21 มีนาคม “วันป่าไม้โลก” CPF ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำ-ป่าชายเลน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ
หมวดหมู่ : ทั่วไป, กรุงเทพฯ,
โฟสเมื่อ : 22 มี.ค. 2565, 12:42 น. อ่าน : 1,002 กรุงเทพฯ - วันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ตรงกับวันป่าไม้โลก บริษัท
เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ สานต่อโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู
และปลูกป่าต้นน้ำและป่าชายเลนเข้าสู่ระยะที่สอง ร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ
เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางอาหาร บนพื้นฐานของการร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์
ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
นายวุฒิชัย
สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง
มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารควบคู่กับการมีส่วนร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์ โดยได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า
ทั้งป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ
ซึ่งปัจจุบัน ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศไทยไปแล้วรวมมากกว่า 10,000 ไร่ พร้อมกันนี้
มีการติดตามและประเมินผลทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการที่ดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชนโดยรอบ
พบว่าโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลนที่บริษัทฯดำเนินการ ส่งผลเชิงบวกทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อม
ซีพีเอฟ ติดตามและประเมินผลทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลน
รวมทั้งโครงการที่ต่อยอดจากการปลูกป่า
ทั้งการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีชุมชน
และการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ประกอบด้วย โครงการ ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน
อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน พื้นที่
จ.ระยอง และ พื้นที่ จ.สมุทรสาคร และ โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก
เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสัก
ต่อยอดสู่โครงการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาน้ำจืดและโครงการปลูกผักวิถีธรรมชาติ โดยทั้งโครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน และ โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก
เขาพระยาเดินธง เป็นโครงการระยะยาวที่มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน
ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ด้านเศรษฐกิจ
ทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นซึ่งมาจากการท่องเที่ยว รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน
ค่าแรงจากการจ้างงานในชุมชน เพาะกล้า ปลูกป่า
รวมทั้งมีแหล่งอาหารที่มั่นคงของชุมชนเพิ่มขึ้น ด้านสังคม ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมและถ่ายทอดองค์ความรู้
คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตด้านสังคมดีขึ้น ด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยรักษาและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์
เป็นกำแพงธรรมชาติช่วยป้องกันการกัดเซาะแนวชายฝั่ง
เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตามธรรมชาติ ด้านป่าต้นน้ำ ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งในปี
2564 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) หรือ อบก. ให้การรับรองพื้นที่ปลูกป่าโซนส่งเสริมการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ
1,500 ไร่ ของโครงการ ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง
ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 18,800 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
นายวุฒิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ ยังได้กำหนดนโยบายความมุ่งมั่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า 100% เป็นหนึ่งในนโยบายด้านความยั่งยืนของซีพีเอฟ เพื่อร่วมปกป้องและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นไปตามเป้าหมายกลยุทธ์ CPF 2030 Sustainability in Action ที่ยึด 3 เสาหลัก อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และ ดิน น้ำ ป่าคงอยู่ โดยเสาหลักด้าน ดิน น้ำ ป่าคงอยู่ มีเป้าหมายสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกตลอดห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนี้ การรักษาและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ยังสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาติ (SDGs) ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ซีพีเอฟสานต่อโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลนเข้าสู่ระยะที่สอง โดยมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟู พื้นที่ยุทธศาสตร์รวม 20,000 ไร่ ผ่านการดำเนินโครงการ ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง เพิ่มเติมพื้นที่อนุรักษ์ ฟื้นฟู และ ปลูกป่าเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการไปแล้ว 5,971 ไร่ เป็น 6,971 ไร่ และ โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน มีพื้นที่อนุรักษ์ จ.ระยอง 614 ไร่ และมีเป้าหมายฟื้นฟูและปลูกป่าใหม่ (ระยะที่ 2 ระหว่าง ปี 2562-2566 ) 54 ไร่ พื้นที่จ.สมุทรสาคร มีพื้นที่อนุรักษ์ 604 ไร่ มีเป้าหมายฟื้นฟูและปลูกป่า (ระยะที่ 2) 266 ไร่ โดยในปีนี้ ได้ขยายพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ต.ท่าพริก จ.ตราด และเตรียมขยายพื้นที่ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าที่จ.กำแพงเพชร อีกด้วย.