ซีพีเอฟ รับซื้อผลผลิตช่วยหนุนเกษตรกรรายย่อย ลดความเสี่ยงตลาดผันผวน
หมวดหมู่ : เศรษฐกิจ, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 1 ก.พ. 2567, 00:13 น. อ่าน : 435 กรุงเทพฯ -
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ
เดินหน้าหนุนเกษตรกรรายย่อย มากกว่า 5,500 รายทั่วประเทศ
รับหน้าที่เป็นตลาดรับผลผลิตแทน ลดความเสี่ยงตลาดผันผวน เกษตรกรมีรายได้แน่นอน
มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้-เทคโนโลยีสู่เกษตรกรรายย่อย-รายกลาง สร้างความมั่นคงในอาชีพ
ร่วมสร้างอาหารมั่นคง ส่งมอบอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภค
นายสมพร เจิมพงศ์
ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ
มุ่งยกระดับการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย ทั่วประเทศมากกว่า 5,500 ราย
ในรูปแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเลี้ยงสัตว์ที่ดี
ภายใต้การบริหารจัดการด้านการเลี้ยงสัตว์ที่มีมาตรฐาน
ด้วยการนำขีดความสามารถของบริษัทฯ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี
และนวัตกรรมการเลี้ยงแก่เกษตรกร ที่สำคัญเกษตรกรต้องมีตลาดรองรับผลผลิต
บริษัทฯจึงทำหน้าที่เป็นตลาดรับซื้อผลผลิตคืนจากเกษตรกร
เพื่อให้มีอาชีพที่ไร้ความเสี่ยงด้านราคาและการตลาด และมีหลักประกันรายได้ที่มั่นคง
โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาที่ราคาสุกรผันผวนมาก
จากการเข้ามาของขบวนการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรเถื่อน
หากแต่เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสุกรกับซีพีเอฟ
ไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีการทำสัญญาตกลงราคากันไว้ล่วงหน้า และบริษัทฯ
รับซื้อผลผลิตของเกษตรกรไว้ทั้งหมด
“นอกจากการส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยได้รับทั้งความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทำให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือเกษตรกรไม่ได้รับความเสี่ยงตลาดผันผวน โดยสินค้าที่ซีพีเอฟผลิตส่งจำหน่ายในตลาดและห้างโมเดิร์นเทรดต่างๆ ก็มาจากเกษตรกรรายย่อยที่บริษัทฯรับความเสี่ยงโดยตรง และยังมีเกษตรกรรายกลางอีกร่วม 500 ราย ที่ซีพีเอฟ เข้าไปช่วยสนับสนุนองค์ความรู้ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในอาหาร เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปด้วยกัน” นายสมพร กล่าว
ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ปี
2518 ที่ซีพีเอฟ นำระบบ คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบพันธสัญญาแก่เกษตรกรรายย่อย ภายใต้หลักคิด
“เกษตรกรคือคู่ชีวิต”
ร่วมสนับสนุนความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยของไทย มีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน
พึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับชุมชนและประเทศ
ควบคู่กับการผลิตเนื้อสัตว์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ร่วมกันผลิตและส่งมอบสินค้าอาหารคุณภาพมาตรฐานสูง
สร้างความมั่นคงด้านอาหารให้คนไทย.