โรงแรม ภ.ก. สูญหมื่นล้าน พิษ"โควิด-19" แค่เดือนเดียวเจ๊งเร็วเกินคาด
หมวดหมู่ :
โฟสเมื่อ : 16 มี.ค. 2563, 22:42 น. อ่าน : 2,902 รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
และ ดร.ชยานนท์ ภู่เจริญ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา
คณะการบริการและการท่องเที่ยวร่วม แถลงข่าว ที่ห้องประชุม 2
อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เมื่อบ่ายวันที่
12 มี.ค. ภายใต้หัวข้อ
"ผลกระทบทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19”
ว่า จากข้อมูลศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว (TAT Intelligence Center) พบว่า
จำนวนผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ตในเดือน
ก.พ.63 หดตัวกว่าร้อยละ 37.91 (29 วัน)
จากเดิมที่มีผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตเฉลี่ยต่อวันในเดือนเดียวกันอยู่ที่
19,085 เหลือเพียง 11,850 ต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้โดยสารกลุ่มนี้คือ
นักท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตและนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เดินทางเข้า จ.ภูเก็ต
ผ่านเที่ยวบินระหว่างประเทศเป็นเพียงร้อยละ 50.12
ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดทั้งหมด ดังนั้นผู้วิจัยจึงประมาณการไว้ว่า ในวันที่
1-29 ก.พ.ที่ผ่านมา ประมาณการนักท่องเที่ยวหายไปทั้งสิ้น 27% -37%
เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้
การหายไปของนักท่องเที่ยวจำนวนดังกล่าว
มากกว่าที่ทางหลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ ไม่เพียงเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่หายไป
การระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศช่วงปลายเดือน ก.พ.63
ก่อให้เกิดความกังวลในการเดินทาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวทุกสัญชาติ
การใช้จ่ายต่อหัวต่อวันในไตรมาสแรกของ จ.ภูเก็ต คือ 10,292 บาท (2018)
ซึ่งสูงกว่าตัวเลขการใช้จ่ายเฉลี่ยทั้งปีของนักท่องเที่ยว
โดยชาวจีนที่เคยใช้จ่ายประเมินความเสียหายในเดือน ก.พ. 1.2-1.5 หมื่นล้านบาท
ธุรกิจโรงแรมยังคงเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงสุด
ค่าจ้างและสภาพคล่องของธุรกิจโรงแรมถูกประเมินไว้ว่า มีความเสียหายระหว่าง 1.7-23
พันล้านบาทในเดือนดังกล่าว
และสำหรับธุรกิจการขนส่งภายในจังหวัดได้รับผลกระทบรวมจากการหายไปของนักท่องเที่ยวระหว่าง
1.47-2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นสภาพคล่องของผู้ประกอบการร้อยละ 31
ผลกระทบดังกล่าวไม่ได้หยุดอยู่ในแค่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
ยังส่งผลผ่านไปยังอุตสาหกรรมต้นน้ำด้วย เช่น การไฟฟ้า ประปา
เกษตรกรรมหรือแม้แต่อุตสาหกรรมผลิตยาง
ความเสียหายต่อเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมเป็นข้อบ่งชี้ธุรกิจการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศ
เนื่องจากเป็นธุรกิจปลายน้ำของหลายอุสาห กรรม
เฉพาะการลดลงของรายได้จาการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตจังหวัดเดียว
ส่งผลกระพบต่อธุรกิจต้นน้ำเป็นมูลค่าระหว่าง 5.2-71 พันล้านบาท
และมูลค่าผลกระทบดังกล่าวกระจายตัวไปทั้งประเทศ
มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19
“ภาครัฐบาลต้องเร่งผลักดันมาตรการเยียวยาให้ลงสู่ผู้ประกอบการและแรงงานโดยเร็ว
เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจของภูเก็ตไม่เหมือนจังหวัดอื่น
ขับเคลื่อนโดยโรงแรมและร้านอาหาร
ภูเก็ตไม่มีเครื่องยนต์ตัวอื่นที่มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูเก็ต
จึงอยากให้ภาครัฐบาลนำมาตรการเยียวยามาสู่ผู้ประกอบการ แรงงานกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วที่สุด
ไม่ว่าจะ เป็นธนาคารในกำกับของรัฐ
หรือพาณิชย์ต้องเร่งดำเนินการนำมาตรการเยียวยาลงมาสู่ผู้ประกอบการอย่างแท้จริง”
รศ.ดร.พันธ์กล่าวย้ำ
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่
9 มี.ค.2563 องค์กรเอกชนด้านการท่องเที่ยวใน จ.ภูเก็ต 5 สมาคม ประกอบด้วย
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต โดยนายสรายุทธ มัลลัม, ประธานสภาอุตสาหกรรม
สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต โดยนายรังสิมันต์ กิ่งแก้ว อุปนายกฯ,
สมาคมโรงแรมป่าตอง โดยนางสุพัตรา จารุอริยานนท์ นายกฯ, สมาคมโรงแรมหาดกะตะ-กะรน
โดยนางอังคณา ธเนศวิเศษกุล นายกฯ, และสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ โดยนายธนวัต อ่องเจริญ
เลขาธิการ ได้เข้ายื่นหนังสือถึง รมว.สาธารณสุข
เพื่อขอทราบแนวการปฏิบัติต่อผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวจากประเทศกลุ่มเสี่ยงผ่านนายภัคพงศ์
ทวิพัฒน์ ผวจ.ภูเก็ต พร้อมร่วมหารือกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งนายภัคพงศ์ ได้รัที่นำส่งหนังสือถึง รมว.สาธารณสุข
แต่เบื้องต้นขอให้ทุกคนปฏิบัติตามประกาศมาตรการการควบคุมโรคระบาด