เพราะเด็กสำคัญ จึงไม่แปลกหากเราจะ “เลี้ยงเด็กหนึ่งคนใช้คนทั้งหมู่บ้าน”
หมวดหมู่ : ภาพข่าวสังคม, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 31 ม.ค. 2567, 23:30 น. อ่าน : 434 กรุงเทพฯ - ความเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันของสังคมทั่วโลก
ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ หากแต่พลเมืองตัวน้อย อย่างเช่นลูกหลานเราเองก็ต้อง
“แบกรับ” และปรับตัวเองให้ทันความเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
หลายคนมองว่าเด็กยุคปัจจุบันเติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีสมบูรณ์แบบที่ช่วยหนุนเสริมการเติบโตและพัฒนาการได้สะดวกสบายมากที่สุดกว่า หากในความเป็นจริง หากเราเจาะลึกถึงปัญหาที่เด็กและเยาวชนไทยต้องเผชิญ เรายังคงมีเด็กบางกลุ่มที่มี “ความเปราะบาง” ไม่ว่าจะเผชิญปัญหาครอบครัว ทั้งความรุนแรง การหย่าร้าง การเป็นเด็กที่ไม่มีใครเหลียวแล การเป็นถูกบีบคั้น ขาดการเข้าถึงโอกาสและสิทธิที่สมควรในสังคม ซึ่งมีอีกไม่น้อยที่ตกหล่นอยู่ในสังคม ชุมชนของเรา และมักถูกมองข้าม
ทำให้ “วันเด็ก”
ของพวกเขาจึงอาจไม่ใช่วันจะได้รับการเติมเต็มความสุขที่สุดเฉกเช่นเดียวกับเด็กคนอื่นทั่วไป
หากขาดผู้ใหญ่ที่จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เด็กเป็นได้อย่างที่หวัง
หากขาดทุนทางสังคม และครอบครัวที่จะเป็นกำแพงให้เขาพิงเพื่อที่จะสู้ต่อไป
“ผู้ใหญ่” กลุ่มหนึ่ง อันประกอบด้วย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดกิจกรรมแสดงพลังเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567 ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายสำคัญคือเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวในระดับตำบล โครงการที่ชื่อ “เลี้ยงเด็กหนึ่งคนใช้คนทั้งหมู่บ้าน”
น.ส.ณัฐยา บุญภักดี
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส.
เล่าถึงที่มาการจัดกิจกรรมว่า ปีนี้เป็นครั้งแรกที่ สสส.
จัดกิจกรรมวันเด็กที่แตกต่าง มากกว่าการมอบของขวัญให้เด็ก
เป็นการพลิกมุมกลับชวนสังคมมองผ่านคำขวัญวันเด็ก ที่มุ่งหวังอยากให้เด็กเป็นคนมองโลกกว้าง
คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย หากแต่ในความเป็นจริง
“เด็กไม่สามารถเป็นได้เองโดยลำพัง หากไม่มีผู้ใหญ่อุ้มชูเลี้ยงดูและสนับสนุน”
“เลี้ยงเด็กหนึ่งคน-ใช้คนทั้งหมู่บ้าน” มีไอเดียจากสุภาษิตแอฟริกาที่ใช้กันมากว่า 100 ปี หลายประเทศนำมาจัดทำนโยบายดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนเติบโต
ไม่เว้นแม้แต่สหรัฐอเมริกา สสส.ใช้แนวคิดนี้ตั้งแต่ปี 2561-2562 ไปชักชวนชุมชนมาทำโครงการนี้ ปรากฏว่ามี 200
กว่าตำบลในวันนี้ที่เข้าร่วมโครงการ ภารกิจหลักโครงการนี้คือการเยี่ยมบ้าน
และช่วยเหลือกันตามศักยภาพชุมชน ซึ่งจากการวัดความสุขของเด็กและ ดีขึ้น
ระดับความสุข สัมพันธภาพในครอบครัว รวมถึงทักษะชีวิตของเด็ก
น.ส.ณัฐยา เล่าว่า โดยจากการลงพื้นที่สำรวจ พบว่าในชุมชนมีเด็กจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่กับเครือญาติโดยขาดแม่หรือพ่อเนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่ต้องไปหางานทำไกลบ้านหรือสาเหตุอื่นๆ มีการดูแลที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต หรือมีภาวะเสี่ยงเช่นสมาชิกครอบครัวเป็นผู้ใช้ยา หรือมีปัญหาจิตเวช หรือมีการใช้ความรุนแรงในบ้าน เมื่อทีมชุมชนสำรวจพบจะมีการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อให้เด็กมีความปลอดภัย ครอบครัวสามารถปรับตัวและเกิดทักษะที่ถูกต้องในการเลี้ยงเด็ก บางกรณีเป็นเรื่องของตัวบ้านที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่มีห้องน้ำที่สุขอนามัย เมื่อทีมชุมชนทราบเรื่องก็จะแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาช่วยเหลือ เป็นต้น เป็นตัวอย่างของการช่วยกันของชุมชนดูแลเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
ด้านภาคนโยบายที่มาร่วมขับเคลื่อนสิทธิและมาตรการต่างๆ
เพื่อเด็ก น.ส.อรพินท์ ศักดิ์เอี่ยม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเด็ก
กรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า แม้ครอบครัวเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด
เอื้อต่อการพัฒนาและทำให้เด็กปลอดภัย
แต่ชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการโอบอุ้มและสนับสนุน
พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติฯ และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ
ให้ความสำคัญกับบทบาทของครอบครัวและชุมชน ท้องถิ่นในการส่งเสริม พัฒนา
และปกป้องคุ้มครองเด็ก โดยเฉพาะครอบครัวยากจน เปราะบาง
ภารกิจของกรมกิจการเด็กและเยาวชนที่ผ่านมา มีการดำเนินงานใน 4 ประเด็นหลัก 1.การออกแบบบริการและสิทธิต่างๆ
โดยดูพัฒนาการตามช่วงวัยของเด็ก 2.การใช้ข้อมูลและบูรณาการฐานข้อมูลเพื่อหากลุ่มเป้าหมายที่เราดูแล 3.การให้ความสำคัญครอบครัวเปราะบางลำดับแรก
4.ให้ครอบครัวดูแลเด็กได้เราจะจัดบริการต่างๆ
ที่จะช่วยให้ครอบครัวดูแลเด็กได้ หนุนเสริม การเข้าถึงสิทธิต่างๆ
สำหรับโครงการหลักๆ
ของกรมกิจการเด็กและเยาวชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เด็กเติบโตได้อย่างมีความสุข
เน้นมุ่งไปครอบครัวเปราะบาง กลุ่มที่ยังตกหล่นให้เข้าถึงได้มากที่สุด
ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจะมีโครงการทุนอุดหนุนบุตร สำหรับเด็กแรกเกิด 600 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ยังมีการมุ่งค้นหากลุ่มที่มีสิทธิอยู่แล้วแต่เข้าไม่ถึงสิทธิ
ด้านสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ
นอกจากมีการประเมินมาตรฐานโรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก
ยังยกระดับศูนย์เด็กเล็กต้นแบบโดยร่วมกับท้องถิ่น
เพื่อให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นศูนย์พัฒนาทักษะเด็กปฐมวัย
“ครอบครัวเปราะบางที่ต้องมีอยู่คือบริการด้านการเงิน
อาทิ เงินสงเคราะห์ ในครอบครัวอุปถัมภ์ ถัดมาสภาพปัจจุบันน้องๆ
อาจไม่มีครอบครัวเป็นของตัวเอง เรากำลังผลักดันครอบครัวทดแทน
เป็นเทรนด์ที่มีความสำคัญทำงานกับศูนย์ชุมชนคุ้มครองเด็ก
รับเด็กเป็นสมาชิกในครอบครัว เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเข้าสู่สถานสงเคราะห์
รวมถึงครอบครัวอุปถัมภ์ที่ไม่ใช่เครือญาติกำลังเปิดรับสมัคร ครอบครัวดูแลชั่วคราว
รวมถึงครอบครัวบุญธรรมในประเทศและต่างประเทศ”
“สิ่งที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีที่แล้ว เด็กถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งในด้านปัจจัยกายภาพคือการมีบ้านที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก แม้ไม่มีงบประมาณ แต่ก็ระดมทรัพยากรในประเทศ ทำได้ 136 ช่วยเด็กได้ประโยชน์กว่า 200 คนซึ่งยังตั้งเป้าเพิ่มอีก 1,700 เป้าปีนี้
นอกจากนี้
ที่ผ่านมา กรมกิจการเด็กฯ เข้าไปสำรวจติดตามการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ทั้งมอบเงินอุดหนุนและให้เด็กเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา กว่า 300,000 คน ส่งเสริมสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ 51,360 แห่ง
พัฒนาหลักสูตรและอบรมครู/ผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้และทักษะการดูแลเด็กปฐมวัย
รวมถึงการเลี้ยงดูโดยไม่ใช้ความรุนแรงและขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมระดับตำบล/เทศบาล
โดยใช้ TP-MAP ค้นหาครอบครัวเปราะบาง นอกจากนี้ กรมฯ
ได้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว 5 มิติ
ครอบคลุมที่อยู่อาศัย รายได้ สุขภาพ การศึกษา การเข้าถึงบริการ พร้อมตั้งเป้าหมาย
ในปี 2568 ทุก อปท. จะมีศูนย์คุ้มครองเด็กเกิดขึ้น
“การทำงานเรื่องเด็กเรื่องเดียวไม่ได้ต้อง ทำกับครอบครัว ปัจจุบันเราทำ TP-MAP ในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการทำงานรายครัวเรือน ดูแลคุณภาพชีวิตเด็กร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายขยายให้ครบ 7000 แห่ง ในปี 2568 เพราะนอกเหนือจากเด็ก ครอบครัวยังมีผู้สูงอายุ สตรี และคนพิการ”
การเลี้ยงเด็กหนึ่งคนไม่ได้เป็นภาระบ้านใดบ้านหนึ่ง
แต่หากอยากให้อนาคตของประเทศเรามีคุณภาพ
เป็นเรื่องที่คนทั้งหมู่บ้านและทั้งประเทศต้องช่วยกัน และเห็นความสำคัญ.