ตามดูความสำเร็จ “อภิรัตน์ฟาร์ม” ซีพีเอฟผลักดันเกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม สร้างอาชีพมั่นคง
หมวดหมู่ : ทั่วไป, ภาคกลาง,
โฟสเมื่อ : 1 ก.ค. 2565, 19:58 น. อ่าน : 1,251 ลพบุรี (ภาคกลาง) –
“ปัจจุบันการทำฟาร์มปศุสัตว์ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าถึงแม้ในตอนแรกเราจะคัดเลือกสถานที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ห่างไกลจากชุมชนแล้วก็ตาม
แต่ที่สุดแล้วในอนาคตชุมชนก็จะขยายตัวเข้ามาใกล้กับฟาร์มอย่างแน่นอน
ดังนั้นการหาวิธีการจัดการวางแผนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ซีพีเอฟจึงส่งเสริมให้เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มทำ “ฟาร์มระบบปิด” ตามมาตรฐานของบริษัท
มีระบบปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ หรือ EVAP ที่ทำให้สัตว์อยู่สบาย
และยังสามารถลดกลิ่นจากการเลี้ยงสัตว์ ลดก๊าซแอมโมเนีย รวมถึงก๊าซมีเทน
สาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน ควบคู่กับการใช้ระบบไบโอแก๊สเพื่อจัดการของเสีย
ที่ช่วยลดสัตว์พาหะเช่นแมลงวัน ลดกลิ่น เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม
และยังได้ก๊าซชีวภาพนำมาปั่นเป็นไฟฟ้าใช้ในฟาร์มช่วยลดรายจ่ายค่าพลังงานไฟฟ้า
ช่วยสร้างมูลค่าและเพิ่มคุณค่าให้กับของเสียได้ 100%” อภิรัตน์ แก้ววิเศษ วัย 39
ปี ผู้ที่ผันตัวเองจากสัตวบาล สู่อาชีพเกษตรกรเลี้ยงหมู เจ้าของ “อภิรัตน์ฟาร์ม”
อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เล่าถึงแนวโน้มการทำฟาร์มยุคใหม่ไว้อย่างน่าสนใจ
ก่อนจะย้อนที่มาของการเป็นเกษตรกร
ในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อย ที่ บริษัท
เจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ
สนับสนุนเกษตรกรให้ประสบความสำเร็จในอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยย้อนไปเมื่อปี 2548
หลังจากตัดสินใจออกมาทำไร่กับภรรยา ในช่วง 4 ปีแรก
เมื่อประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พืชผลที่ลงไว้ให้ผลผลิตไม่ดีนัก
จึงปรึกษากันว่าน่าจะลองหาอาชีพอื่นเสริมเพื่อลดความเสี่ยง
ซึ่งที่บ้านภรรยาทำฟาร์มแม่พันธุ์หมูกับซีพีเอฟอยู่ก่อนแล้ว
และเห็นว่าอาชีพนี้มีความมั่นคง สร้างรายได้ที่แน่นอน และตนเองก็มีพื้นฐานด้านสัตวบาล
จึงตัดสินใจปรับปรุงพื้นที่ด้านหลังฟาร์มของครอบครัว จำนวน 8 ไร่
มาสร้างโรงเรือนเลี้ยงหมูขุน 2 หลัง เป็นระบบโรงเรือนปิด ความจุหมูโรงเรือนละ 700
ตัว
“การตัดสินใจครั้งนั้น
บวกกับความใส่ใจที่ทั้งผมและภรรยาทุ่มเทลงไป ปรากฎผลชัดเจนจากอัตราเจริญเติบโตของหมูแต่ละรุ่นอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
อัตราเสียหายค่อนข้างต่ำ รายได้ที่ดีจึงตามมา จากนั้นผมตัดสินใจขยายการเลี้ยงอีก 5
โรงเรือน รวมเป็น 7 โรงเรือน ความจุหมูรวม 6,500 ตัว
พร้อมทั้งเห็นโอกาสในการขยายการเลี้ยงหมูแม่พันธุ์อีก จึงตัดสินใจลงทุนทำฟาร์มแม่พันธุ์
250 แม่ เพราะเห็นแล้วว่าอาชีพนี้สำเร็จได้แน่นอน ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา
รายได้และผลตอบแทนมั่นคงจริงๆ ทำให้เรากล้าตัดสินใจ
และพัฒนาการเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง ใช้ระบบกล้องวงจรปิด ไซโลอาหารอัตโนมัติ
และเตรียมนำระบบ Smart Farm เต็มรูปแบบมาใช้
เช่น การใช้ inverter และโซล่าเซลล์ โดยอีก 2 ปีข้างหน้า
มีแผนจะขยายการเลี้ยงหมูขุน อีก 4 หลัง” อภิรัตน์ บอกอย่างมั่นใจ
เมื่อถามถึงการจัดการของเสียและสภาพแวดล้อมของอภิรัตน์ฟาร์ม
เพราะตลอดเวลาที่พูดคุยกันแม้จะเลี้ยงหมูจำนวนมากแต่กลับไม่ได้ “กลิ่นขี้หมู”
อภิรัตน์ บอกว่า เป็นเพราะที่นี่ใส่ใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ นอกจากการทำโรงเรือน EVAP
ควบคู่กับการใช้นวัตกรรมส้วมน้ำที่ช่วยทั้งลดกลิ่น
ทำให้คอกและตัวหมูสะอาด ช่วยลดการใช้น้ำในระบบการเลี้ยง
และยังเชื่อมโยงกับการบำบัดของเสียด้วยระบบไบโอแก๊สแล้ว ที่ฟาร์มยังใช้นวัตกรรม “ระบบฟอกอากาศ” ช่วยกรองกลิ่นที่บริเวณท้ายโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และยังปลูกต้นไม้เป็นแนวกันกลิ่นอีกชั้น
“สำหรับน้ำหลังการบำบัดด้วยไบโอแก๊ส เราทำบ่อล้นหลายๆบ่อเพื่อกรองน้ำให้ใส โดยบ่อที่ 4 บ่อสุดท้าย จะเชื่อมต่อเข้าระบบคลองไส้ไก่ในสวนกล้วย 4 ไร่ เป็นการเพิ่มพื้นที่ให้น้ำตกตะกอนให้ได้มากที่สุด นอกจากจะได้น้ำใสสะอาดไร้กลิ่นและเป็นน้ำปุ๋ยที่มีแร่ธาตุที่เหมาะสมกับต้นไม้แล้ว ผลผลิตกล้วยที่ได้ยังดก ผลใหญ่ เพื่อใช้ผสมกับอาหารให้ลูกหมูแรกรับกิน จึงไม่ต้องซื้อกล้วยอีกเลย ที่สำคัญเรายังเดินหน้าตามนโยบาย “กรีนฟาร์ม” ของซีพีเอฟ ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มให้เป็นสวนป่า ช่วยให้ร่มรื่น ลดอุณหภูมิรอบๆโรงเรือน และยังช่วยดูดซับกลิ่น ลดผลกระทบต่อชุมชนและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมได้เป็นอย่างดี” อภิรัตน์ บอกเคล็ดลับ
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างของเกษตรกรที่เปิดรับเทคโนโลยี นวัตกรรม และพร้อมที่จะพัฒนาการผลิตหมูที่เป็นต้นทางอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง.