูลว่า มีจุดเน้นอยู่ 8
เรื่องที่เป็นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.ลดอัตราการบริโภคยาสูบ
รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า 2.ลดอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด 3.เพิ่มสัดส่วนการบริหารบริโภคอาหารอย่างสมดุล
4.เพิ่มสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 5.ลดอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนน
6.เพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ 7.ลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
และ8.เตรียมพร้อมรับปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่และปัจจัยเสี่ยงอื่น
ทั้งนี้ “สำนัก 7” มีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนเรื่อง
“สร้างนำซ่อม” รศ.นพ.สรนิต กล่าวถึงความคาดหวังของสำนัก 7ว่า/ ภาพรวมใหญ่ ทำงานเชิงระบบเป็นหลัก โดยใช้หลักกฎบัตรออตตาว่า (ottawa
charter) มาขับเคลื่อนระบบ คาดหวังว่าชุมชนทุกจุดของประเทศไทย
สามารถเข้าใจ มีmind set เรื่องสร้างเสริมสุขภาพ
ในโรงเรียนหรือคนรุ่นใหม่จะเข้าใจการสร้างเสริมสุขภาพด้วย
ไม่ใช่รู้แค่เจ็บป่วยไปรักษา หรือเจาะเลือดทุกปี
ซึ่งน่าจะทำเกินและดีกว่านี้ได้
“สสส.เป็นองค์กรที่มีภาคีเครือข่ายมาก เพราะฉะนั้นการทำงานต้องร่วมเป็นกลุ่ม เป็นพลังของชุมชนที่แท้จริง ใช้หลักออทตาว่าที่ไม่ทำคนเดียว ใช้ภาคี ผลักดันให้ทุกคนมีส่วนร่วม” รศ.นพ.สรนิต กล่าว
นพ.พงศ์เทพ
วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ (สำนัก 7) เพิ่มเติมว่า สำนัก 7 บทบาทสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ
หมายความว่า สำนักมีบทบาท ในการที่จะไปดึงศักยภาพของระบบบริการสุขภาพ
ซึ่งมีทั้งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่เป็นแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่
นักวิชาการสาธารณสุขต่างๆ มีข้อมูลและความรู้ สามารถที่จะทำให้ประชาชนรับรู้
รับทราบ และมุ่งเป้าสู่การสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาอย่างเดียว
“ทิศทางของประเทศ
ต้องเป็นไปในทางรักษาต่างๆ จนในที่สุด เหมือนถูกต้อนจนมุม คือ
ใช้เงินจำนวนเยอะมาก
ถ้าไม่รุกกลับโดยการที่พลิกให้เป็นเชิงรุก ประเทศก็จะไม่ไหว เพราะฉะนั้น
บุคลากรทางสุขภาพก็จะเป็นจุดสำคัญ ในการที่จะเชิญชวนให้ประชาชนมาสร้างสุขภาพ” นพ.พงศ์เทพ
กล่าว
สำหรับการขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขแนวใหม่ตาม “กฎบัตรออตตาว่า” นพ.พงศ์เทพ อธิบายว่า องค์การอนามัยโลก มาหรือกันว่าถ้าจะรุกกลับโรคต่างๆ จะใช้ 5 กลยุทธ์ ได้แก่
1.การสร้างนโยบายสาธารณะ ต้องการตั้งแต่ที่ชุมชน เช่น กติกาหมู่บ้าน ตำบล อำเภอและระดับประเทศ ที่จะมีนโยบายสาธารณะที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน
2.การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เช่น
คนจะสูบบุหรี่ที่สาธารณะแล้วพ่นควันใส่คนอื่นไม่ได้
3.กิจกรรมชุมชน ต้องรวมกลุ่มกันแก้ปัญหาต่างๆ จะแก้ด้วยเจ้าหน้าที่ไม่ได้
4.การปรับทักษะส่วนบุคคลให้เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ เช่น ทุกคนต้องรู้ว่ากินเค็มไม่ดีอย่างไร หรือกินแล้วอ้วนจะลดน้ำหนักต้องทำอย่างไร และ
5.ปรับทิศทางจากที่เคยรักษาพยาบาลเป็นหลัก
เปลี่ยนมาสู่การสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น
โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องเป็นคนนำเข้ามา ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของสำนัก 7
สิ่งที่ สำนัก 7
พยายามทำคือทำงานกับบุคคลเบื้องหน้า เบื้องหลังและผู้รับผลลัพธ์ คือประชาชน
จะมุ่งเน้นที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีข้อมูลและบุคลากรต่างๆ กลุ่มหมอครอบครัว
และให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูล ชักชวนให้ชุมชนเห็นว่าอะไรคือปัญหาด้านสุขภาพของชุมชน
และเมื่อเห็นแล้วต้องดึงภาคส่วนต่างๆ ทั้งในชุมชนมาร่วมมือ ดังนั้น
ต้องทำงานกับทุกส่วนที่เป็นกำลังสำคัญของชุมชน โดย
สสส.เข้าไปหนุนเสริมให้เจ้าหน้าที่ไปทำงาน
ยกตัวอย่าง
โครงการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ที่อำเภอมีแพทย์ รพ.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอก็ใช้ข้อมูลไปดูว่า คนเจ็บป่วยในอำเภอ
ตายจากโรคอะไรเท่าไหร่ เมื่อมีข้อมูลแล้วไปชวนชาวบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
อสม.มารับรู้ข้อมูล เชิญนายอำเภอมาเป็นประธาน รวมกลุ่มกัน และคิดหาทางแก้ปัญหา แบบ
“ไม่ต้องรอใครสั่งการ” จะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตามบริบทชุมชน
สำหรับอนาคตสิ่งที่ สำนัก
7 จะขับเคลื่อนในระยะสั้น
มีมุมมองที่น่าจะรุกกลุ่มก่อนป่วย
เพราะคนป่วยแล้วจึงจะเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ แต่อาจจะไม่ทันแล้ว แต่กลุ่มก่อนป่วย ก่อนเป็นเบาหวาน
ก่อนเป็นความดันสูง เมื่อพบว่าเริ่มสูงนิดๆ เริ่มมีสัญญาณ กลุ่มนี้ถ้าเกิดบุคลากรทางการแพทย์สามารถคัดกรองเจอและพามาเรียนรู้ปัญหา
เพื่อให้ทราบว่าถ้าไม่ทำอะไรอีก 2-3 ปีอาจเป็นเบาหวานต้องต่อคิวรพ. ก็อาจจะมาเข้าคอร์สเรียนรู้การกินอย่างไร
พลังงานเท่าไหร่ ลดอย่างไร ออกกำลังกายอย่างไร ให้คุมน้ำหนักได้
หรือกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง อาจจะยังไม่ป่วย เช่น ดื่มเหล้ามาก สูบบุหรี่มาก แต่ยังมีอาการป่วยหรือเริ่มมีนิดหน่อย ถ้ารู้ว่าอนาคตอาจเป็นมะเร็ง ถุงลมโป่งพอง เจ้าหน้าที่จะไปชวนอย่างไรให้ลดละเลิกได้ เป็นจุดเน้นในระยะต่อไป
ส่วนระยะยาว
อยากเห็นชุมชนเข้มแข็งด้านสุขภาพ เป็นเจ้าของข้อมูล จัดการสุขภาพตนเองได้
ถ้าชุมชนมาร่วมคิดร่วมทำร่วมเป็นเจ้าของได้
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะเป็นเพียงคนไปให้ข้อมูล เป็นพี่เลี้ยง ผู้ประสานงานเท่านั้น
นี่คือภาพฝันระยะไกลที่อยากเห็น.